ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด..
ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศสเมื่อวันศุกร์ ที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมาว่า“ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่อยู่ในวิกฤตทุกวันนี้ทั่วโลก” ก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่โกรธเกรี้ยวไปทั่วโลกมุสลิม
● วาทกรรม “อิสลามหัวรุนแรง” “อิสลามแยกเอกเทศ” “อิสลามก่อการร้าย”
วาทกรรมต่างๆ ดังกล่าว มาครงจัดเต็มในสุนทรพจน์ที่กล่าวใน Les Moreaux ในเขตชานเมืองปารีสซึ่งเขาเรียกร้องให้ “เผชิญหน้ากับศาสนาอิสลามหัวรุนแรง” ที่พยายาม “สร้างรัฐคู่ขนาน” และ “ปฏิเสธคุณค่าของสาธารณรัฐ”
● “อิสลามแบ่งแยกเอกเทศ”
มาครงพูดซ้ำๆ เกี่ยวกับ”อิสลามแบ่งแยกเอกเทศ” ในฝรั่งเศส มาครงกล่าวว่า มีการนำเด็ก ๆ ออกจากโรงเรียน ไปสู่การจัดอบรม การเล่นกีฬา วัฒนธรรม และปลูกฝังความเชื่อเฉพาะสำหรับชาวมุสลิม และปฏิเสธหลักการของฝรั่งเศส เช่น ความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง
มาครงแถลงว่า จะนำเสนอแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับ “แนวโน้มการแบ่งแยกเอกเทศ” ซึ่งจะมีการส่งร่างกฎหมายดังกล่าวไปยังคณะรัฐมนตรีในต้นเดือนธันวาคม จากนั้นจึงนำไปหารือในรัฐสภาในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 นั่นคือก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2565
● นโยบายห้ามคลุมหิญาบสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรเอกชน
มาครงกล่าวว่า คำสั่งห้ามเกี่ยวกับเครื่องหมายทางศาสนาซึ่งเป็นอันตรายต่อสตรีมุสลิมที่สวมผ้าคลุมศีรษะ จะขยายไปถึงพนักงานภาคเอกชนที่ให้บริการสาธารณะ
● ห้ามแยกรายการอาหารตามศาสนาและการการแยกสระว่ายน้ำชายหญิง
มาครงกล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐจะมีอำนาจในการแทรกแซงหากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยอมอ่อนข้อให้แก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามอย่างไม่เป็นที่ยอมรับ โดยมีรายการอาหารศาสนาในโรงอาหารของโรงเรียน หรือการแยกสระว่ายน้ำชายหญิง
มาครงชี้ให้เห็นว่า ทางการพบว่า บ่อยครั้งที่โรงเรียนต่างๆ จัดการละหมาดขึ้นอย่างลับๆ ในระหว่างวันทำการในช่วงเปิดเทอม และพนักงานหญิงสวมผ้าคลุมหน้าหรือผ้าหิญาบ และเขากล่าวว่าโรงเรียนควรเป็นที่ฝึกพลเมือง ไม่ใช่ผู้ศรัทธา
● วาทกรรม “ศาสนาที่ประสบกับวิกฤติ”
และหลังจากที่เขาพิจารณาว่า “อิสลามเป็นศาสนาที่กำลังประสบกับวิกฤตทั่วโลกในปัจจุบัน”
มาครง กล่าวว่า เช่นในตูนีเซีย เมื่อ 30 ก่อน เป็นประเทศที่มีความเจริญ มีความคิดก้าวหน้า แต่ปัจจุบันกลายเป็นอิสลามหัวรุนแรง มีวิกฤติเหมือนกับในสังคมมุสลิมในฝรั่งเศส และประเทศต่างๆ ทั่วโลก
มาครงยังกล่าวว่า “กลุ่มอิสลามหัวรุนแรงนี้ มีความตั้งใจที่จะนำโครงสร้างที่เป็นระบบมาแทนที่กฎหมายของสาธารณรัฐและสร้างรัฐคู่ขนานตามค่านิยมที่แตกต่างออกไป และทำการพัฒนาองค์กรที่แตกต่างจากสังคมทั่วไป”
ในสุนทรพจน์ มาครงประกาศมาตรการหลายอย่างเพื่อป้องกัน เช่น
– การบังคับให้สมาคมใด ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐให้ลงนามในระเบียบสำหรับลัทธิฆราวาส หากละเมิดข้อตกลง จะถูกปลดออก
– กำหนดให้มีการกำกับดูแลโรงเรียนสอนศาสนาเอกชนอย่างเข้มงวด
– จำกัดการเรียนที่บ้าน-โฮมสกูล- อย่างเคร่งครัด
● การควบคุมองค์กรศาสนา
มาครงกล่าวว่า การกำกับดูแลการจัดหาเงินทุนของศาสนสถานจะได้รับการเสริมสร้างโดยการสนับสนุนให้สังคมมุสลิมเปลี่ยนระบบกลไกของพวกเขา และว่า ไม่ใช่เรื่องของการห้ามการจัดหาเงินทุนจากต่างประเทศ แต่เป็นการจัดระบบ” เขากล่าวเสริม ซึ่งจะรวมถึง “ระเบียบป้องกันการเข้ามาควบคุม” เพื่อป้องกันการเข้ายึดมัสยิดโดยกลุ่มหัวรุนแรง
มาครงยังอ้างถึงประกาศที่ออกในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อยุติการส่งอิหม่ามมาจากต่างประเทศภายใน 4 ปี
ทั้งนี้ ในฝรั่งเศสมีอิหม่าม 300 คน ที่ตุรกี โมร็อกโกและแอลจีเรีย ส่งไปยังมัสยิดในฝรั่งเศส รวมถึงการส่งผู้รวบรวมซะกาตในช่วงเดือนรอมฎอน
เพื่อให้ฝรั่งเศสสามารถชดเชยความบกพร่องนี้ได้ เอ็มมานูเอล มาครง ยืนยันว่าเขาร่วมมือกับ “สภาศาสนาอิสลามแห่งฝรั่งเศส” ซึ่งเป็นคู่สนทนาหลักของหน่วยงานภาครัฐ ในการเตรียมโปรแกรม “การฝึกอบรมอิหม่ามในประเทศของฝรั่งเศส” จะเสร็จสิ้น “ภายใน 6 เดือนอย่างช้าที่สุด”
● วาทกรรม “อิสลามฝรั่งเศส”
ประธานาธิบดีฝรั่งเศส นักการเมืองตัวแทนของยิวตระกูลรอชธ์ไชลด์ กล่าวในสุนทรพจน์ว่า เป้าหมายปลายทางของยุทธศาสตร์นี้คือ การสร้างศาสนาอิสลามฝรั่งเศส เป็นอิสลามที่ฉลาดปราดเปรื่อง
● การตอบโต้
องค์กรอิสลามได้ออกมาตอบโต้ทันควัน ทั้งสภาวิจัยอิสลามแห่งอัซฮัร สหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ สภาอุลามาอ์ยุโรป รวมถึงอุลามาอ์ดังๆอีกหลายๆท่าน ทั้งหมดล้วนกล่าวตรงกันว่า มาครงเหยียดหยามศาสนาอิสลาม สิ่งที่มาครงกระทำไม่ใช่การต่อต้านกลุ่มหัวรุนแรง แต่เป็นการกระทำต่ออิสลามโดยตรง
1,395 total views, 2 views today
More Stories
คาด ปราโบโว ซูเบียนโต ผู้นำอินโดนีเซียคนใหม่สะท้อนประชาธิปไตยอินโดนีเซียก้าวหน้ามั่นคง ต่างจากประเทศไทยแม้เปลี่ยนการปกครอง ก่อน (2475)
4 ตัวละครหลักการเลือกตั้งมาเลเซียครั้งที่15 หลังยุบสภา
รอง มทภ.4 ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานด้านกำลังพลและด้านการส่งกำลังบำรุงของหน่วยในพื้นที่ จชต. พร้อมทั้ง ติดตามความคืบหน้า การก่อสร้างฐานปฏิบัติการ กองร้อยชุดควบคุมป้องกันชายแดน ที่ 4