พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ไม่นึกฝัน “ปาตานีมีพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมอย่างเป็นทางการ”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk  ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
19 กันยายน 2563 มีโอกาสเข้าร่วมเสวนา “สุวรรณภูมิบนเส้นทางสายไหมทางทะเลเชื่อมโยงสงขลาคาบสมุทรสทิงพระสู่รัฐปัตตานี”

เวลา 09.30-17.00 น.ณ ห้องประชุม 300 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดโดย สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ช่วงท้ายทางโครงการได้นำผู้เข้าร่วมเสวนา ตามรอยประวัติศาสตร์ปาตานี/ชายแดนภาคใต้ ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาโดยที่นี่มีพิพิธภัณฑ์ที่สะท้อนวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานีจากอดีตสู่ปัจจุบันเมื่อสัมผัสแล้วรู้สึกทึ่งมากๆ และแปลกใจกับตัวเอง อันเนื่องมาจาก

มามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)วิทยาเขตปัตตานีเป็นนับร้อยครั้งไม่เคยเข้ามาที่นี่สุดยอด ย้อนประวัติศาสตร์ปาตานี เมื่อไปถึง หน้าพิพิธภัณฑ์ เจ้าหน้าที่บริการดีมากๆ ต้องยกย่อง การบริหารงานผศ.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด(ศรีงาม)ผู้อำนวยการสถาบันและเพื่อนผู้เขียนสมัยเรียนปริญาเอกวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณด้วยกันกรุณาให้เจ้าหน้าที่แนะนำ ข้อมูลต่างๆในพิพิธภัณฑ์ซึ่ง
จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้ หรือปาตานีเช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา ประเพณีวัฒนธรรม ฯลฯ จำนวน 13 ส่วน ด้วยกันกล่าวคือ

1.ภูมิลักษณ์ชายแดนใต้ /ปาตานีแสดงเนื้อหาภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานของจังหวัดชายแดนใต้/ปาตานี

2.ก่อนกาลโบราณคดีและชาติพันธุ์ จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำศิลป์ จังหวัดยะลา พบร่องรอยหลักฐานที่บ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานีดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและตามสภาพแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์ป่า

3.ประวัติศาสตร์ยุคต้น-ปาตานีดารุสลาม–รัตนโกสินทร์ มีการเคลื่อนย้ายศูนย์กลางชุมชนจากบริเวณเมืองโบราณยะรังไปยังบริเวณที่ใกล้ชายฝั่งทะเลและปากน้ำมากขึ้น ช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22 เมืองท่าปัตตานีเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของพ่อค้าโปรตุเกสและฮอลันดา สมัยรัตนโกสินทร์มีการแยกเมืองปาตานี ออกเป็น 7 หัวเมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี เมืองระแงะ เมืองรามัน เมืองยะลา

4.จัดแสดงเรื่องราวผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม อาทิ นายขาเดร์ แวเด็ง ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2536 สาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีพื้นบ้าน), นายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ นามปากกา “พนมเทียน” ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2540 สาขาวรรณศิลป์, นายเซ็ง อาบู ศิลปินดนตรีพื้นบ้านรองเง็ง ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมแห่งสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ประจำปี 2555

5.ภาษาและวรรณกรรม แสดงภาษาถิ่นที่ใช้กันในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ /ปาตานีแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษามลายูถิ่น(ปาตานี)

6.แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อาทิ เมืองโบราณยะรังอายุราว 1,300 ปี, มัสยิดกรือเซะ, ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว, มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี, อุโมงค์เบตง เป็นต้น

ส่วนที่ 7-9 นำเสนอวิถีชีวิต รวมถึงประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญในรอบปี ของชาวไทยพุทธ, ชาวไทยเชื่อสายจีน และชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูปาตานี

10.หัตถศิลป์ จัดแสดงงานหัตถศิลป์ที่มีชื่อเสียงของเมืองปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ประกอบด้วย การเขียนลายเรือกอและ ผ้าลีมา เครื่องทองเหลือง กริชและศัสตราวุธ

11.ศิลปะการแสดงและการละเล่นพื้นบ้าน นำเสนอการแสดงและการละเล่นต่างๆที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นในแบบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ /ปาตานีอาทิ หนังตะลุง โนรา มะโย่ง รองเง็ง ดีเกฮูลู

12.ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนอสถาปัตยกรรมทั้งท้องถิ่น การสร้างเรือน การทำมาหากิน เช่น การทำประมงพื้นบ้าน การทำนาเกลือ อาหารการกิน เช่น บูดู ข้าวยำ การถนอนอาหาร และขนมพื้นเมือง

13.ชายแดนใต้วันนี้ จำลองชีวิตประจำวันในตลาดท้องถิ่น เช่น ร้านน้ำชา
สำหรับ
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
เลขที่ 181 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
โทรศัพท์ : 0-7333-1250
เว็บไซต์ : http://culture.pn.psu.ac.th/
วันและเวลาทำการ
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์)

ส่วนการเดินทางได้หลายแบบเช่น
รถยนตร์ ใช้เส้นทางถนนเพชรเกษมผ่านเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่ และเดินทางต่อไปยังจังหวัดปัตตานี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,055กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัดและบริษัทเดินรถเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนีไปจังหวัดปัตตานี ทุกวัน

รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีขบวนรถด่วนและรถเร็วบริการถึงสถานีปัตตานี(โคกโพธิ์) ทุกวัน จากสถานีปัตตานี จะมีรถสองแถวบริการระหว่างอำเภอ

เครื่องบิน ไม่มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดปัตตานี แต่นักท่องเที่ยวสามารถลงที่สนามบินหาดใหญ่ และใช้บริการรถแท๊กซี่จากหาดใหญ่ไปปัตตานีได้ ระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 1.30 ชั่วโมง
ศึกษาเพิ่มเติมใน

https://www.facebook.com/PGVIoCS/

หมายเหตุดูคลิปบางส่วนที่นักเรียนมาศึกษาดูงาน
https://www.facebook.com/PGVIoCS/videos/440735953273263/?vh=e&extid=0

 1,688 total views,  2 views today

You may have missed