พฤษภาคม 18, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

สื่อมวลชน กับ ไฟใต้ ใช้ยุทธการสื่อสาร อย่างไร ผ่าวิกฤติไฟใต้ “ท่องเที่ยวเบตง สร้างรายได้ทั้งในและเงินเข้าประเทศ”

แชร์เลย

บรรณาธิการ .รายงานพิเศษ

ท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานอาเภอเบตงเป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงอันตรายของสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้แต่ขณะเดียวกันก็ยังเป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวอยู่อย่างไม่ขาดสาย สามารถสร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวในลาดับต้นๆของภาคใต้ จึงเป็นที่น่าสนใจในการศึกษาว่า อำเภอ เบตงมีกลยุทธ์การสื่อสารการท่องเที่ยวอย่างไรภายใต้สถานการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้
จากการ ผลการวิจัยพบว่า อำเภอเบตงมีการใช้กลยุทธ์การสื่อสารท่องเที่ยวโดยการใช้สื่อกิจกรรม สื่อบุคคล และสื่อออนไลน์เป็นหลัก โดยเนื้อหาสารส่วนใหญ่จะมีทั้งภาพและข้อความเกี่ยวกับความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว ประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และแสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนตลอดจนอาหารท้องถิ่น สินค้าพื้นเมืองวิถีชีวิตและบรรยากาศของเมืองเพื่อแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยในการเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี แม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ความรุนแรง โดยมีความถี่ในการสื่อสารออกไปอย่างสม่ำเสมอ


โดยเหตุการณ์ความ รุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เกิดขึ้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 เกิดเหตุการณ์ ปล้นปืนครั้งใหญ่ ในค่ายทหารปีเหล็ง อ.เจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น ปฐมบทแห่งความรุนแรงของ สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นำไปสู่เหตุการณ์ ความไม่สงบที่ลุกลามมาอย่างต่อเนื่อง โดยเหตุการณ์ความ รุนแรงส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในอำเภอเมืองยะลา อำเภอรามัน และอำเภอบันนังสตา ของจังหวัดยะลา ซึ่งอำเภอเหล่านี้ล้วนเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในการเดินทางเข้า สู่อำเภอเบตง
“เบตง” เป็นอาเภอที่อยู่ในจังหวัดยะลา มีพื้นที่ อยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศไทย สภาพภูมิประเทศส่วน ใหญ่โอบล้อมด้วยภูเขาสูงส่งผลให้มีอากาศหนาวเย็น ตลอดปี ด้วยความโดดเด่นทางภูมิศาสตร์ ทำให้เบตงกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ น่าสนใจเบตงมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายที่สวยงามและ โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อาทิ มีตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีอุโมงค์รถยนต์รอบภูเขาแห่งแรกของประเทศไทย สนาม กีฬาที่สูงที่สุดในประเทศไทยมีโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่ง แรกที่ใหญ่ที่สุดในเบตง มีพระพุทธรูปทองคาสัมฤทธิ์ องค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยรวมทั้งสวนดอกไม้เมืองหนาว แห่งเดียวในภาคใต้ก็อยู่ที่เบตงนอกจากทรัพยากรกร ท่องเที่ยวที่กล่าวมาแล้ว ในส่วนของวิถีชีวิตวัฒนธรรม ประเพณีและอาหารการกินในเบตงก็มีความโดดเด่น เรียบ ง่ายและมีความหลากหลายอันเนื่องมาจากการอยู่ร่วมกัน ของกลุ่มคนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนาซึ่งต่างมี วัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เกิดการผสมผสาน ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตกันอย่างลงตัวส่งผลให้เบตง กลายเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทาง วัฒนธรรมมากที่สุดของประเทศ และเบตงยังเป็นเมือง ท่องเที่ยวทางภาคใต้ตอนล่างที่สร้างรายได้เข้าประเทศมากที่สุดอีกด้วย

ในด้านของการสื่อสาร จะเห็นว่า ทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนเป็นสื่อที่ทรงพลังและสำคัญที่สุด โดยชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวต้องบริหาร จัดการโดยชุมชนเอง เพราะเมื่อชุมชนได้รับผลประโยชน์ จากที่ตนเองอยู่อาศัยก็จะเกิดการรักและหวงแหนถิ่นที่อยู่ และอนุรักษ์สิ่งที่เป็นวัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิตที่แตกต่างให้ได้ ซึ่งจะเป็นจุดขายที่ไม่ เหมือนที่อื่น และที่สำาคัญเน้นการให้ข้อมูลที่เป็นจริง เน้นการสร้างเรื่องราวจากอัตลักษณ์ของท้องถิ่นให้เป็นที่ น่าสนใจ ซึ่งมีการสื่อสารผ่านทางไลน์และเฟซบุ๊ก การท่องเที่ยวทาให้ชุมชนอยู่ดีมีอาชีพและสร้างรายได้ ส่งผล ให้เขาสื่อสารแต่ภาพดีดีออกไป เวลามีนักข่าวลงมาทำข่าว หรือเชิญสื่อมวลชนทำข่าว หรือนักท่องเที่ยวมาเที่ยวก็แนะนาให้ข้อมูลในอีกด้านที่คน ส่วนใหญ่ไม่รู้ จึงทำาให้นอกจากนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริม ในการจัดงานประจาปีต่างๆแล้วสื่อบุคคลในลักษณะของ นักท่องเที่ยวก็มีส่วนในการบอกต่อโดยผ่านเครือข่ายสังคม ออนไลน์ เนื่องจากลงมาเที่ยวมาสัมผัสกับพื้นด้วยตัวเอง แล้วเกิดความประทับใจทาให้ข้อมูลของเบตงแพร่กระจาย ไปยังสื่อมวลชนทั้งภูมิภาคและส่วนกลางต่างๆส่งผลให้มีหลายรายการ ติดต่อมาทาสารคดีและเผยแพร่สารการท่องเที่ยวออกไป ทำให้เบตงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย


จากเหตุการณ์ความไม่สงบเบตงได้รับ ผลกระทบแต่ไม่ใช่ประเด็นหลักเป็นเพียงปัจจัยที่เข้ามา กระทบเท่านั้น ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เข้าใจและมี ทางเลือกในการเดินทางมา สู่เบตง ที่สำคัญช่วยกันสอดส่องดูแลและมีการสื่อสารกัน อย่างทั่วถึงเมื่อมีเหตุการณ์หรือข่าวลือมา ก็จะสื่อสารกัน ผ่านไลน์ของคนในชุมชน และมีการรักษาความปลอดภัย ในพื้นที่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง และจริงใจ โดยมีโครงการตาสับปะรดจากประชาชนจิต อาสาในพื้นที่ที่ช่วยเหลือกันสอดส่องดูแลตลอดเวลา รวมทั้งการนาเอากล้องวงจรปิดมาติดทั่วทุกจุดสำาคัญ ของเบตงทาให้สถานการณ์ความรุนแรงคลี่คลายลง มีการจัดการปล่อยแถวตรวจตราลาดตระเวนเดือนละสองครั้ง การสื่อสารดูแลกันก็จะเข้มข้นขึ้น ซึ่ง การรักษาความปลอดภัยตรงนี้เป็นการสร้างความเชื่อมั่น ให้กับนักท่องเที่ยวได้ อีกทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวไทยที่เข้ามาเที่ยวจะเข้าใจและรู้จักคุ้นเคยกับพื้นที่เป็น อย่างดีจึงทำให้เบตงมีนักท่องเที่ยวทั้งปีไม่ว่าจะมีเทศกาล หรือไม่มีเทศกาล


ดังกล่าวข้างต้น การมองเห็น การรับรู้ จำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัย ในการลงมาท่องเที่ยวในพื้นที่ และสร้างความมั่นใจพร้อมทั้ง กระตุ้นการท่องเที่ยวโดยการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องใน ทุกๆปี และการที่จัดให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อแสดงให้ เห็นว่าพื้นที่มีความปลอดภัยและมีการเคลื่อนไหวไป ในทางที่ดี โดยสื่อสารออกไปผ่านสื่อมวลชนในพื้นที่ และ บางงานมีการเชิญสื่อต่างประเทศมาร่วมด้วย โดยถ่ายทอดข่าวสารผ่านสื่อกระแสหลักทางโทรทัศน์ และลง ข่าวทางเว็บไซต์สานักข่าวออนไลน์ โดยกลยุทธ์การใช้สื่อกิจกรรมในการสื่อสารการท่องเที่ยวนั้น สอดคล้องกับ แนวคิดกลยุทธ์การสื่อสารโดยการจัดการสื่อสารเชิงยุทธ์ กลยุทธ์ การประชาสัมพันธ์การโน้มน้าวใจโดยการดาเนินงาน สื่อมวลชนสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมพิเศษ เช่น การจัด โครงการต่างๆเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว กับชุมชนถือเป็นการจูงใจกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทั้งระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ซึ่งจะทาให้นักท่องเที่ยวเกิดการรับรู้และเกิดความเชื่อมั่นใน การเดินทางมาท่องเที่ยว การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชนเป็นสิ่งที่ ควรทำา เพราะสื่อมวลชนมีบทบาทอย่างมากในการช่วย นาเสนอข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์สู่ สาธารณชนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง


ดังนั้น การใช้กลยุทธ์การสื่อสารในด้าน การท่องเที่ยวแบบผสมผสานโดยการนาเอาทรัพยากรการ ท่องเที่ยวที่สำาคัญและโดดเด่นของพื้นที่มาเป็นจุดขายใน การสื่อสารออกไป ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี สภาพทางภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศของ พื้นที่รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวทั้งในเมืองและแหล่ง ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยสื่อสารผ่านสื่อกิจกรรมเป็น หลักซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวมไปถึงภาคประชาชนในพื้นที่ ซึ่งทาหน้าที่ เป็นสื่อบุคคลชั้นดีในการสื่อสารเรื่องราวการท่องเที่ยวจาก การอาศัยอยู่ในพื้นที่จริงผ่านการเล่าเรื่องราวโดยใช้สื่อ
ออนไลน์ คือเฟซบุ๊กส่วนตัวเป็นเครื่องมือหลักในการส่งสารโดยเนื้อหาสารมีทั้งที่เป็นภาพและข้อความด้านการ ท่องเที่ยวที่เป็นไปในทางบวก เน้นภาพลักษณ์ที่ดีเน้นการ พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจในความมั่นคงปลอดภัย ของพื้นที่ ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว อย่างไม่ขาดสายในทุกๆปี

แม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ ความรุนแรง ซึ่งสื่อมวลชน มีส่วนสำคัญ รัฐและเอกชน ประชาชนในพื้นที่ การใช้กลยุทธ์การสื่อสาร, การสื่อสารการท่องเที่ยว, ภาวะวิกฤต, สถานการณ์ความรุนแรงใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่มีในยุคปัจจุบันให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนสูงสุดกับ อ.เบตง ในยุคโลกแห่งการสื่อสารนั่นเอง

 1,438 total views,  2 views today

You may have missed