เมษายน 27, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

คดีคุกคามทางเพศสตรีหวังพึ่งประชาสังคม(สตรี)พื้นที่ชายแดนภาคใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


สำหรับ การคุกคามทางเพศที่ชายแดนภาคใต้ตามที่ข่าวได้เสนอ “แชตการสนทนาระหว่างหญิงสาว ที่กลับจากประเทศมาเลเซีย และถูกกักตัวอยู่ในสถานที่เฝ้าระวังที่รัฐจัดให้ที่โรงเรียน อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส กับ
(คนที่ถูกอ้างว่าเป็น )จนท.รัฐ โดยมีเนื้อหาการสนทนาได้ทักมาหาว่า ทักนะคนสวย กินข้าวยัง นัดเจอ ก่อนชักชวนให้มามีเพศสัมพันธ์ แต่หญิงสาวไม่ตอบ…
กระทั่งอีกวัน จนท.คนเดิมได้ทักไปหาอีกว่า “ทักคนสวย” ก่อนหญิงสาวจะตอบแชตสวนกลับว่า “พูดอะไรช่วยให้เกียรติผู้หญิงด้วย เป็นเจ้าหน้าที่ทำไมดูถูกผู้หญิงแบบนี้” แถมยังระบุว่าเจ้าหน้าที่ได้พูดแบบนี้กับทุกคน ก่อนบอกว่าตนเองมีสามีแล้ว และขอให้หยุดพฤติกรรมเช่นนี้

“เจ้าหน้าที่หนุ่มคนเดิมมาตอบว่า ถ้ามีแฟนน่ารักแบบนี้ รักตายเลย 555 ขอบคุณที่รับครับ พร้อมถามอยู่เตียงเท่าไร โดยยังพยายามสอบถามและนัดเจอหญิงสาวคนเดิม”
หลังจากนั้นทำให้หน่วยความมั่นคงออกมาสัมภาษณ์ฟังดูแล้วออกมาปกป้องคนของรัฐมากกว่าสตรีผู้ที่ถูกละเมิดดังที่

พล.ต.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ กล่าวว่า “ขอให้ผู้เสียหายนำเรื่องไปแจ้งยังผู้ดูแลสถานเฝ้าระวังโควิดที่รัฐจัด หรือแจ้งความกับตำรวจ หากเป็นเรื่องจริง ยืนยันจะไม่ปกป้องกำลังพลที่ผิดลักษณะนี้

“เป็นเรื่องที่ตรวจสอบยากเพราะไม่ระบุตัวตน แต่สั่งการให้หน่วยในพื้นที่ตรวจสอบ หากพบเป็นเรื่องจริง ถือเป็นการกระทำที่ผิดวินัยทหาร และกฏเหล็กสำหรับเจ้าที่ปฏิบัติงาน แต่ผู้เสียหายควรเปิดเผยตัวตนของผู้ที่คุกคามให้ต้นสังกัดทราบ หรือแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย เพราะหากเป็นเพียงข้อความลอยๆ โดยไม่ระบุตัวตน อาจทำให้กลุ่มไม่หวังดีนำไปขยายผลบิดเบือนโจมตีกองทัพได้”


หลังจากพล.ต.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ สัมภาษณ์ นางสาวอัญชนา หีมมีหน๊ะจากกลุ่มด้วยใจเรียกร้องว่า “
ข้อเสนอของเราคือ การตรวจสอบอย่างโปร่งใสไม่ใช่ทหารตรวจสอบผู้เสียหายตรวจสอบทหารด้วยกันเองแล้วมาบอกว่าไม่มีการกระทำนั้น

แล้วเน้นย้ำว่าการใช้แอปหาคู่ ตีตราแพร่มลทินผู้หญิงเข้าไปอีก

คือ กระบวนการตรวจสอบอย่างไรให้โปร่งใสนะคะ “
วันที่ 12 มิ.ย. นางรอซิดะห์ ปูซู ประธานเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบคู่ขนานกับรัฐเปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องการคุกคามทางเพศ หรือปัญหาการชู้สาว ที่เกิด จากเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องยอมรับว่ามีอยู่จริง แต่ไม่ได้เป็นข่าว และที่ผ่านมาเครือข่ายผู้หญิงก็ได้รับการร้องเรียนอยู่บ้าง”
13 มิถุนายน 2563 กรรมการคุ้มครองสิทธิฯชายแดนใต้ ไม่ได้นิ่งนอนใจ ลงพื้นที่ไปถึงฐานปฏิบัติการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารที่ 48 ตั้งอยู่ที่ ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส สอบถามเรื่องนี้(โปรดดู https://www.isranews.org/article/south-news/other-news/89604-chat-2.html)
กล่าวโดยสรุป
“การเรียกร้องการละเมิดสิทธิครั้งนี้
ความหวังอยู่ที่ภาคประชาสังคม(สตรี) เพราะข้อมูลเชิงประจักษ์ สังคมยังไม่ไว้วางใจรัฐโดยเฉพาะที่เป็นคดีกับหน่วยงานความมั่นคงอย่างหมู่อาร์มที่ออกมาเปิดเผยการทุจริตคอรัปชั่นหรืออื่นๆตลอดไฟใต้16 ปี”

 1,120 total views,  2 views today

You may have missed