เมษายน 28, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

สื่อมวลชน “กระจกเงาสะท้อนสังคม” หลากมิติ สื่อสารเพื่อสู่การแก้ไขปัญหา

แชร์เลย

บท รพี  มามะ  บรรณาธิการข่าว. 

ผู้เขียน เป็นสื่อมวลชน ที่ทำหน้าที่ ในฐานะสื่อมวลชน ภูมิภาค มาไม่น้อยกว่า 25 ปี ปีที่เขียนเป็นปี 2564  ย้อนไปตั้งแต่ ยุคสื่อที่ ไม่มีอินเทอร์เน็ท ว่ากันแล้วสมัยนั้น ยังใช้กล้อง แบกไหล่  คุณภาพVHS และพัฒนาขึ้น เป็นระบบ เบต้าแคม แต่ยังเป็นการบันทึกม้วน ตัดต่อก็ต้องกรอภาพไปมา ราคาก็แทบแสนแพงในยุคนั้น ราคาแสนบาทถึงล้านบาทที่เดียว กระทั่งผู้สื่อข่าวสมัยนั้น ถ่ายเสร็จแล้ว ต้องรีบวิ่ง หารถหารา เพื่อส่งม้วนเทปไปยังสถานี เพื่อส่งตัดต่อ ให้ทันเวลา และต้องรีบกูลีกูจร วิ่งมาเขียนข่าว ให้เสร็จ จากนั้นต้องรีบวิ่ง ไปหาสถานที่เพื่อส่งแฟ็กซ์ ส่งข่าวไปยังสถานีข่าว หรือศูนย์ข่าว   ให้ทันต่อเวลาออกอากาศ อันนี้สื่อทีวี ส่วนสื่อหนังสือพิมพ์ สมัยนั้นใช้ฟิลม์ อยากได้คุณภาพสูง ก็ต้องซื้อคุณภาพฟิลม์สูงๆ เพื่อเหมาะสมกับแสง และความละเอียดของภาพ ครั้นถ่ายก็ต้องระมัดระวัง ห้ามหายใจห้ามเคลื่อนไหวเลยที่เดียว (ขำๆ)  เพราะภาพอาจเสีย เพราะบางฟิมล์ถ่ายได้แค่ 16-24 รูป ถ่ายเสียแล้วเสียเลย ไม่เหมือนที่ใช้การ์ด กล้องดิจิตอล  ไม่ดีไม่ชอบลบถ่ายได้กี่รูปก็ได้ เหมือนปัจจุบัน

จากยุคแอนนาล๊อค สู่ยุคดิจิตอล  โลกอินเทอเน็ต ไร้พรมแดน  มีนิยามใหม่ ใครๆ ก็เป็นสื่อได้ แต่นั่นหมายถึงนักสื่อสาร ไม่ใช่นักข่าวแต่อย่างใด กล่าวคือใคร มีโทรศัพท์มือถือ หรือ สมาร์ทโฟน  สามารถ ถ่ายภาพและเขียนข้อความได้ จบในมือถือ ก็สามารถส่งออนไลน์ได้ทันที หรือที่หลายคนมักใช้คำว่า โพสต์หรือแชร์  ทั้งแบบที่มีความรู้และไม่มีความรู้ และบางสื่อสาร ที่สื่อออกไป กลับเป็นลบ สร้างแตกแยกต่อสังคม จากเบาถึงขั้นร้ายแรง ทั้งยังผิดกฎหมาย พรบ.คอม หลายๆครั้ง แต่ก็มีสื่อรุ่นใหม่ ที่ใช้ในการสื่อสาร ทั้งเพจ  Facebook youtube ฯลฯ มีศูนย์ข่าวออนไลน์ และสำนักข่าว ในยุคดิจิตอล มาแทนที่สื่อรุ่นเก่า แต่อย่างไรก็ตามสื่อรุ่นเก่า ก็ต้องปรับตัวและนำสื่อปรับเข้ากับยุคอินเทอเน็ต อีกหลายสำนักข่าว เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หากจะกล่าวถึง การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในลักษณะ กระจกเงา และ ตะเกียง ทางด้านการศึกษานั้น ก่อให้เกิด การรู้เท่าทัน ดังนั้น สื่อมวลชนเปรียบได้เหมือนเป็นดาบสองคม เพราะข่าวสารสามารถพัฒนาคนหรือสังคม และทำลายคนหรือสังคมได้ ดังนั้น  ประชาชนควรเป็นผู้เลือกข้อมูลข่าวสารด้วยการไตร่ตรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ ในข้อมูลข่าวสารอย่างถี่ถ้วน  เราจึงไม่สามารถที่จะสรุปได้ว่า สื่อมวลชนควรทำหน้าที่เป็นกระจกหรือตะเกียง เพราะสื่อมวลชนต้องทำหน้าที่เป็นทั้งสองบทบาท โดยประชาชนเป็นผู้กลั่นกรองข้อมูลอย่างมีสติ เพื่อนำสารไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนในปัจจุบัน ก็ยังเป็นช่องทางสำคัญของการเข้าถึงแหล่งความรู้ของประชาชน  ไม่ว่าจะเป็นสื่อทาง โทรทัศน์  วิทยุหนังสือพิมพ์  และสื่อออนไลน์ สื่อทางเลือก สื่อทางอินเตอร์เน็ตก็ดี  ซึ่งมีหน้าที่เสนอข่าวสาร ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ความคิดเห็น ความบันเทิง และการศึกษาแก่ประชาชน โดยทำหน้าที่การให้ข่าวสารข้อมูลและให้ความเข้าใจ หน้าที่ด้านการพัฒนาอารมณ์ของบุคคล หน้าที่ขยายประสบการณ์ของบุคคล และหน้าที่หล่อหลอมโลกทัศน์ โดยให้ความรู้  ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แก่ประชาชนให้มีโลกทัศน์ที่กว้างไกลขึ้น

ซึ่งปัจจุบัน แม้จะเข้าสู่ยุคดิจิตอล แต่เรายังพบว่าสื่อมวลชน ยังคงมีอิทธิพลต่อประชาชน ดังนั้น สื่อมวลชนควรตระหนักถึงการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่ทำให้สังคมไทยอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข และมีบทบาทในการพัฒนาจิตใจของประชาชน

ประชาชนเอง ก็ควรเลือกข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง และเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม โดยรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร เพื่อไม่ให้ถูกครอบงำ ต้องรู้จักการกลั่นกรองข่าวสาร  ไม่ชัวร์  ไม่โพสต์  ไม่แชร์ นั่นเองครับ

 1,393 total views,  2 views today

You may have missed