อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
โดยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 สื่อไทยและนานาชาติต่างรายงานว่า กองทัพพม่า(เมียนมา)ก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของนางออง ซาน ซูจี ที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว โดยตามรายงานของสถานีโทรทัศน์แห่งชาติเมียนมาได้ถ่ายทอดสดกองทัพพม่า(เมียนมา)ออกแถลงการณ์แจ้งเหตุผลที่มีการบุกควบคุมตัวออง ซาน ซูจี พร้อมกับประธานาธิบดีอู วิน มินต์ และแกนนำคนอื่นๆ ของพรรครัฐบาล สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) เมื่อช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 1 ก.พ. ว่า เนื่องจากเป็นการตอบโต้การโกงการเลือกตั้งเมื่อ พ.ย.ที่ผ่านมา
ทำให้ทั่วโลกจับตารัฐประหารพม่า (เมียนมา)ไม่ว่า สหประชาชาติ สหภาพยุโรปอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ตุรกี ญี่ปุ่น จีนและอินเดีย(อ่านเพิ่มเติมใน https://mgronline.com/indochina/detail/9640000010106)
สหประชาชาติออกแถลงการณ์ประณามการควบคุมตัว อองซาน ซูจี ประธานาธิบดี อู วินมิน และผู้นำเมียนมาคนอื่น
โดยนายสเตฟาน ดูจาร์ริค (Stéphane Dujarric) โฆษกประจำตัวเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเมียนมา ความว่า “เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์ประณามการควบคุมตัวนางอองซาน ซูจี นายอู วินมิน ประธานาธิบดี และผู้นำคนอื่นๆ ของเมียนมา ก่อนจะมีการเปิดประชุมสภาใหม่ โดยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้แสดงความห่วงใยในการประกาศถ่ายโอนอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการไปยังทหาร ซึ่งเป็นการทำลายประชาธิปไตยในประเทศเมียนมา”
สหรัฐอเมริกา ออกแถลงการณ์ประณามและเรียกร้องให้กองทัพพม่า (เมียนมา ) ปล่อยตัวเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล ซึ่งรวมไปถึงนางออง ซาน ซูจี ที่ถูกควบคุมตัวไปก่อนหน้านี้ พร้อมทั้งเตือนด้วยว่าจะดำเนินการตอบโต้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง”อันจะเป็นความท้าทายแรกต่อนโยบายต่างประเทศไบเดน “เรื่องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ตามที่เคยหางเสียงและลักษณะเด่นของพรรคเดโมแครตของเขา”
กระทรวงต่างประเทศตุรกี ประเทศที่ประชาชนประสบความสำเร็จในการต่อรัฐประหารได้แสดงความกังวลอย่างสุดซึ้งและประณามอย่างรุนแรงต่อการรัฐประหาร ตุรกีต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหารและการแทรกแซงทางทหารทุกรูปแบบพร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มาจากการเลือกตั้ง บุคคลากรทางการเมืองและพลเรือนทั้งหมดที่ถูกรายงานว่าถูกควบคุมตัวในทันที พร้อมสนับกระบวนการประชาธิปไตยผ่านรัฐสภาโดยให้มีการประชุมรัฐสภาชุดใหม่โดยเร็วที่สุด อันเนื่องมาจากรัฐสภาทีก่อตั้งขึ้นโดยเจตจำนงเสรีของประชาชน “ ข้อเรียกร้องของตุรกีอันเป็นพี่ใหญ่โลกมุสลิมทราบดีว่า ชาวโรฮิงยาจะยิ่งเดือดร้อนภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหาร ดังนั้นในคำแถลงการณ์กระทรวงต่างประเทศตุรกีนี้จึง กล่ าวว่า
“เราหวังว่าการพัฒนาการอันสุ่มเสี่ยงนี้จะไม่ทำให้สภาวะความเดือดร้อนของชาวมุสลิมโรฮิงยาที่อาศัยอยู่ในเมียนมาร์แย่ลงไปอีก”
สำหรับกลุ่ม We Volunteer โพสต์เฟซบุ๊กว่า “
เรา (wevo) ในฐานะพลเมืองชาติสมาชิกอาเซียน จะขอประณาม และประกาศไม่รับรองการรัฐประหาร และรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร
รวมทั้งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เวลา 15:30 น.
กลุ่มชาวเมียนมาไม่ต่ำกว่า 50 คน และกลุ่ม We Volunteer ได้เดินทางมาที่หน้าหน้าสถานเอกอัครราชทูตเมียนมา เขตยานนาวา เพื่อรวมตัวชุมนุมประท้วงต่อการทำรัฐประหารครั้งนี้โดยชาวเมียนมาส่วนใหญ่ได้สวมชุดสีแดง บางส่วนชูมือ 3 นิ้ว และสวมหมวกและหน้ากากอนามัยที่มีสัญลักษณ์พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) พร้อมถือรูปนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมา มาประท้วง
ส่วนพี่ไทยที่เคยอยู่ในรัฐบาลรัฐประหาร อย่าง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์นี้ว่า “ความวุ่นวายทางการเมืองในพม่า (เมียนมา )จะส่งผลกระทบถึงไทยหรือไม่ว่า เป็นเรื่องภายในของเขา ส่วนจะกระทบไทยหรือไม่ก็เป็นเรื่องของโควิด-19 อย่างเดียว”และสื่อไทยก็ทราบดีว่า ..”พลเอก มิ่น อ่อง หล่าย” ผู้นำรัฐประหารพม่าวันครั้งนี้ คือลูกป๋าเปรม สนิทกับ บิ๊กตุ่ และผู้นำทหารไทย มาหลายยุค รวมทั้งเขาและนายพลคนอื่นๆชอบพาครอบครัว มาเที่ยวเมืองไทย แบบเงียบๆ
สำหรับในอดีตพบว่าหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนสากลชี้ว่า รัฐบาลทหารพม่า (เทียนมา)ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงยา และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ อย่างรุนแรง
หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง เช่น Fortify Rights ชี้ว่าพม่า(เมียนมา)ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงยา และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ อย่างรุนแรง จนเกิดการย้ายถิ่นฐานของคนนับแสนคนเพื่อหนีความรุนแรง
รายงานระบุว่า นายทหารระดับสูงสามคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อชาวกะเหรี่ยง และหนึ่งในนั้นคือ พลตรี Ko Ko ที่กำลังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกิจการภายในของคณะรัฐบาลพม่า(เมียนมา)
ทางการพม่า(เมียนมา )ตอบโต้กับรายงานฉบับดังกล่าวโดยตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นกลางและความถูกต้องของข้อมูลที่นำเสนอ แม้ว่าจะถูกตอบโต้กลับมาเช่นนี้ ตัวแทนคณะทำงานของฮาร์วาร์ดกล่าวว่า ยังมีสัญญาณที่ดีที่ทางการพม่ายอมรับฟังข้อมูล (โปรดดูเพิ่มใน http://www.voathai.com/content/asean-myanmar-ro-6nov14/2511520.html)
ภาพอดีตฝังใจคนในพม่า(เทียนมา)และทั่วโลกพบว่ารัฐบาลพม่า(เมียนมา)เคยละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย เช่น
การยึดที่ดิน
มีรายงานว่ารัฐบาลพม่า(เมียนมา)ได้ให้ทหารประจำการในเมืองมูเจ ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของรัฐฉานเข้าทำการยึดที่ทำกินชาวบ้าน เพื่อนำที่ดินผืนดังกล่าวไปใช้ปลูกถั่วเพื่อการวิจัย การยึดที่ดินของชาวบ้านในครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะทหารพม่าได้ยึดที่ดินของชาวบ้านมาตั้งแต่ต้นปี 2550 โดยไม่มีการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ชาวบ้านแต่อย่างใด หรือบางครั้งถ้ามีการจ่ายเงินก็จ่ายให้ในจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ของที่ดินที่ถูกยึดไป ชาวบ้านที่ถูกยึดที่ดินต้องเปลี่ยนอาชีพไปทำงานรับจ้างเป็นจำนวนมาก
ต่อมาทหารพม่า(เมียนมา)ได้ยึดที่ดินของชาวบ้านทางภาคตะวันตกของรัฐคะฉิ่น เพื่อไปให้บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในพม่า (เมียนมา) ทำการเพาะปลูกวิจัยพืช ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทยูซานาได้รวบรวมที่ดินบริเวณหุบเขาหู่กองจำนวนกว่า 2,500 ไร่เพื่อดำเนินโครงการการพัฒนาพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพพม่าในการช่วยดำเนินการยึดที่ดินของชาวบ้านมาให้ทางบริษัทดำเนินโครงการ ชาวบ้านที่ถูกยึดที่ดินไม่ได้รับค่าชดเชยแม้แต่น้อยและได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะไม่มีที่ดินทำเกษตรกรรม
การบังคับใช้แรงงาน
มีรายงานว่าชาวบ้านไทยใหญ่จากภาคกลางของรัฐฉานต่างพากันอพยพมายังชายแดนไทยด้านอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ไม่ขาดสาย เนื่องจากถูกทหารพม่าบังคับใช้แรงงานจนไม่มีเวลาทำงานให้กับครอบครัวตนเอง
กองทหารพม่าได้บังคับชาวบ้านในเมืองมอญ 154 คน ให้ทำงานสร้างถนนใหม่ระหว่าง โท ดอ และ ยิน โอ เซียน ถนนใหม่นี้ได้ตัดเข้าไปในไร่ของชาวบ้าน และทำลายไร่ไปมากกว่า 500 เอเคอร์ ถนนสายนี้จะเชื่อมกับศูนย์บัญชาการของ LIB599 ที่ โท ดอ และ LIB 590 ที่ยิน เซียน
ชาวบ้านทั้ง 154 คนที่ถูกบังคับใช้แรงงานนั้น มาจากหมู่บ้านเมยือง โอ 15 คน มาจากหมู่บ้านออง ชาน 59 คน มาจากหมู่บ้าน พอ พิ เดอ 90 คน พวกเขายังถูกบังคับให้ตัดไม้และไม้ไผ่และขนไม้เหล่านี้ไปยังที่ค่ายทหารพม่า ถูกบังคับให้สร้างคอกสัตว์ และทำความสะอาดสวนของกองทหารพม่า นอกจากนั้นกองทหารพม่ายังได้บีบเอาเงินจากชาวบ้าน โดยการบังคับราคา โก่งราคาสินค้าและยังบังคับให้ชาวบ้านซื้อสินค้าจากพวกเขา
ต่อมาชาวบ้านจาก 6 หมู่บ้านประมาณ 500 คน ได้ถูกทหารพม่าเกณฑ์บังคับใช้แรงงานเพื่อสร้างฐานที่มั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดทงกู่ รัฐกะเหรี่ยง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ชาวบ้านในพื้นที่กล่าวว่าถึงแม้ฐานที่มั่นใหม่นี้จะสร้างเสร็จแล้วก็ตาม แต่ทางทหารพม่าก็ยังคงบังคับใช้แรงงานอย่างต่อเนื่อง
การข่มขืน
มีรายงานว่าพบเด็กนักเรียนหญิงชาวคะฉิ่น 4 คนถูกข่มขืนจากทหารพม่า (เมียนมา) ในรัฐคะฉิ่นทางตอนบนของประเทศ โดยเหยื่อทั้ง 4 คนเป็นเด็กนักเรียนในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในหมู่บ้านตุ๊กตาง (Dukdang) ซึ่งเด็กสาวทั้งหมดมีอายุตั้งแต่ 14-16 ปี โดยถูกข่มขืนจากทหารพม่าราว 7 คน ซึ่งตั้งฐานที่มั่นอยู่ในหมู่บ้านมุงลาง ชิดี (Munglang Shidi) ห่างจากเมืองปูเตาไปราว 2 กิโลเมตร
หลังจากข่มขืนเสร็จทหารพม่า (เมียนมา) นำตัวเด็กสาวทั้งหมดไปขังไว้ในคุกที่อยู่ภายในกองทัพ
ปัจจุบันพบว่าเด็กหญิงทั้งสี่ได้กลับเข้าไปเรียนหนังสืออีกครั้ง พร้อมกับยังไม่มีการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังในพม่า ต่อมาภายหลัง แม่ของเด็กสาวคนหนึ่งที่ถูกข่มขืนทราบเรื่อง ทำให้ได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง ส่งผลให้ป่วยและตายในเวลาต่อมา
สันนิบาตสตรีรัฐชิน (Women’s League of Chinland – WLC) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิทธิสตรีภาคประชาชนในรัฐชิน ประเทศพม่า ได้เปิดเผยรายงานที่มีชื่อว่า “รัฐที่ไม่ปลอดภัย” (Unsafe State) ซึ่งแสดงหลักฐานว่ารัฐบาลทหารพม่า (เมียนมา) สนับสนุนการข่มขืน โดยผลการศึกษารายงานว่าในรอบ 5 ปี กองทัพพม่าภายในรัฐชินได้ข่มขืนผู้หญิงอย่างน้อย 38 คน โดยเกือบครึ่งหนึ่งเป็นการข่มขืนหมู่และอย่างน้อย 1 ใน 3 เกิดขึ้นโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐบาล เหยื่อบางคนหลังจากถูกข่มขืนจะถูกทรมานและถูกสังหาร
การบังคับให้โยกย้ายออกจากถิ่นฐานเดิม
มีรายงานว่าทหารพม่า (เมียนมา) จากกองพันทหารราบเบาที่ 225 ประจำเมืองโต๋น พร้อมด้วยกองกำลังว้าแดง UWSA จากหน่วย 171 ของเหว่ยเซียะกัง ประมาณ 90 นาย ได้ทำการข่มขู่ขับไล่ชาวบ้านให้ย้ายออกจากหมู่บ้านที่อยู่ทางทิศตะวันตกเส้นทางบ้านนากองมู–เมืองโต๋น ในรัฐฉาน ตรงข้ามชายแดนไทยด้านบ้านหนองอุก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยอ้างว่าชาวบ้านปลูกฝิ่น ซึ่งความจริงชาวบ้านกลุ่มนี้ได้ยึดอาชีพดังกล่าวมานานแล้วและทหารพม่าและว้าก็รู้ดี แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มชาวบ้านคาดว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุที่พวกเขาไม่ชำระภาษีการปลูกฝิ่นที่ยังไม่ถึงฤดูเก็บเกี่ยว หรือไม่ก็ทหารพม่า (เมียนมา) และว้าแดงอาจต้องการยึดพื้นที่ปลูกฝิ่น
เนื่องจากพื้นที่ที่ใช้ปลูกฝิ่นอยู่ออกผลผลิตดี ชาวบ้านที่ถูกขับไล่และอพยพมาส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าลีซู ปะโอ จากบ้านห้วยจอง บ้านห้วยวัด บ้านหมอกข้าวแตก บ้านเมืองแฮ และบ้านนาพยอง ซึ่งมีทั้งเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ คนแก่รวมกว่า 40 คน รวม 13 ครอบครัว ชาวบ้านกลุ่มนี้ได้เดินทางหลบหนีมายังชายแดนไทยด้านดอยสันจุ๊ ตรงข้ามตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
จากข้อเท็จจริงที่รัฐบาลพม่า (เมียนมา) กระทำต่อชาวพม่า (เมียนมา) ซึ่งโดยส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อยบีบคั้นให้ชนกลุ่มน้อยดังกล่าวต้องย้ายถิ่นที่อยู่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วอพยพมาอยู่ในประเทศไทย
จากการกระทำที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลพม่า (เมียนมา) ส่งผลให้ผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวพม่าหลั่งไหลเข้ามาในไทยอย่างไม่ขาดสาย จึงเป็นหน้าที่ของประเทศไทยที่จะต้องรับภาระในการจัดการกับชนกลุ่มน้อย (โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน)ท่ามกลางการจับตามองขององค์กรสิทธิมนุษยชนจากประเทศต่างๆ (อ้างอิง http://www.localtalk2004.com/V2005/detail.php?file=1&code=a1_14122007_01)
ด้วยเหตุนี้หากพม่า (เมียนมา) ยังอยู่ใต้เผด็จการทหารชาวพม่า (เมียนมา) ก็จะหลั่งไหลเข้ามาในไทยอย่างไม่ขาดสาย อีกอันจะส่งผลปัญหาโควิดในไทยอย่างแน่นอน
ในขณะที่ ThaiPBSศูนย์ข่าวภาคใต้ สะท้อนถึง
ผลกระทบการผลักดันแรงงานพม่า(เมียนมา)
จำนวนมากที่ถูกกระจายไปควบคุมตัวในห้องขังของสถานีตำรวจภูธรทั้ง 19 สถานีในจังหวัดนราธิวาส เพราะปัจจุบัน(ก่อนรัฐประหาร)การผลักดันกลับประเทศก็กินเวลานานกว่า 1 เดือน จนทำให้เกิดปัญหาแรงงานแทบจะล้นห้องขัง ขณะที่เจ้าหน้าที่บริเวณพรมแดนไทยมาเลเซีย กำหนดให้นำเรือข้ามฟากทุกประเภทกลับขึ้นฝั่ง หรือ ล็อคกุญแจห้ามนำเรือออก เพราะยังมีการลักลอบขนย้ายแรงงานดังกล่าวผ่านแม่น้ำโกลก
ที่สำคัญอีกประการคือ ผลกระทบทางการเมืองรัฐบาลประยุทธ์ปัจจุบันที่ทุกคนทราบดีว่าแปลงร่างมาจากการรัฐประหารจะต้องถูกพูดถึง ถูกขุดคุ้ยและกระแหนะกระแหน อย่างแน่นอน
1,037 total views, 2 views today
More Stories
คาด ปราโบโว ซูเบียนโต ผู้นำอินโดนีเซียคนใหม่สะท้อนประชาธิปไตยอินโดนีเซียก้าวหน้ามั่นคง ต่างจากประเทศไทยแม้เปลี่ยนการปกครอง ก่อน (2475)
ด่วน ! INC ออกแถลงการณ์ ต่อรัฐบาล ยกเลิกใช้ พรก.ฉุกเฉิน จังหวัดชายแดนภาคใต้ หนุนพูดคุยโต๊ะเจรจาสันติภาพ (มีคลิปแถลง)
แม่ทัพภาคที่ 4 พบปะผู้บริหารทางการศึกษาเอกชน,ผู้บริหารมูลนิธิตาดีกา แดนใต้ ร่วมหารือแก้ปัญหาพื้นที่เพื่อสันติสุข เน้นย้ำ ใกล้ถึงถึงเดือนศิลอด ขอทุกฝ่ายจับมือ “รอมฎอนสันติ” ไม่เกิดเหตุรุนแรง เดือนอันประเสริฐ