เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

น้ำท่วมใต้หนักแต่บทเรียนช่วยบรรเทาความสูญเสียช่วยบรรเทา นครศรีฯรอบนี้ “หนักจริงๆ”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

เกิดเหตุน้ำท่วมหนักหลายจังหวัดภาคใต้ หนักสุดที่(น่าจะเป็น)นครศรีธรรมราช(ตามสื่อรายงาน) โดยที่นครศรีธรรมราช น้ำจากคลองคูพาย ได้ไหลเข้าท่วมโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ในช่วงค่ำของวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ทำให้โรงพยาบาลต้องปิดประตูด้านหน้า
มีคลิประทึก ที่ถูกแชร์มากที่สุดน่าจะเป็น “มวลน้ำป่าเทือกเขาหลวงคีรีวง อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช” ไหลทะลักอย่างรุนแรงลงสู่เบื้องล่าง โดยเจ้าของเฟซบุ๊กสามารถออกจากพื้นที่ได้ทัน แต่มีนักท่องเที่ยวอีกจำนวนมากติดอยู่ในหมู่บ้านคีรีวง

ความแรงของน้ำป่าในครั้งนี้ ทำให้สะพานแขวน ซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและจุดเช็คอินของบ้านคีรีวง ได้ขาดลง โดยน้ำมีความแรงและมากกว่าในช่วงปี 2554 ที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วม นอกจากนี้ยังเกิดน้ำท่วมในหลายอำเภอทั้ง อ.เมือง, ทุ่งสง, พรหมคีรี, นบพิตำ ทางจังหวัดต้องตั้งศูนย์อพยพช่วยเหลือประชาชน”


โกเมศร์ ทองบุญชู ผู้จัดการโครงการขับเคลื่อนการจัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน ซึ่งเขาและคณะไม่ว่าชายและหญิง ผู้ใหญ่และวัยรุ่น ได้ใช้ประสบการณ์จากอดีตที่ทำงานนี้มาตลอดหลายสิบปี ร่วมด้วยช่วยกันอดหลับอดนอน ลงช่วยพี่น้องประสบภัยในพื้นที่ อย่างถึงลูกถึงคนโดยไม่คิดชีวิต ท่านให้ทัศนะว่า “ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมากเพราะช่วงหลังๆชาวบ้านให้ความสนใจข้อมูลข่าวสารเรื่องการเตือนภัยน้อยน้อยลง ประกอบกับปีนี้ฝนตกมาต่อเนื่องน้ำท่าน้ำทุ่งเต็มพื้นที่เมื่อฝนเติมลงมาก็จะเป็นส่วนที่ท่วมพื้นที่กระแสน้ำแรงน้ำเลยมาเร็วกว่าปกติ…พื้นที่ต้นน้ำมีการทำเหมืองทำเกษตรเชิงเดี่ยวเพิ่มขึ้นทำให้การกักเก็บหรือชะลอน้ำในพื้นที่ต้นน้ำมีน้อยก็เป็นสาเหตุเช่นกัน”ท่านกล่าวเสริมว่า “  มันยากที่สุด ปฏิบัติการช่วงกลางคืนไม่ชำนาญพื้นที่..
กระแสน้ำแรงมาก…เป้าหมายไม่ทราบพิกัดชัดเจน…รู้เพียงว่ามีคนติดอยู่บนต้นไม้เกือบ10 ชั่วโมงแล้ว..งานนี้ต้องวางแผนอย่างรัดกุมโดยมีผู้ว่าราชการ กำนันในพื้นที่ ร่วมวางแผนโดยมีทีมป้องกันภัยจังหวัดนครศรีธรรมราชช่วยสนับสนุน…ในที่สุดการปฏิบัติช่วยเหลือสามารถช่วยน้องเขาได้ ประโยคแรกที่น้องเจอทีมอาสาเขาบอกเขารอดตายแล้ว”ท่านยังเพิ่มเติมอีกว่า “พื้นที่ที่มีศูนย์การจัดการภัยภิบัติระดับตำบลภายใต้เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถรับมือและช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้นได้ทันท่วงที…

ขอขอบคุณทุกภาคส่วน” ต้องบอกว่า น้ำท่วมนครศรีธรรมราชครั้งนี้หนักจริง จึงไม่แปลกที่ทุกภาคส่วนร่วมด้วยช่วยกันตามกำลังความสามารถแม้แต่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ก็แปลงโรงเรียนเป็นศูนย์ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติโดยผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครองร่วมทำอาหารแจกให้ชาวบ้านและผู้เดือดร้อนไม่ว่าพุทธหรือมุสลิม
อาจารย์ชากิรีน สุมาลี ผู้จัดการโรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ กล่าวว่า “ครัวสันติธรรมของเราเริ่มเปิดบริการผู้ประสบภัยแล้ว
ยามปกติเราจัดการศึกษาเพื่อเด็กและเยาวชน
ยามมีภัยเราจะร่วมยืนเคียงข้างเพื่อบริการประชาชน จริง​ ๆ​ แล้ว​ ร.ร.มีพันธกิจ​ โรงเรียนจิตอาสา จึงถือโอกาสนี้ฝึกฝนให้คุณครูบุคลากรร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาโดยหวังว่าคุณครูบุคลากรและคณะจะได้ส่งต่อและถ่ายทอดความตระหนักรู้​ ตระหนักคิดเกี่ยวกับกิจกรรมจิตอาสาสู่นักเรียนต่อไป”


ผศ.ดร.วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ เลขานุการคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนครศรีธรรมราชและคณะลงพื้นที่ลุยนำ้ช่วยเหลือพี่น้องให้ทันท่วงทีเหมือนกับทุกๆครั้งเมื่อเกิดภัยพิบัติ
สภาเครือข่ายมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ที่มีเครือข่ายช่วยเหลือทั่วประเทศ ส่งทั้งคน อุปกรณ์และอาหาร ช่วยเหลือผู้ประสบภัยรวมทั้งประกาศด่วนที่สุด ! ขอรับบริจาคการช่วยเหลือ ซึ่งปรากฏว่ามีพี่น้องโอนเงินทาง:ธนาคารอิสลามอิสลามแห่งประเทศไทยเลขที่บัญชี 0341096407ชื่อบัญชี SHEIKHUL ISLAMนับล้านบาทไม่นับรวมสิ่งของอุปโภคบริโภคอีกมากมาย
1 1 ธันวาคม 2563 สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา(ปอเนาะ)นำโดยบอบอนัสรูดิน กะจิ นายกสมาคมและคณะจำนวนทั้งหมด 18 คน ได้ลงพื้นที่ชุมชนแสงวิมาน อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชนำสิ่งของจำนวน ประมาณ 300 ชุด ซึ่งได้รับ บริจาคจากโรงเรียนต่างๆที่อยู่ภายใต้สมาคมมอบแด่ผู้ประสบอุทกภัย”นำ้ท้วม “ การลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับการประสานงานจากดร.วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ สภาเครือข่ายมนุษยธรรม ภาคใต้ตอนบน นายสมศักดิ์ พิศสุวรรณ คณะกรรมการกลางแห่งประเทศไทย นางสุไกหน๊ะ ดารามั่น พิศสุวรรณ ผู้บริหารโรงเรียนอิสมาอีลอนุสรณ์ และนายชากิรีน สุมาลี ผู้บริหารโรงเรียนมุสลิมสันติธรรม

อย่างไรก็แล้วแต่ การช่วยเหลือครั้งนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีบทเรียนจากอดีตซึ่งผู้เขียนเคยเป็นฝ่ายวิชาการร่วมกันถอดบทเรียนในโครงการขับเคลื่อนการจัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน โดยเฉพาะร่วมกับท่านโกเมศร์ ทองบุญชู ผู้จัดการโครงการขับเคลื่อนการจัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชนและผู้ประสานงานเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติจากธรรมชาติพื้นที่ภาคใต้ โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ทัศนะว่า “
สาเหตุภัยพิบัติมาจาก 2 ส่วนสำคัญคือ 1.การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก หรือภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้เกิดน้ำป่า น้ำท่วม น้ำแล้ง 2.เกิดจากน้ำมือมนุษย์ที่ทำลายป่า ทั้ง ถมที่ ตัดถนน ขวางทางน้ำ และชุมชนขยายตัวโดยไม่มีการวางแผน อย่างไรก็แล้วแต่สิ่งที่สำคัญในการรับมือภัยพิบัติคือต้องปลุกภาคประชาชนในชุมชนให้ลุกขึ้นมาร่วมมือจัดการกับปัญหาในพื้นที่ เพราะไม่สามารถพึ่งหน่วยงานภายนอกได้ในระยะเร่งด่วนวิกฤติ มีการตั้งอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติ เพื่อเตรียมตัวรับมือ มีกระบวนการเรียนรู้วิเคราะห์สถานการณ์ ว่าต้องอพยพไปจุดไหน มีการซ้อมทุกปี อาสาสมัครต้องขับเรือ ขับรถบรรทุกได้ มีการเตรียมอาหาร กำหนดพื้นที่ ตลอด แม้แต่เตรียมลานจอดเฮลิคอปเตอร์กรณีฉุกเฉิน สำหรับข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ เบื้องต้นเมื่อมีเสียงเตือน ต้องอพยพก่อน เริ่มจากเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ชุมชนจะต้องมีข้อมูลว่าบ้านไหนมีผู้ป่วยติดเตียง เด็ก คนชราเท่าไหร่ เพื่อจะได้อพยพได้ ซึ่งจะต้องเลือกพื้นที่พักพิงเป็นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง มีเส้นทางสัญจรเข้าถึงได้ เพื่อให้หน่วยงานที่จะเข้าไปช่วยเหลือทำได้สะดวก มีการสร้างกระบวนการเครือข่ายฯ ซึ่งการสร้างก็มิใช่ง่ายเพราะการสร้างเครือข่ายอาสาจัดการภัยพิบัติมันต้องเอาจิตใจคนเป็นที่ตั้ง แม้จะมีทรัพยากรพร้อมก็ไม่เพียงพอ เราต้องเอาผู้ที่ประสบภัยมาเรียนรู้ บทเรียนจากครั้งที่ผ่านมา”
กล่าวโดยสรุป “น้ำท่วมครั้งนี้ในพื้นที่ภาคใต้สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สิน เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกของอุทกภัย บทเรียนในอดีตช่วยบรรเทาความสูญเสียจากมากให้ลดน้อยรวมทั้งมันจะสร้างบทเรียนในการปรับตัวที่จะอยู่กับธรรมชาติในอนาคต”

 970 total views,  2 views today

You may have missed