อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2563 ผู้เขียนและบาอฮุสนี บินหะยีคอเนาะ อาจารย์มุงโสด หมะเต๊ะและข๊ดดะรี บินเซ็นจากเครื่อข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอำเภอ จะนะ จังหวัดสงขลาได้เข้าร่วมเวทีเสวนาวิชาการ
“การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายแดนใต้”: ทบทวนอดีตเพื่อคุณภาพชีวิต ความยั่งยืน และความเป็นธรรม”
เวลา 9.00 น. ถึง 16.00 น.
ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ร่วมกับ
1) เครือข่ายนักวิชาการศึกษานโยบายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คนศ. จชต.)
2) คณะอนุกรรมการศึกษาความเป็นไปได้การถ่ายโอนภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี
4) สมัชชาคนจน
สำหรับกิจกรรมวันนี้
9.40-10.20 น. ปาฐกถา “การเข้าไม่ถึงสิทธิเหนือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของคนจนในสังคมไทย และประสบการณ์ในการต่อสู้เรียกร้อง” โดย คุณบารมี ชัยรัตน์ (เลขาธิการสมัชชาคนจน)
10.20 -11.00 น. บรรยายพิเศษ “การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม: ข้อดีและข้อจำกัด” โดย รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล (ประธานอนุกรรมการศึกษาความเป็นไปได้การถ่ายโอนภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
11.15-13.30 น. การเสวนา “ทบทวนอดีตและบทเรียนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายแดนใต้”
โดย 1) อ.ดร.เกื้อ ฤทธิบูรณ์ (คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
2) ผศ.นุกูล รัตนดากุล (สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี)
3) ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
4) คุณสุไลมาน ดาราโอะ (เครือข่ายประมงพื้นบ้านปานาเระ)
5) คุณอาหามาะ ลีเฮง (เครือข่ายที่ดินเทือกเขาบูโด)
ดำเนินรายการโดย อ.อัลอามีน มะแต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
14.30- 16.00 น. เวทีโต๊ะกลมระดมความคิดเห็น “จากปัจจุบัน สู่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิตที่ดี”
– การนำเสนอ timeline สถานการณ์การเคลื่อนไหวด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายแดนใต้ และข้อสังเกตเบื้องต้น (15 -20 นาที) โดย ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.เกษตรศาสตร์)
– การระดมความคิดเห็นผู้เข้าร่วมจากตัวแทนเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคการเมือง (คนละ 5-8 นาที) ดำเนินรายการโดย อ.อสมา มังกรชัย (คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี) และ ดร.ไอย์นี แอดะสง (สำนักอธิการบดีม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
– ประมวลสรุปแนวทางการดำเนินงานและประสานความร่วมมือ (10 -15 นาที) โดย อ.ดร.สายฝน สิทธิมงคล (คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
ในภาพรวมสะท้อนว่า “สิทธิในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ดี การพัฒนาโดยรัฐและการทำงานของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและมีการลิดรอนสิทธิของประชาชนที่ยากจนในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในช่วง 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมา มีโครงการพัฒนาจำนวนมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน โดยเฉพาะโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาพื้นที่การเกษตร ที่ทําให้ลักษณะทางกายภาพและระบบนิเวศของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปและไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังเดิม บางกรณี อาทิ โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ/เขื่อนอาจต้องมีการอพยพโยกย้ายประชาชนออกจากที่พื้นที่ตั้งโครงการ นอกจากนั้นก็ยังมีโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ได้ส่งผลหรือกำลังจะส่งผลกระทบด้านสิ่งแดล้อม ตลอดจนแนวทางการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ของหน่วยงานรัฐ ที่ทําให้ประชาชนไม่มีสิทธิที่มั่นคงในการครอบครองที่ดิน จนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างเต็มที่และเหมาะสม ขณะที่การจัดการทรัพยากรประมงและชายฝั่งบางมาตรการก็ยิ่งส่งผลเสียต่อระบบนิเวศชายฝั่งและต่อชีวิตชาวประมงขนาดเล็ก
ที่ผ่านมาได้มีการรวมตัวกันของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อแก้ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น/ระบบนิเวศต่างๆ แต่กระนั้น แต่ละกลุ่มยังไม่มีโอกาสมากนักในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และปัญหาอุปสรรคในการทำงาน ทั้งนี้ ในแง่หนึ่งทำงานกลุ่มประชาชนเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงได้กับขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในระดับประเทศที่กำลังเผชิญกับปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในลักษณะเดียวกัน ในอีกแง่หนึ่งก็มีเงื่อนไขหรือลักษณะเฉพาะของความเป็นพื้นที่ชายแดนใต้ ที่บริบทความรุนแรงและความไม่สงบได้ส่งผลอย่างสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวในงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน”
ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.เกษตรศาสตร์)ให้ทัศนะว่า “ เราต้องคำนึงความเป็นนิเวศวิทยาการเมืองของประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายแดนใต้ที่ผูกโยงกับกลไกและโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมือง ทั้งนี้ บทบาทรัฐในการจัดการทรัพยากรชายแดนใต้ล้วนวางบนฐานคิดเรื่องความมั่นคงและการพยายามครอบครองพื้นที่ที่รัฐมองว่าควบคุมได้ยากและเต็มไปด้วยความไม่สงบ ในขณะเดียวกับโครงการพัฒนาโดยรัฐที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมก็เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนท้องถิ่นและผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐ โดยโครงการเหล่านี้ได้สร้างความเดือดร้อนอย่างมากให้กับชาวบ้านที่ทำมาหากินบนฐานทรัพยากรและระบบนิเวศน์ “
รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล. ประธานอนุกรรมการศึกษาความเป็นไปได้การถ่ายโอนภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สะท้อนว่า “ท้องถิ่นสามารถจัดการเรื่องที่ดินเพื่อประโยชน์ชุมชน ดังนั้นการเลือกนายกอบจ.ชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้สำคัญมากๆ”
ทำให้ผู้เขียนและบาอฮุสนี บินหะยีคอเนาะ อาจารย์มังโสด หมะเต๊ะและข๊ดดะรี บินเซ็นจากเครื่อข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอำเภอ จะนะ จังหวัดสงขลาเข้าปรึกษาท่านว่า มีช่องทางใดทางกฎหมายที่ชาวบ้านจะนะจะต่อสู้ความไม่ชอบธรรมของรัฐในการเปลี่ยนแปลงสีผังเมืองจากสีเขียวเป็นม่วงรองรับจะนะเมืองอุตสาหกรรมเพื่อเอื้อนายทุนใหญ่ที่กำลังเป็นข่าวดัง
อาจารย์ดร.เกื้อ ฤทธิบูรณ์ สะท้อนการต่อสู้ของชาวบ้านจะนะ เรื่อง จะนะเมืองอุตสาหกรรม ถ้าชาวบ้านแพ้ มันจะกระทบฐานทรัพยากรไม่เพียงจะนะแต่จะกระทบกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด
อาจารย์นุกูล รัตนดากุล อดีต หัวหน้าโครงการวิจัยพื้นที่ชุ่มน้ำ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
สะท้อนให้ย้อนอดีตให้เห็นการเริ่มต้นการทำงานเครือข่ายชุมชนผ่านการวิจัยเรื่องนกน้ำอพยพจากแดนไกลไซบีเรียสู่ปัตตานีซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ได้เรียนรู้หลักคิดหลักการใช้ชีวิตของชาวมลายูมุสลิมในพื้นที่พร้อม ๆ กับสะท้อนความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของระบบนิเวศที่ไม่อาจแยกตัดขาดกันได้ ซึ่งท่านสามารถเอาบทเรียนทางวิชาการโดยสังเกตการหาอาหารของนกที่บินจากไซบีเรียมาหาอาหารที่ชายหาดปัตตานีว่าทำไมอย่างไร มันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอย่างไรท้ายสุดมันสามารถแก้ปัญหา การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ปาตานีได้ทำให้ผู้เขียน
นึกถึง คำสอนในคัมภีร์อัลกุรอ่าน “فَبَعَثَ اللَّهُ غُرَابًا يَبْحَثُ فِي الأَرْضِ لِيُرِيَهُ كَيْفَ يُوَارِي سَوْءَةَ أَخِيهِ قَالَ يَا وَيْلَتَى أَعَجَزْتُ أَنْ أَكُونَ مِثْلَ هَذَا الْغُرَابِ فَأُوَارِيَ سَوْءَةَ أَخِي فَأَصْبَحَ مِنَ النَّادِمِينَ
: แล้วอัลลอฮฺได้ส่งกาตัวหนึ่งมาคุ้ยหาในดิน เพื่อที่จะให้เขาเห็นว่าเขาจะกลบศพน้องชายของเขาอย่างไร เขากล่าวว่า โอ้ความพินาศของฉัน ฉันไม่สามารถที่จะเป็นเช่นกาตัวนี้แล้วกลบศพน้องชายของฉันเชียวหรือนี่ แล้วเขาก็กลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ตรอมใจ”
เป็นที่น่าดีใจว่า “เวทีนี้จึงเห็นกลุ่ม/องค์กรของประชาชนที่ทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์มุมมองระหว่างกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนกับขบวนการภาคประชาชนในระดับประเทศ ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำมาสู่การประสานความร่วมมือกันต่อไปในการทำให้การจัดกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำมาซึ่งคุณภาพชีวิต ความยั่งยืน และความเป็นธรรม”
หมายเหตุฟังคลิปเสวนาย้อนหลัง
1.ภาคเช้า
(https://www.facebook.com/PolicyWatchDST/videos/231048305112967/)
2.ภาคบ่าย
(https://www.facebook.com/PolicyWatchDST/videos/762059891395299/)
1,264 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.