อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) รายงาน
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ตามที่นายซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา พรรคประชาชาติ ประธานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร และคณะลงพื้นที่รับฟังความเห็นจากภาคประชาชน กรณี “จะนะเมืองอุตสาหกรรม” วันที่28 พฤศจิกายน 2563 เวลา 9.00 น.-12.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์เด็กเล็ก เทศบาลเมืองจะนะจังหวัดสงขลา อันเนื่องมาจาก21 ตุลาคม 2563 เครือข่ายโรงเรียนเอนชนสอนศาสนาอิสลามอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งได้ทำหนังสือและร้องเรียนประธานคณะ กมธ.การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ เรื่อง ให้ตรวจสอบการทำผิดกฎหมายของศอ.บต.ซึ่งช่วงท้ายการรับฟังความคิดเห็นนายมังโสด หมะเต๊ะ ผู้ประสานงาน
องค์กรภาคีเครือข่าย ๔๙ องค์กรก็ได้อ่านแถลงการณ์และ บายอฮุสนี บินหะยีคอเนาะได้ยื่นหนังสือแถลงการณ์ดังกล่าวผ่านกรรมาธิการสภาผู้แทนฯ(ต่อหน้าสื่อมวลชน)
“คัดค้านการเปลี่ยนสีผังเมืองจะนะจากสีเขียวเป็นสีม่วงและเสนอพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจด้านวัฒนธรรมและวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน”
อันเนื่องมาจากการแก้ไขผังเมืองจะนะจากสีเขียวเป็นสีม่วงไม่ชอบด้วยหลักการและเหตุผลดังนี้
๑. การดำเนินการขอแก้ไขผังเมือง ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ.๒๕๖๒ ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๕ มาตรา ๒๗ มาตรา ๓๖ และมาตรา ๓๗ เนื่องจากกฎหมายกำหนดเงื่อนไข คือ
– การแก้ไขผังเมืองรวมเฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วน จะต้องดำเนินการเนื่องจากสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งกรณีจะนะ ไม่ได้เป็นไปเนื่องจากสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด และไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ เนื่องจากจะนำเอาเขตอุตสาหกรรมไปให้กับภาคเอกชน ๒ บริษัทเท่านั้น ในทางกลับกัน โครงการ “จะนะเมืองอุตสาหกรรม” เป็นโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และวิถีชีวิตของประชาชน ไม่เพียงแต่อำเภอจะนะแต่ทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้
๒.การดำเนินการแก้ไขผังเมือง ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ และมาตรา ๖๕ ที่กำหนดให้หน่วยงานรัฐต้องพิจารณาข้อเสนอแนะโดยให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพิจารณา และการทำยุทธศาสตร์ชาติจะต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงซึ่งการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ไม่เป็นไปตามขั้นตอนแห่งพระราชบัญญัติผังเมืองดังกล่าวและไม่เป็นไปหลักการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๘
ดังนั้นภาคีองค์กรเครือข่ายจึงมีความเห็นร่วมกัน และขอเรียกร้องต่อกรมโยธาธิการและรัฐบาล เพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. ขอให้กรมโยธาธิการมีมติ
ไม่เห็นชอบการเปลี่ยนสีผังเมืองจะนะจากสีเขียวเป็นสีม่วงที่ผลักดันเสนอผ่านจังหวัดสงขลาเพราะไม่ชอบด้วยหลักการและเหตุผลข้างต้นรวมทั้งหลักมาตรฐานสากลและหลักธรรมาภิบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนผังเมือง
๒. ขอให้รัฐบาลพลิกวิกฤตแห่งความขัดแย้ง เป็นโอกาส ด้วยการประกาศให้พื้นที่อำเภอจะนะ เป็นพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจด้านวัฒนธรรมและวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำโดยเปิดโอกาสให้พี่น้องคนจะนะและประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ออกแบบอนาคตตนเอง ทำแผนพัฒนาพื้นที่จากภาคประชาชนเพื่อเสนอต่อ ศอ.บต.และรัฐบาล เพื่อยุติการพัฒนาอันคับแคบที่คิดและตัดสินใจจากหอคอยงาช้างในส่วนกลาง และหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงใจในการสร้างรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สอดคล้องกับหลักศาสนธรรม ด้วยการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ชายแดนใต้อย่างแท้จริง เพื่อความสงบสุข สันติ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และการรักษาฐานทรัพยากรให้สมบูรณ์สู่รุ่นลูกหลานต่อไป “มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน”
ด้วยความเคารพ
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
ลงชื่อองค์กรภาคีเครือข่าย ๔๙ องค์กร
๑.เครือข่ายโรงเรียนเอกชนอำเภอจะนะ
๒.สมาคมโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา
๓.สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้
๔.มูลนิธิดารุนนาอีม
๕.มูลนิธิดารุลอินฟาก
๖.สมาคมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐภาคประชาชน (ส.ต.ป.) ภาคใต้
๗.ชมรมโรงเรียนเอกชนเขตพิเศษสงขลา
๘.มูลนิธิสันติวิทย์
๙.สมาคมวาดิลไนล์ประเทศศิษย์เก่าอียิปต์
๑๐.เครือข่ายองค์กรมุสลิมมัสยิดและชุมชนจังหวัดยะลา (jabim)
๑๑.กลุ่มรักษ์ถิ่นเกิด ตำบลคู อ.จะนะ จ.สงขลา
๑๒.สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ
๑๓.มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
๑๔.เครือข่ายจะนะรักถิ่น
๑๕. เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
๑๖. สมาคมรักษ์ทะเลไทย
๑๗. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
๑๘.สมาคมฟ้าใสส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนชายแดนใต้
๑๙.เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ.
๒๐.เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส)
๒๑.สหกรณ์ออมทรัพย์ครูอัตตับลีฆ อ.จะนะ
๒๒.มูลนิธิดารุสสาลาม
๒๓.กลุ่มด้วยใจ
๒๔.มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
๒๕.เครือข่ายนักเรียนกลุ่มรักษ์ความสะอาด อำเภอจะนะ
๒๖.กลุ่มนักเรียนพลังบริสุทธิ์ ๔ อำเภอ
๒๗.กลุ่มศิษย์เก่าอียิปต์ (ชาบ๊าบไคโร) Shabab
๒๘.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
๒๙.สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี
๓๐.สมาคมศิษย์เก่าสถานศึกษาปากีสถาน
๓๑. โครงการจัดตั้งสมาคมเพื่อการศึกษาและการพัฒนา ชายแดนใต้
๓๒ เครือข่ายนักวิชาการศึกษานโยบายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คนศ. จชต.)
๓๓.กลุ่มอาหารปันรัก อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
๓๔. ธนาคารเมล็ดพันธุ์ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
๓๕.สมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะจังหวัดหวัดสงขลา
๓๖.กลุ่มคนรุ่นใหม่กับการพัฒนาเมืองจะนะ จังหวัดสงขลา
๓๗.กลุ่มชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนเรื่องที่ดินตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
๓๘.ชมรมเด็กสะกอมอาสา
๓๙.มูลนิธิดิจิทัลเพื่อสันติภาพ
๔๐.กลุ่มธนาคารปูลานหอยเสียบ
๔๑.กลุ่มป่างามรักษ์ถิ่น
๔๒.กลุ่มโซล่าเซลป่าชิง
๔๓.กลุ่มทำนาอินทรีย์ป่าชิง
๔๔.กลุ่มจาระโผง
๔๕.กลุ่มเต่าไข่
๔๖.กลุ่มเด็กรักษ์หาดสวนกง
๔๗.กล่มเทใจให้เทพา
๔๘.ศูนย์เรียนรู้วิธีธรรมชาติเพื่อชุมชน
๔๙.ศูนย์อำนวยการบริหารจะนะยั่งยืน (ศอบจ.)
หมายเหตุฟัง
คลิปแถลงการณ์ฉบับเต็มดูได้ใน
https://www.facebook.com/100000198991101/posts/4185165114833414/?d=n
947 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.