พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ว่าด้วยประท้วงตามทัศนะอิสลาม (หากจะประท้วง) :เป้าหมายและวิธีการต้องอยู่ในกรอบวิสัยทัศน์อิสลาม

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ความขัดแย้งทางการเมืองไทยในส่วนกลางของประเทศไทยแล้วกำลังลุกลามเป็นดาวกระจายทั่วไทย โดยเฉพาะจากนักเรียน นักศึกษา วัยรุ่นคนหนุ่มสาว อีกทั้งยังลงมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ในทางกลับกันก็มีมวลชนอีกฝั่งที่พร้อมยืนเคียงข้างรัฐบาลกล่าวหาเด็กพวกนี้ว่า จะล้มสถาบันนัดรวมพลผู้คนใส่เสื้อเหลือง ซึ่งนักวิเคราะห์การเมืองสะท้อนว่า ส่วนใหญ่มาจากคนอีกวัย รวมทั้งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากฝ่ายรัฐบาลเหมือนกับเหตุการณ์ที่กรุงเทพมหานครเมื่อ 14 ตุลาคม2563 ที่ผ่านมา ผลของความขัดแย้งดังกล่าวปฏิเสธไม่ได้เช่นกันมีการถกเถียง ในหมู่มุสลิมจนเป็นวิวาทะลามปามไปถึงขึ้น ออกฟันธง ว่า การประท้วงไม่มีในอิสลาม คนประท้วงกำลังทำผิดหลักการอิสลาม ซึ่งเรื่องนี้แน่นอนที่สุดปฏิเสธไม่ได้ว่าในวงการนักวิชาการอิสลามก็มีข้อถกเถียงนี้มาทุกยุคทุกสมัย หลังจากสมัยท่านศาสนฑูตมุฮัมมัดเสียชีวิต จนกระทั่ง ที่ดังที่สุดก็น่าจะเป็นอาหรับสปริง หรือมีอยู่ในประเทศมุสลิมจนทุกวันนี้
สำหรับนักวิชาการมุสลิมอย่างศ.ดร.ยูซุฟ กอรฎอวีย์อดีตประธานสหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ
[ International Union for Muslim Scholars-IUMS ]
และประธานสภาฟัตวาและการวิจัยแห่งยุโรป [ European Council for Fatwa and Research ]

จากหนังสือ “ฟัตวาร่วมสมัย”ได้ให้ทัศนะไว้ ว่า (แปลโดยดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด )
“เป็นสิทธิของชาวมุสลิมเช่นเดียวกับผู้อื่น ที่จะเดินขบวน และจัดการการประท้วงแสดงความต้องการที่ถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมาย และสื่อสารความต้องการของพวกเขาไปยังผู้นำและผู้มีอำนาจตัดสินใจด้วยเสียงที่ไม่อาจเพิกเฉยได้ ผู้มีอำนาจอาจไม่ได้ยินเสียงของคนๆเดียว แต่เสียงของกลุ่มนั้นหนักแน่นเกินกว่าที่จะเพิกเฉย และยิ่งผู้ชุมนุมเพิ่มจำนวนมากขึ้นและมีบุคคลที่เสียงมีน้ำหนักเข้ามามีส่วนร่วม เสียงของพวกเขาจะได้ยินมากขึ้น และมีอิทธิพลมากขึ้น เนื่องจากเจตจำนงของกลุ่มแข็งแกร่งกว่าเจตจำนงของแต่ละบุคคล และคนหนึ่งอ่อนแอในตัวเองและแข็งแกร่งเมื่ออยู่กันเป็นกลุ่ม”
จากหนังสือ “ฟัตวาร่วมสมัย”
ในขณะที่ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะให้ทัศนะผ่านเฟสบุ๊คว่า

“เมื่อความชั่วมาจากผู้ปกครองบ้านเมือง​ ก็เป็นหน้าที่ระดับฟัรฎูกิฟายะฮสำหรับมุสลิมที่จะต้องช่วยกันยับยั้งความชั่วนั้นตามกำลังความสามารถ​ และไม่สามารถปล่อยผ่านความชั่วง่าย​ ๆ​ โดยอ้างว่าต้องภักดีต่อผู้นำและหากออกมาต่อต้านอาจเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

แม้นหากความจริงเป็นเช่นนั้น​ อิสลามก็คงไม่กำหนดให้มุสลิมต้องญิฮาดซึ่งเป็นภารกิจที่ต้องเอาทั้งชีวิตและทรัพย์สินเข้าแลก​ และคงไม่มีคำสอนให้พูดความจริงต่อหน้าผู้ปกครองที่อธรรม​ แม้อาจต้องแลกด้วยชีวิตก็ตาม

การภักดีต่อผู้นำจึงมีเงื่อนไขว่าต้องมิใช่ในเรื่องที่ผิดหลักศาสนาและการป้องกันความเสียหายก็ต้องมิใช่การปล่อยให้ผู้นำชั่วย่ำยีประเทศชาติอย่างลอยนวลต่อไป

เมื่อต้องต่อสู้กับความชั่วร้ายก็ควรตระหนักว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะชนะโดยไม่เกิดความเสียหายอะไรเลย​ และควรตระหนักด้วยว่าการร่วมกันกับคนหมู่มากเพื่อยับยั้งความชั่วและเปลี่ยนแปลงสังคมสู่สิ่งที่ดีกว่า​ ย่อมมีโอกาสชนะมากกว่าการต่อสู้เพียงลำพัง

การประท้วงรัฐบาลจึงมิใช่สิ่งต้องห้ามอย่างสิ้นเชิงและมิใช่สิ่งที่อนุญาตอย่างไม่มีเงื่อนไข​ แต่ได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ประท้วงเป็นสำคัญ​ หากการประท้วงเป็นไปเพื่อล้มล้างรัฐบาลที่ตนไม่ชอบแล้วเอากลุ่มก้อนของตนขึ้นครองอำนาจแทน​ โดยความชั่วทั้งหลายยังอยู่​ การประท้วงนี้ย่อมถือเป็นความชั่วในตัวมันเองที่เข้าร่วมมิได้

แต่หากการประท้วงเกิดขึ้น​ เพราะประชาชนเห็นถึงความอธรรมของรัฐบาล​ และต้องการระงับยับยั้งความอธรรมนั้น​ การเข้าร่วมย่อมถือเป็นสิ่งชอบธรรม”อ่านเพิ่มเติมใน
https://www.facebook.com/100000859920502/posts/3601523909886238/?extid=0&d=n
เป้าหมายที่ดีเพื่อผดุงความยุติธรรมอย่างเดียวไม่เพียงพอแต่วิธีการต้องอยู่ในกรอบวิสัยทัศน์อิสลามเช่นกัน ไม่ว่าการใช้คำพูด การแสดงออก และอื่นๆดังนั้นเมื่อท่านคิดจะประท้วงก็ต้องพิจารณาวิธีการนำเสนอที่อยู่ภายใต้หลักการอิสลามหากผิดพลาดก็ต้องปรับปรุง
ดังหลักการที่ว่า
الغايات فى الاسلام شريفة ، ووسائلها لا بد ان تكون شريفة ايضا
หรือ
. قاعدة:”الغاية لا تبرر الوسيلة”
ซึ่งต่างจากทฤษฎีของมาเคียเวลลี่
(Nicolo Machiavelli ค.ศ. 146-1527)

นักปรัชญาชาวอิตาลี
ซึ่งไม่สนใจวิธีการขอให้เป้าหมายดีก็เพียงพอ
النظرية الميكافيلية
من المذاهب اللادينية المعاصرة من مبدأ

“الغاية تبرر الوسيلة”
ศึกษาเพิ่มเติมใน https://vb.tafsir.net/forum/القسم-العام/الملتقى-العلمي-المفتوح/55123-النظرية-الميكافيلية-في-ميزان-الشرع،-دراسة-في-علم-الأصول-إعداد-بوودن-دحمان-حذيفة

อย่างไรก็แล้วแต่วิกฤตการเมืองก็ต้องแก้ด้วยวิธีทางการเมืองมากกว่าการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายพิเศษที่ผิดกฎหมายสากลเพราะมันจะยิ่งเพิ่มปัญหารวมทั้งมิสามารถดำเนินการตามกฎหมายแล้วจะมีประโยชน์อันใดในการประกาศใช้กฎหมาย
ส่วนมุสลิมเองควรถกเถียงอย่างมีอารยะแตกต่างแต่ไม่ทะเลาะ สอดคล้องกับสภาศาสนสมั พนั ธ์แห่งประเทศไทย(IRC)
ซึ่งเรียกร้องให้ทุกศาสนิกหันหน้าเข้าหากันเพื่อฝ่าวิกฤตการเมืองไทยใช้ความเห็นอกเห็นใจการประนีประนอมและขันติธรรมอันเป็นหัวใจสำคัญของ หลักการทางศาสนาของทุกศาสนาจะเป็นพื้นฐานให้สังคมไทยก้าวข้ามความขัดแย้ง น้ีไปได้
อนึ่งก่อนหน้านี้หลายต่อหลายครั้งเมื่อมีวิกฤตทางการเมืองที่อาจทำให้ศาสนิกต่างๆขัดแย้งกันไม่ว่าในประเทศและนานาชาติIRCก็เคยมีส่วนร่วมแสดงจุดยืน(โปรดอ่านเพิ่มเติมใน https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/140357)

 2,531 total views,  2 views today

You may have missed