พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

New Normal วิถีมุสลิม 10 วันสุดท้ายรอมฎอนช่วงโควิด-19 สถานการณ์เปลี่ยนแต่จิตวิญญาณไม่เปลี่ยน

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)  Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


อะไรคือความสำคัญของสิบวันสุดท้ายของรอมฎอน

ในช่วงวันที่ 13-22 พฤษภาคม 2563เป็นช่วงเวลาที่ชาวไทยมุสลิมและมุสลิมทั่วโลกกำลังถือศีลอดใน 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน

การถือศีลอดและปฏิบัติศาสนกิจในช่วงนี้จะมีความเข้มข้นทั้งกลางวันและกลางคืน (โดยเฉพาะกลางคืน)

หลักปฏิบัติจริงๆ ในช่วงท้ายของเดือนรอมฎอน ได้แก่

1.การเอี๊ยะติกาฟ (การพำนักในมัสยิด) หมายถึง การพำนักอยู่ในมัสยิดโดยมีเจตนาปฏิบัติศาสนกิจต่ออัลลอฮฺเจ้า เพื่อปลดปล่อยตัวเองให้หลุดพ้นจากความสับสนวุ่นวายในสังคม เป็นการขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ หากปีปกติ ไม่ใช่ช่วงโควิด-19 เหมือนปีนี้

ในจังหวัดชายแดนใต้จะมีหลายมัสยิดจัดกิจกรรมดังกล่าว แต่ที่มีชื่อเสียงมีอยู่ไม่เกิน 10 แห่ง เช่น ที่มัสยิดอิบาดุรเราะมาน บ้านปูยุด อ.เมืองปัตตานี ภายใต้การอำนวยการของ อาจารย์ ดร.อิสมาอีลลุตฟีย์ จะปะกียา (อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี) และมัสยิดศูนย์ดะห์วะฮฺยะลา เพราะมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ทั้งให้ความรู้ด้านวิชาการ การปฏิบัติศาสนกิจ และระบบสาธารณูปโภค

ทั้งสองแห่งนี้จะมีผู้มาร่วมไม่ต่ำกว่าหมื่นคนจากทุกจังหวัดและผู้คนทุกสาขาอาชีพ แม้แต่ข้าราชการมุสลิมก็ยอมใช้สิทธิลาพักร้อนในช่วงนี้ เพื่อร่วมกิจกรรมดังกล่าว
แต่เมื่อปีนี้ ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา รวมทั้งผู้นำมัสยิดอื่นๆก็ได้ประกาศแล้วให้ ทุกคนสามารถทำกิจกรรมนี้ที่บ้าน โดยจัดมุมเฉพาะ ที่เราละหมาด ทำอิบาดะห์เป็นประจำ จะเรียก มัสยิดของบ้าน มุศอลลาห์ของบ้านและสอดคล้องกับคำวินิจฉัย(คำฟัตวา )อุลามาอ์ปราชญ์โลกมุสลิม เช่นสถาบันอัลอัซฮัร ของอียิปต์ ถือเป็นNew Normal การเอียะติกาฟ
(หรือผู้รับผิดชอบมัสยิดจะมอบหมายให้ใครสักคนที่มีจิตอาสาทำเอียะติกาฟที่มัสยิดเพื่อกิจกรรมของมัสยิดดังกล่าวมิได้ขาดตอนในทุกๆปีเพราะทำแค่คนเดียวในมัสยิด)

2.การละหมาดช่วง 10 วันสุดท้ายจะมีอยู่ 2 ช่วงที่สำคัญคือ

– ละหมาดตะรอเวี๊ยะ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.50 -21.30 น. (ความเป็นจริงการละหมาดดังกล่าวกระทำมาตั้งแต่ต้นเดือนรอมฎอน แต่จะเข้มข้นมากขึ้นในช่วง 10 วันสุดท้าย ถูกบัญญัติให้ละหมาดรวมกันเป็นญะมาอะฮฺ หรือรวมกันที่มัสยิดในปีที่ผ่านๆมาแต่ปีนี้ทุกคน ทุกครอบครัวรวมละหมาดที่บ้าน)

– ละหมาดตะฮัจยุด ตั้งแต่เวลาประมาณ 02.00- 04.30 น. (ช่วงกลางดึกถึงรุ่งอรุณ) ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา จะไปละหมาดและปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิดในปีที่ผ่านๆมาแต่ปีนี้ก็สามารถทำที่บ้านกับครอบครัวในที่ๆเราเอียะติกาฟเช่นกัน)อีกครั้งหนึ่ง การละหมาดทั้งสองช่วงจะมีผู้คนมากที่สุดในคืนที่ 27 ของเดือนรอมฎอนเพื่อให้ได้คุณค่าของลัยลุตุลกอดัร (แต่ปีนี้เราไม่มีโอกาสเพราะต้องละหมาดที่บ้านอย่างไรก็แล้วแต่คุณค่ามิได้ลดไปหรืออาจจะมากกว่าเพราะ ช่วยตัวเอง ช่วย ครอบครัว ช่วยชุมชน ในการป้องกันโควิด-19)

คำว่า “ลัยลุตุลกอดัร” หมายถึงค่ำคืนหนึ่งที่พระเจ้าได้เลือกให้เป็นค่ำคืนที่มีความประเสริฐในช่วงสิบคืนหลังของเดือนรอมฏอน อันเนื่องมาจากพระองค์ได้ดำรัสความว่า แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลก็อดร และอะไรเล่าจะทำให้เจ้ารู้ว่าคืนอัลก็อดรฺนั้นคืออะไร คืนอัลก็อดรนั้นดีกว่า 1,000 เดือน บรรดามะลาอิกะห์ และอัลรูฮ (ญิบรีล) จะลงมาในคืนนั้น โดยอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขา เนื่องจากในกิจการทุกสิ่งคืนนั้นมีความศานติสุขจนกระทั่งรุ่งอรุณ (ซูเราะห์อัลก็อดรฺ)

บรรดานักวิชาการโลกมุสลิมในอดีตมีทัศนะที่แตกต่างกันหลายทัศนะว่าคืนใดจะตรงกับค่ำคืนดังกล่าว แต่นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องว่ามันอยู่ในช่วง 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฏอน เพราะท่านศาสนทูตมุฮัมมัดได้กล่าวไว้ความว่า พวกท่านจงแสวงหามัน (หมายถึงคืนลัยละตุลกอดรฺ) ในช่วงสิบคืนสุดท้าย (วจนะศาสนทูตบันทึกโดย บุคอรีย์ 2018 มุสลิม 1167)

และบรรดานักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่า “ลัยละตุลกอดรฺ” นั้นจะเกิดในคืนคี่ แต่นักวิชาการบางท่านมีความเห็นว่า “ลัยละตุลก็อดรฺ” นั้นคือค่ำคืนที่ 27 ซึ่งเป็นทัศนะของบรรดา ซอฮาบะห์ กลุ่มหนึ่ง โดยที่ท่าน อุบัย บิน กะฮบฺ (โปรดดูวจนะศาสนทูตในซอเอียะ มุสลิม 762 / อัตติรมีซีย์ 3351)

นี่คือหลักปฏิบัติของอิสลามพอสังเขป ช่วง10 คืนสุดท้ายอันเป็น New Normal ในวิถีชีวิตของชุมชนมุสลิมภาคใต้หรืออื่นๆที่จะต้องปรับตัว
หมายเหตุ
การเอียะติกาฟในสถานการณ์ Covid-19 เราต้องทำอย่างไร ?

 1,421 total views,  2 views today

You may have missed