เมษายน 16, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รำลึกโศกนาฏกรรม16 ปีสึนามิ จุดร่วมให้ทุกฝ่ายสู่กระบวนการสันติภาพอาเจะห์

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอาลา) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความจำเริญและสันติจงประสบแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน” หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รุ่นที่ 2 มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เน้นการเปิดพื้นที่การพูดคุยในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี จากจำนวน 30 ท่าน (รวมทั้งผู้เขียน)จากผู้นำศาสนาพุทธ มุสลิม นักการเมืองระดับชาติ ท้องถิ่น หน่วยงานความมั่นตง ไม่ว่าทหาร ตำรวจ หน่วยพัฒนาจากศูนย์อำนวยบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวแทนฝ่ายปกครอง ตัวแทนกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนผู้บริหารการศึกษาทั้งรัฐและเอกชน ประชาสังคม ตัวแทนสตรี และเยาวชนซึ่งจัดโดยสถาบันปกเกล้า โดยวางการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือบรรยายภาควิชาการ กระบวนการสันติสนทนาเพื่อสร้างความเข้าใจหรือหาทางออกร่วมกัน โดย วิเคราะห์ภายในกลุ่มโดยมีวิทยากรกระบวนการและการเสริมสร้างประสบการณ์เชิงประจักษ์โดยศึกษาดูงานในกระบวนการสันติภาพที่เขตปกครองตนเองที่อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลาสามวันคือ 16-18 ธันวาคม และศึกษาทฤษฎีต่างๆที่ปัตตานี โดยใช้เวลาทั้งสิ้นจำนวนสองเดือนนับตั้งแต่วันที่22 ตุลาคม – 11 ธันวาคม 2556 ซึ่งจากไปศึกษาดูงานที่อาเจะห์นั้นเราได้เรียนรู้กระบวนการสันติภาพจากประชาสังคมต่างๆของอาเจะห์รวมทั้งสภาปราชญ์อิสลามอาเจะห์ก่อนไปพบรัฐบาลท้องถิ่นอาเจะห์ ซึ่งทั้งหมดของผู้ศึกษาดูงานพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าประชาสังคมจะเป็นตัวกลางระหว่าง Tractk1 และ Track 3 คือชาวบ้าน ให้ประสบความสำเร็จถึงแม้ข้อตกลงด้านบนระหว่างคู่ขัดแย้งจะตกลงกันไม่ได้ในหลายครั้ง ซึ่งสามารถ

กล่าวสรุปได้ว่า ” จากการได้เดินทางไปดูงานที่อาเจะห์แล้วทำให้เห็นว่ากระบวนการสันติภาพเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในการที่จะได้มาซึ่งสันติภาพ ที่สำคัญจากบทเรียนของอาเจะห์ จะเห็นได้ว่าสันติภาพต้องเกิดจากการก่อตัวของคนในเอง เพราะคนในจะต้องเผชิญกับความขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย เมื่อเกิดโศกนาฏกรรมสึนามิ ยิ่งทำให้เสียงของคนในที่ออกมาบอกว่าไม่อยากเห็นความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินอีกต่อไป อันเป็นพลังสำคัญในการผลักดันกระบวนการสันติภาพที่ทำให้คู่ขัดแย้งลดอารมณ์แห่งความรุนแรงลง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความอดทนและระยะเวลาในการก่อตัวของคนทำงานภาคประชาชน Track 2ในพื้นที่เชื่อมกับTrack 3 ในการผลักดันให้นำไปสู่สันติภาพให้เกิดขึ้นจริงต่อไป ”
ดังนั้นสึนามิ แม้เป็นโศกนาฏกรรมแต่มันคือจุดร่วมให้ทุกฝ่ายสู่กระบวนการสันติภาพอาเจะห์
สำหรับเหตุการณ์สึนามิที่พัดถล่มบริเวณมหาสมุทรอินเดียครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2004 แม้จะผ่านพ้นไปถึง 16ปีแล้ว หากแต่ร่องรอยของความเจ็บปวดและความสูญเสียจากธรณีพิบัติภัยครั้งนั้น ยังคงไม่เลือนหายไปจากความทรงจำหลายคน

ตอนเหนือของจังหวัดอาเจะห์ ของอินโดนีเซีย ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากเหตุดังกล่าว และมีผู้เสียชีวิตมากถึง 128,858 ราย อีก 37,087 คนอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สูญหาย และผู้เขียนได้มีโอกาสการเยี่ยมพิพิธภัณฑ์อาเจะห์ สึนามิ พบว่า การสร้างพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้นมา นอกเหนือจากจะเพื่อเป็นการรำลึกถึงความสูญเสียครั้งใหญ่แล้ว ก็ยังเป็นสถานที่ที่ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ “คลื่นยักษ์สึนามิ”
หมายเหตุประมวลภาพใน
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10224860208872931/?d=n

 1,940 total views,  2 views today

You may have missed