พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

คิดนอกนอกกรอบ “ กับการเรียนออนไลน์ของศธ.”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

จากภาพข่าว ที่ (ถูกแชร์มากๆในโลกออนไลน์)
“ยายพาหลานเดินมาถามว่ามีโทรศัพท์ราคาไม่เกิน 2,000 บาท เพื่อให้หลานได้เรียนตามนโยบายการเรียนออนไลน์ของกระทรวงศึกษาธิการ”
นี่ไม่นับค่าอินเตอร์เน็ตอีก มีคำถามมากมายว่านโยบายนี้ดีหรือไม่ เช่นำตอบหนึ่งบอก ว่า “
อยากจะบอกว่านโยบายเรียนแบบออนไลน์มันดีครับ แต่บางคนที่เขาไม่มีเงินจริงๆเขาเดือดร้อน เด็กเรียนประถมส่วนใหญ่ไม่มีมือถือกันอยู่พอต้องมาเรียนออนไลน์แบบนี้ ก็ต้องเดือดร้อนผู้ปกครอง จริงอยูว่ามันเรียนทางทีวีได้อีกช่องทางหนึ่ง แต่ถ้าบ้านหนึ่งไม่มีทีวี หรือทีวีไม่พอกับจำนวนลูกหลายคนที่อยู่คนละชั้นปี เหล่านี้คือปัญหา”
ความคิดเห็นดังกล่าวสะท้อนความเลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทยโดยเฉพาะผู้ปกครองที่โดนวิกฤตโควิดครั้งนี้อีกว่า ต้องเพิ่มภาระการซื้อทีวี โทรศัพท์ มีผู้บริหารท่านหนึ่งมีนามว่า อาจารย์ดุลยรัตน์ บูยูโส๊ะ ผู้อำนวยการโรงเรียนมิฟตาฮุดดีน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา คิดนอกกรอบ กล้าประกาศให้ทางเลือกแก่ผู้ปกครอง ดังที่ท่านได้กล่าวว่า “จากกระแสเรื่องการเรียนออนไลน์ดังอยู่ในขณะนี้ กระผมในฐานะผู้บริหารสูงสุดและมีการสอบถามผู้เกี่ยวข้องเบื้องต้นแล้วขอเสนอแนวทางให้กับผู้ปกครองดังนี้
1.ทางครูประจำชั้นจะส่งลิงค์ ตารางเวลาในการเรียนให้ในกลุ่มห้องประจำชั้นและผ่าน app school brigh ขอให้ทางผู้ปกครองเลือกปฏิบัติตามความเป็นจริง ห้ามไปซื้อทีวีใหม่ โทรศัพท์ใหม่ หรือแม้กระทั่งจะติดจานดาวเทียมใหม่เพราะทางโรงเรียนไม่มีเจตนาจะสร้างผลกระทบให้กับผู้ปกครองและเราเป็นแค่ทางผ่านในการสั่งการจากพวกนั่งห้องแอร์เท่านั้นเอง
2.ทางครูผู้รับผิดชอบแต่ละหมวดวิชาของโรงเรียนจะสร้างคลิปช่วยสอนส่งไปยังช่องทางไลน์กลุ่มประจำชั้น และอาจจะอัพโหลดในแอป school brigh ด้วย ซึ่งเป็นช่องทางที่ทางครูจะเข้าถึงนักเรียนกับผู้ปกครองมากที่สุด ไม่ระบุเวลาในการดู ท่านสามารถเปิดดูตอนกลางคืนพร้อมกับนักเรียนได้เลย
ผมและคณะครูสัญญาว่าจะหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เหมาะที่สุดกับพวกเรามาปรับใช้กับรั้วมิฟตาฮุดดีน อีกอย่างช่วงวันที่ 18 พ.ค.นี้ที่เค้าให้เรียนออนไลน์ยังไม่จัดอยู่ในโครงสร้างเวลาเรียน จะนับวันเรียนคือ 1 ก.ค. ซึ่งต้องช่วยกันดุอาอ์(ขอพร)ให้สามารถเปิดเรียนได้ปกติด้วยครับ อามีน”

ในขณะ อาจารย์ชากิรีน สุมาลี ผู้บริหารโรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ความสำคัญในการคิดนอกกรอบเพื่อลดความเลื่อมลำ้ ใช้กระบวนการที่หลากหลายในจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียน ความหลากของผู้ปกครอง มีการสำรวจความพร้อมของทุกภาคส่วน ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ครู โดยท่านให้ทัศนะว่า “
จากการสำรวจความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ทางไกลของนักเรียนโรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ พบว่า นักเรียนที่มีความพร้อมในการเรียนรู้ทางไกลประมาณร้อยละ ๘๐ มีความพร้อมน้อย – ไม่มีความพร้อมประมาณร้อยละ ๒๐ ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป
ทางโรงเรียนจึงไม่สามารถทำให้นักเรียนนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมร้อยละ ๒๐ มาหยุดการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความพร้อมร้อยละ ๘๐ ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า โรงเรียนจะปล่อยทิ้งนักเรียนร้อยละ ๒๐ ไว้ข้างหลังโดยไม่ใส่ใจ
ด้วยเหตุนี้ การเรียนทางไกลตั้งแต่วันที่ ๑๘ พ.ค.ถึง ๓๐ มิ.ย.๖๓ จึงเป็นเพียงแค่การทดลองเรียนทางไกล เพื่อศึกษาสภาพปัญหาโดยการนำข้อมูลของนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมมาแก้ปัญหา ในกรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ยังไม่กลับคืนสู่ภาวะปกติ นักเรียนยังไม่สามารถกลับคืนสู่ห้องเรียนได้ ในสภาวกสารณ์เช่นนั้นการเรียนรู้ทางไกลแบบเต็มรูปจะต้องถูกนำมาใช้จริง หลังจากเปิดภาคเรียนในวันที่ ๑ ก.ค.๒๕๖๓


ดังนั้น ทางโรงเรียนจึงขอแจ้งให้ทางผู้ปกครองได้ทราบว่าอย่าได้กังวลกับการเรียนทางไกลในช่วงวันที่ ๑๘ พ.ค. – ๓๑ มิ.ย.๒๕๖๓ เพราะทางโรงเรียนได้เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการเรียนรู้ทางไกลแล้ว และในช่วงเวลาดังกล่าว ทางโรงเรียนจะส่งคุณครูทุกระดับไปเยี่ยมเยี่ยมนักเรียนถึงบ้านเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและประเมินผลการเรียนทางไกลของนักเรียนเป็นระยะ ๆ ในกรณีที่นักเรียนอยู่ต่างจังหวัด หรือต่าง อำเภอ ทางคณะครูจะใช้การสื่อสารในช่องทางอื่น ๆ ที่จะติดต่อกับนักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและประเมินผลการเรียนทางไกลของนักเรียนเช่นกัน
ประเด็นที่ทางโรงเรียนต้องขอความร่วมมือกับทางผู้ปกครอง มีดังนี้
๑.ขอให้ผู้ปกครองช่วยดูแลติดตามการเรียนรู้ของเด็กเป็นระยะ ๆ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับหรือฝืนให้เขาต้องอยู่หน้าจอทีวีหรือคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ในกรณีเด็กเล็ก ควรปล่อยให้เขาได้เล่น ได้ใช้ชีวิตตามวิถีของเด็ก ๆ
๒. ขอให้ผู้ปกครองได้ร่วมกับคุณครูในการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
๒.๑ ในกรณีนักเรียนระดับปฐมวัย – ประถมศึกษา ให้ผู้ปกครองได้รายงานผลให้กับคุณครูประจำชั้น หรือ ประจำวิชา ผ่านช่องทางที่โรงเรียนกำหนด เช่น ช่องทางกลุ่มไลน์ หรืออื่น ๆ
๒.๒ ในกรณีนักเรียนระดับมัธยม ฯ ม.๑ – ม.๖ มอบหมายให้นักเรียนได้ทำงานบ้าน หรือช่วยประกอบอาชีพตามวิถีของแต่ละครอบครัว และให้นักเรียนส่งงานให้คุณครูทางระบบห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) ทางโรงเรียนได้เตรียมไว้ให้
๒.๓ ขอให้ผู้ปกครองช่วยดูแลนักเรียนให้อยู่กับบ้านไม่ไปมั่วสุมกับอบายมุข หรือสิ่งมึนเมาต่าง ๆ

ทางโรงเรียนจึงแจ้งมาเพื่อให้ผู้ปกครองอย่าได้กังวลใจ และเพื่อขอความร่วมมือผู้ปกครอง ขอดุอาอ์ให้อัลลอฮฺได้คุ้มครองพวกเราพ้นจากวิกฤติในครั้งนี้และกลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว “
นี่คือสองผู้บริหารโรงเรียนที่กล้าคิดนอกกรอบ
เพราะเรากำลังต้องการ ผู้บริหารคิดนอกกรอบ กับนโยบาย สั่งการจากห้องแอร์ “จากศูนย์อำนาจกทม.
หรืออีกทฤษฎีหนึ่งฉีกนอกกรอกเพื่อความเท่าเทียมเรียนพร้อมกัน

อาจไม่ต้องออกแบบมากสำหรับหลายๆคน ปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่ มาร่วมคิดกับครูทุกวิชา ลองให้เด็ก อธิบาย อย่างไร พูด เขียน วาดรูป หรืออื่นๆ แล้วน่าที่ครูประเมินนักเรียนให้ได้ตามสภาพความเป็นจริง ในการเรียนรู้ ศตวรรษ 21 วิชาศาสนา ก็ลองไปดูว่าตอบโจทย์ อีหมาน อิสลาม อิหซาน อามัลอีบาดัตอย่างไรภาวะไม่ปกติกับปกติ หลักตะวักกัลใช่อย่างไร เป็นต้น
หมายเหตุ
จากใจผู้ปกครอง โพสต์ระบายความเดือดร้อน เรียนออนไลน์ วอนฝากผอ. ยื่นถึงศธ. วอนเข้าใจถึงผลกระทบหลายด้านของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_4145983

 1,054 total views,  2 views today

You may have missed