อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
สองบทเรียนล่าสุด ช่วงเดือนมิถุนายนนี้ สะท้อนว่า “ต้องสร้างพลังประชาชนต่อรองอำนาจรัฐและทุนเหนือรัฐ” เพื่อการอยู่รอดของสังคมชายแดนภาคใต้” ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ
สองบทเรียนดังกล่าวคือ
1.ปัญหาขุดลอกในอ่าวปัตตานี
- มีชาวบ้านร้องเรียนปัญหาขุดลอกในอ่าวปัตตานี ทำให้เกิดสันดอนทรายขนาดใหญ่ซึ่งสร้างปัญหาต่อวิถีการดำรงชีวิตชาวบ้าน
สันดอนทรายขนาดใหญ่แห่งนี้เป็นผลมาจาก “โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี” แล้วมีการนำดินทรายที่ขุดลอกเพื่อแก้ไขปัญหาการสะสมของตะกอนในอ่าวเอาไปถมไว้ ทั้งที่ในสัญญาระบุว่า จะต้องนำดินทรายไปทิ้งไว้ที่ทะเลนอก หรือในพื้นที่ห่างจากชายฝั่งอย่างน้อย 10 กิโลเมตร แต่ก็มีการอ้างว่ามีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งร้องขอให้นำไปกองไว้กลางอ่าวปัตตานีดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทางการท่องเที่ยว
ดร.อลิสา หะสาเม๊าะ เล่าว่า “โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานีก็เกิดขึ้นจากความปรารถนาดีเช่นกัน เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับเสียงร้องเรียนจากชาวบ้านว่า เรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็กเรือเข้า-ออกยากลำบาก เพราะร่องน้ำตื้นเขินมาก จึงเสนอว่าให้มีการขุดลอกเอาตะกอนที่ทับถมออก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ชาวประมงพื้นบ้านสามารถนำเรือเข้า-ออกได้ดีขึ้นแล้ว ยังเชื่อว่าจะช่วยฟื้นฟูทรัพยากรและทำให้สัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น
การขุดลอกอ่าวปัตตานีเคยมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้าน ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น สภาเกษตรกรจังหวัดปัตตานี รวมถึง อบต.ในพื้นที่รอบๆ อ่าวปัตตานีมาแล้ว โดยกลุ่มชาวบ้านเห็นด้วยและเชื่อว่าจะได้ประโยชน์ 1) ช่วยการเข้า-ออกของเรือประมง 2) ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรและสัตว์น้ำให้เพิ่มมากขึ้น 3) รายได้ของชุมชนจะเพิ่มมากขึ้นจากการท่องเที่ยว เพราะจะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชมวิวทิวทัศน์ที่งดงาม และ 4) แก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม(https://mgronline.com/south/detail/9630000065117)
หลังจากมีการร้องเรียนผ่านสื่อ หน่วยความมั่นคงออกมารับและทางกรมเจ้าท่าก็ออกมารับผิดชอบที่จะแก้ปัญหาแจ้งผ่านสมาคมประมงพื้นบ้านชายแดนใต้
โดยนายมะรอนิง สาและนายกสมาคมประมงพื้นบ้านชายแดนใต้ กล่าวว่า “เรียนเพือนๆและสมาชิกสมาคมประมงพื้นบ้านชายแดนใต้ ขอความกรุณาอย่าแชร์ทีผมลงเฟสประเด็นข้อสรุปการขุดลอกในอ่าวปัตตานี เพราะเรืองมันจบแล้ว ทางกรมเจ้าท่าได้รับปากจะช่วยเหลือ เอาเนินทรายไปทิ้ง ในระยะเวลา3เดือน ขอบคุณเครือข่ายและเพือนๆทีคอยให้กำลังใจ และเป็นห่วง”
2.เรียกร้องความเป็นธรรมที่เขาตะเว
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 63 เวลา 10.30 น. นายกูเฮง ยาวอหะซันและท่าน สส.กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ ได้นำครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่ถูกทหารพรานยิงบนเขาตะเว ที่บ้านอาแน ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ไปเข้าพบผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ที่ ภ.จว.นราธิวาส เพื่อสอบถามความคืบหน้าคดี ซึ่งครอบครัวมีความรู้สึกว่าคดีไม่มีความคืบหน้า และมีความกังวลใจว่าจะไม่ได้รับความยุติธรรม จึงได้ร้องเรียนต่อ ส.ส.และจะไปสอบถามความคืบหน้าคดีกับ ผบก.ภ.จว.นราธิวาสในวันนี้
โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 62 ซึ่ง ส.ส.จากหลายพรรคการเมืองได้มีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรแล้วหลายครั้ง แต่คดียังไม่มีความคืบหน้าใดๆปรากฎว่ากอ.รมน.ภาค 4 สน. ชี้แจง และศอ.บต.ออกมาอนุมัติเงินเยียวยา
ซึ่งกอ.รมน.ภาค 4 สน. ชี้แจงกรณี ส.ส.ประชาชาติกล่าวอ้าง เหตุยิงราษฎร 3 ศพ เขาตะเวไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา
กล่าวคือ “พ.อ. วัชรกร อ้นเงิน รองโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน. ขอชี้แจงให้สังคมได้รับทราบความคืบหน้า ดังนี้
- ด้านการอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ในห้วงที่ผ่านมา กอ.รมน.ภาค 4 สน. ได้มอบหมายให้คณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ จชต. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระจากผู้แทนของทุกภาคส่วนที่ได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่ เข้าทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระด้วยความโปร่งใสมาโดยตลอด รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้องค์กรอิสระจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งใน และนอกพื้นที่ เข้าทำการตรวจสอบคู่ขนานกันไปด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและไม่เกิดความเคลือบแคลงสงสัยของสังคม
- ด้านการดำเนินการทางคดีกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทางกองบังคับการภูธรจังหวัดนราธิวาสได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยปัจจุบันพนักงานสอบสวนได้มีการส่งสำนวนไปที่สำนักอัยการจังหวัดนราธิวาส เพื่อยื่นคำร้องขอต่อศาลไต่สวนการตายนำมาประกอบสำนวนการสอบสวนต่อไป
- ด้านการช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิต และการอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ทั้งเป็นจำนวนเงิน และทางกายภาพ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจของญาติ และครอบครัวของผู้เสียชีวิตมาโดยตลอด ดังนี้
3.1 ศอ.บต. จ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตตามระเบียบที่กำหนด รายละ 500,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,500,000 บาท
3.2 กอ.รมน.ภาค 4 สน. ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เบื้องต้นให้ครอบครัวผู้เสียชีวิต รายละ 50,000 บาท
และช่วยเหลือการจัดการศพ 40,000 บาท รวมเป็นเงิน 190,000 บาท
3.3 ฉก.นราธิวาส และ ฉก.ทพ.45 ช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมครอบครัวผู้เสียชีวิต และช่วยเหลือการจัดการศพ รวมเป็นเงิน 519,000 บาท
3.4 การอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ อาทิ
– การบรรจุทายาทตามโครงการสร้างงานจ้านงานเร่งด่วน (ลูกจ้าง 4,500)
– โควตาไปประกอบพิธีฮัจย์ (ปัจจุบันติดปัญหาโควิด19 )
– อำนวยความสะดวกในการรักษาพยาบาลให้กับญาติและครอบครัวที่มีโรคประจำตัว ณ สถานพยาบาลในพื้นที่
– เยี่ยมเยียนดูแลความเป็นอยู่และมอบเครื่องอุปโภคบริโภค
สอดคล้องกับเลขาธิการ ศอ.บต.หารือ กอ.รมน.ภาค 4 สน. หยิบ เรื่องนี้นำเข้าสู่คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนา จ.ชายแดนภาคใต้ เตรียมเคาะเยี่ยวยา 1 ล้านบาทต่อครอบครัว และช่วยการศึกษาทายาทเพิ่มเติม/อับดุลฮาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา รายงาน..http://spmcnews.com/?p=3111
จากคำตอบของกอ.รมน.ภาคสี่และศอ.บต.นั้น ยังไม่ตอบคำถามของญาติผู้เสียชีวิตว่า ทำไมคดีกับคนของรัฐช้า แต่หากญาติและส.ส.ในพื้นที่ไม่ออกมาให้ข่าว เราและท่านก็คงยังไม่ทราบว่าเรื่องดังกล่าวไปถึงไหนอย่างไร
กล่าวโดยสรุปทั้งสองเหตุการณ์นี้ที่รัฐและผู้รับผิดชอบออกมาแก้ปัญหาเพราะภาคประชาชนออกมาเคลื่อนไหวและจะเป็นอย่างนี้เป็นประจำ หรือตลอดไป? ดังนั้น
“ต้องสร้างพลังประชาชนต่อรองอำนาจรัฐและทุนเหนือรัฐ” เพื่อการอยู่รอดของสังคมชายแดนภาคใต้” ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ
962 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.