อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
เป็นที่ทราบกันดีว่า “การเสียชีวิต ของนายอับดุลเลาะ
อีซอมูซอ ที่ชายแดนใต้ ในมือหน่วยความมั่นคง สะเทือนทั้งในและนอกสภา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2562 (โปรดดูบทความผู้เขียนใน https://www.matichonweekly.com/column/article_223054)ปรากฏว่า 29 มิถุนายน 2563
มีข่าวจากหน้าศาลจังหวัดสงขลา ว่า “การนัดไต่สวนการตายครั้งแรกของคดีอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ไม่เปิดโอกาสให้เข้าสังเกตการณ์โดยอ้างสถานการณ์โควิด (?) ” ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะยิ่งสร้างไม่ไว้เนื้อเชื่อใจของทุกภาคส่วนต่อรัฐ และกระทบต่อกระบวนการสันติภาพในภาพรวม ดังที่ นายรอมฎอน ปันจอร์ได้ตั้งข้อสังเกตในเฟสบุ๊ค ว่า “ปริศนาการตายของเขานั้นเป็นปมและหุบเหวที่แยกถ่างระหว่างความเชื่อมั่นไว้วางใจของประชาชนต่อรัฐ รัฐไทยอาจสูญเสียโอกาสอีกครั้งในการรื้อฟื้นและทำนุบำรุงความชอบธรรมในการปกครองเหนือผู้คนและพื้นที่ และทำให้สันติสุข ที่รัฐพยายามปั้นสร้างขึ้นในหลายปีที่ผ่านมามีหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวต่อไป หากไม่มีความโปร่งใสและตรงไปตรงมาในการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตายของเขา สิ่งนี้จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งและความไม่สงบไปอีกหลายปีครับ (และอาจจะนานกว่าสถานการณ์โควิดอะไรนั่นเสียอีก) ถือเป็นกำแพงขัดขวาง กระบวนการสันติภาพ และการหาข้อยุติที่ลงตัวต่อทุกฝ่าย (ไม่ใช่แค่ กอ.รมน.) เพราะฉะนั้นคงต้องคำนวณผลได้ผลเสียให้ดี ที่สำคัญคือต้องการความกล้าหาญที่พอเหมาะพอควรด้วยครับ”
ช่อหรือพรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้าได้ตอบผู้สื่อข่าวthe Reporters ว่า “
ทำไมการร่วมสังเกตการณ์การไต่สวนการตายคดี”อับดุลเลาะ อีซอมูซอจึงมีความสำคัญ?”
“เพราะนี่ไม่ใช่แค่เรื่องของคนคนเดียว กรณีของนายอับดุลเลาะไม่ใช่กรณีแรกที่มีคนโดนทหารควบคุมตัวโดยไม่ต้องมีพยานหลักฐานใดๆ แล้วกลับออกจากค่ายในสภาพบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต การเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะคือตัวอย่างที่น่าเศร้าของคนธรรมดาที่ต้องได้รับผลกระทบจากการใช้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัด ผู้ชายวัยหนุ่มจำนวนมากในสามจังหวัดที่ถูกเจ้าหน้าที่จับเข้าค่ายไปสอบสวนโดยไม่ต้องมีการตั้งข้อหา ไม่ต้องมีหลักฐาน แค่สงสัยว่าเป็นผู้ร่วมขบวนการ เรื่องแบบนี้ทำได้เพราะการประกาศใช้กฎอัยการศึกมานานกว่า 15 ปีแล้ว จนถึงขณะนี้แม้ว่าทหารจะมีการปรับตัว และระมัดระวังมากขึ้น แต่ก็ยังมีการยังจับกุมชายวัยรุ่นในพื้นที่อยู่ เป็นการให้อำนาจทหารล้นเกินจนนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดการใช้อำนาจในทางมิชอบ และการใช้อำนาจจับกุมใครก็ได้โดยไม่ต้องมีหลักฐาน ไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม ก็มีแต่จะสร้างความหวาดระแวงและแบ่งแยกระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่”
อนึ่งThe Reporters รายงานว่า “ศาลจังหวัดสงขลาได้กำหนดวันนัดสืบพยานคดีดังกล่าว วันที่ 24-26 พ.ย. 2563 และอีกนัด วันที่ 15-18 ธ.ค. 2563 นี้
คดีดังกล่าว ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก ทนายความของนางสาวซูไมยะห์ฯ จึงได้แถลงต่อศาล ขอให้ทราบถึงความสำคัญในการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม จึงได้ขอให้ศาลจัดเตรียมห้องพิจารณาคดี ที่สามารถรองรับบุคคลภายนอกหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังคดีดังกล่าว ที่สามารถจุคนได้ ประมาน 50 คน ศาลจึงแจ้งว่า จะหาห้องให้ในนัดสืบพยานครั้งถัดไป”
iLaw กล่าวถึงความสำคัญของการไต่สวนการตายโดยศาลเป็นขั้นตอนสำหรับตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ว่ามีการใช้อำนาจโดยไม่ชอบจนเป็นเหตุให้มีการตายเกิดขึ้นหรือไม่ กรณีที่การตายเกิดขึ้นโดยเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติตามหน้าที่ หรือระหว่างอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าพนักงาน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 วรรคห้า จึงกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องมีการไต่สวนโดยศาล พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องทำสำนวนส่งให้ศาลโดยไม่มีข้อยกเว้น แม้จะพอทราบถึงสาเหตุการตายได้แล้วก็ยังคงต้องให้ศาลเป็นผู้ทำคำสั่ง จะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ไม่ได้
ดังนั้นภาพข่าววันนี้ที่อ้างสถานการณ์โควิด-19หรือภาพจำในอดีตในคดีอื่นๆโดยเฉพาะคดีตากใบซึ่งเราและท่านเคยได้เห็นวันที่บรรดาสตรีทั้งสูงอายุและวัยรุ่น หรือเป็น ญาติผู้เสียชีวิตในคดีตากใบเดินทางไปยื่นคัดค้านและขอความเป็นธรรมจากคำสั่งศาลกรณีไต่สวนการตายของผู้เสียชีวิต 78 คนในเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส ในวันจันทร์ที่ 29 มิ.ย.2552 นี้ ที่ศาลอาญา กรุงเทพฯ เป็นภาพการต่อสู้ที่พวกเขายังมีความหวังในกระบวนการยุติธรรมไทย แต่การที่ศาลไม่รับคำร้อง การที่ศาลพยายามไม่เปิดโอกาสให้เข้าสังเกตการณ์ไต่สวนการตาย
และถ้าเหตุการณ์ความไม่ยุติธรรมยังคงดำรงอยู่ ตลอดทั้งพวกเขาผิดหวังเชิงประจักษ์กับกระบวนการศาลไทยหลายๆครั้งเมื่อไร อาจจะผลักให้พวกเขาและชาวบ้านไม่ยอมรับและปฏิเสธกระบวนทางกฏหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยในที่สุดก็เป็นได้
หมายเหตุข่าวที่เกี่ยวข้อง
1. https://pataninotes.com/abdulloh-inquest/
2. https://www.benarnews.org/thai/news/TH-custody-death-06292020171344.html
1,157 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.