อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ในรำลึกการปฏิวัติประชาชนแห่งดินแดนอัยคุปต์ ครบรอบ 10 ปี(25 มกราคม 2554) สาเหตุเลือกวันนี้เพราะ(สื่อมวลชนถือว่า)ประชาชน
เริ่มลุกฮือตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 และจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ยังคงดำเนินต่อไป
“
ผลการปฏิวัติประชาชนครั้งนี้ สร้างความสั่นสะเทือนต่อการเมืองอียิปต์ ตลอดจนหลายประเทศในตะวันออกกลาง และในขณะเดียวกันก็สร้างความกังวลใจให้กับคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ไม่น้อย อันเนื่องมาจากความเป็นห่วงบุตรหลานที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร มหาวิทยาลัยไคโร และสถาบันอื่นๆ ในประเทศอียิปต์ เพราะเกรงว่าจะได้รับอันตราย”(https://www.isranews.org/south-news/documentary/1849-2011-02-11-21-32-08.html)
การปฏิวัติประชาชนครั้งนี้คือการลุกฮือส่วนใหญ่นั้นเป็นการรณรงค์การต่อต้านของพลเมือง (civil resistance) โดยสันติวิธี ซึ่งมีลักษณะของชุดการเดินขบวน การเดินแถว พฤติกรรมการดื้อแพ่ง และการประท้วงของแรงงาน ผู้ประท้วงหลายล้านคนที่มีภูมิหลังทางสังคมเศรษฐกิจและสังคมอันหลากหลายต่างเรียกร้องให้โค่นล้มรัฐบาลของประธานาธิบดีอียิปต์ นายฮุสนีย์ มูบาร๊อก แม้จะมีลักษณะสงบโดยสันติวิธี แต่ไม่แคล้วที่เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังความมั่นคงและผู้ประท้วง โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 846 คน และได้รับบาดเจ็บ 6,000 คนส่งผลให้สุดท้ายฮุสนีย์ มูบาร๊อกได้ส่งมอบอำนาจในการปกครองประเทศให้แก่คณะผู้บัญชาการกอง ทัพ ซึ่งมี นายมุฮัมหมัด ฮุสไซน์ ฏอนฎอตวีย์ รมว.กลาโหม เป็นหัวหน้าคณะ
และคณะผู้บัญชาการกองทัพได้ตั้งคณะทำงานทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังจากนั้นจัดให้การเลือกตั้งทั่วไปจนทำให้ดร.มุฮัมมัด มุรซีย์ชนะได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 5 ของอียิปต์จากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) ซึ่งเข้าสาบานตนในวันที่ 30 มิถุนายน ปี 2555 ในฐานะประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยของประเทศอียิปต์เป็นครั้งแรกแต่ก็ถูก พล.อ.อับดุลฟัตตะฮฺ อัซซีซีย์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันทำรัฐประหารในเดือนกรกฎาคม ปี 2556 ในขณะนั้นอัซซีซีย์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพ หลังจากนั้นมีการปราบปรามฝ่ายเห็นต่างจากรัฐโดยเฉพาะมุรซีย์และขบวนการ “ภราดรภาพมุสลิม”
(อ่านเพิ่มเติมใน https://www.matichonweekly.com/special-report/article_206826, https://orientxxi.info/magazine/article2945
)
ไม่เพียงแต่ในอียิปต์
แต่รวมทั้งซาอุดิอาระเบียที่ขบวนการ “ภราดรภาพมุสลิม”ถูกปราบปราม ดั่งที่ ผศ.ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด อาจารย์มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้ให้ทัศนะว่า
“หนึ่งทศวรรษกับความอึมครึมผ่านไป ก้าวสู่ยุคอาหรับสปริงที่เปลวไฟยิ่งเพิ่มดีกรีองศาเดือด ที่ซาอุดิอาระเบียแสดงจุดยืนชัดเจนว่าอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอาหรับสปริง ตลอดจนความพยายามช่วยเหลือยับยั้งการล้มของรัฐบาลอียิปต์และเยเมน รวมทั้งการแสดงจุดยืนเป็นปรปักษ์กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหลังจากยุคปฏิวัติอาหรับ รวมถึงการสนับสนุนการโค่นรัฐบาลมุรซีย์ในอียิปต์ และสถานการณ์ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนพัฒนาไปสู่การขึ้นบัญชีกลุ่มอิควาน(ภราดรภาพมุสลิม)
เป็นกลุ่มก่อการร้ายพร้อมๆกับอีกบางกลุ่มในที่สุด”
(อ้างอิงจาก https://www.theustaz.com/?p=4861&fbclid=IwAR1xA7k5hW8WlGeVJ-sFg1o8txkGOnJo7pBwU2CYOkg11pwfV3dc05_HbCg)
อีกทั้งการรัฐประหารต่อรัฐบาลมุรซีย์ยังส่งผลต่อความบาดหมางระหว่างอียิปต์กับตุรกี
(https://eipss-eg.org/العلاقات-المصرية-التركية-بعد-انقلاب-2013/)
รวมทั้งกับกาตาร์ด้วยข้อหาสนับสนุน “การก่อร้าย “ซึ่งพุ่งเป้าไปที่“ขบวนการภราดรภาพมุสลิมและแนวร่วม”
(https://www.alhurra.com/egypt/2021/01/13/فتح-الأجواء-ستبدو-العلاقات-بين-مصر-وقطر؟)
#การเมืองภายใต้อุ้งมือทหาร “ประชาธิปไตยแปลงร่าง”ผ่าน “ร่างรัฐธรรมนูญ 3 ครั้งใน 5 ปี “
สถานการณ์การเมืองในอียิปต์ จึงเป็นเครื่องสะท้อนที่ดีของปัญหาซ้ำซากประชาธิปไตย มีเลือกตั้ง มีปฏิวัติรัฐประหาร มีการเลือกตั้งจนได้
พล.อ.อับดุลฟัตตะฮฺ อัซซีซีย์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่ทำรัฐประหารในเดือนกรกฎาคม ปี 2556 ในขณะนั้นอัซซีซีย์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพภายใต้รัฐธรรมนูญในอำนาจเขา ซึ่งสุดท้ายก็ยังมิสามารถแก้ปัญหาการการเมืองอียิปต์
(ดูบทความ https://ilaw.or.th/node/4188)
คล้ายๆกับปัญหาการเมืองไทยที่คสช.สืบทอดอำนาจอันเป็นบทเรียนสำคัญ
(ดูบทความ https://ilaw.or.th/taxonomy/term/1772)
ในขณะเดียวกันผู้เขียนเคยเขียนบทความที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ในหัวข้อ “จับตา ขบวนการ “ภราดรภาพมุสลิม” หลังฮุสนีย์ หมดอำนาจ”ในประชาไท(https://prachatai.com/journal/2011/02/33089)
อนึ่ง การเมืองอียิปต์ ก็เคยทำให้นักศึกษาไทย (เป็นเหยื่อ) โดนจับคดีความมั่นคงที่อียิปต์มาแล้ว
(https://www.matichonweekly.com/column/article_238743)
806 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.