พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

แนะนำหนังสือ “ซะกาต จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ: สวัสดิการชุมชนชายแดนภาคใต้” เพื่อนำไปปฏิบัติช่วงโควิด-19

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)  Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงจากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับระบบซะกาตในอิสลาม การจัดเก็บซะกาตในสมัยอดีต และถอดบทเรียนการจัดเก็บซะกาตในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้อันเป็นแนวคิดหนึ่งในการให้สวัสดิการชุมชน ซึ่งเป็นทุนทางสังคมอันมีค่าในหลักการอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยทุนทางสังคมดังกล่าวทำให้โครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งได้รับงบสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) นำแนวคิด สวัสดิการชุมชนด้วยระบบซะกาต มาขับเคลื่อนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552-2555)

ซะกาตเป็นการสังคมสงเคราะห์ภาคบังคับ ไม่ใช่การบริจาคตามสมัครใจ
ช่วงโควิด-19 ปีนี้ตรงกับช่วงรอมฎอนพอดี และมีซะกาตหนึ่งที่หัวหน้าครอบครัวจะต้องจ่ายที่เรียกว่า ซะกาตฟิตเราะฮ์ ซึ่งโดยปกติจะจ่ายกันวันอีดหรือก่อนอีกวันสองวัน อย่างไรก็แล้วแต่เมื่อปีนี้ประชาชนเดือดร้อนมากๆก่อนถือศีลอดเดือนรอมฎอนเสียอีกให้ทำให้สำนักจุฬาราชมนตรีเอง ผู้นำศาสนาหลายคนสนับสนุนให้รีบจ่ายตั้งแต่ต้นเดือน
อย่างไรก็แล้วแต่ ซะกาตฟิฏเราะฮ์เป็นส่วนหนึ่งของระบบซะกาต ที่เป็นองค์ประกอบหลักของศาสนาอิสลาม หากว่าสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ ตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์กฎหมายอิสลาม ก็จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆตามเจตนารมณ์ของการบัญญัติซะกาตได้

นอกจากซะกาตฟิฏเราะฮ์แล้ว ในเดือนรอมฏอน ควรถือเป็นโอกาสจ่ายซะกาตประเภทอื่นๆประจำปีของมุสลิม เพราะนอกจากจะได้ผลบุญคุณค่าของการจ่ายซะกาตแล้ว ยังจะได้ผลบุญคุณค่าของการทำความดีในเดือนรอมฎอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 10 วันสุดท้าย ที่อาจได้ผลบุญทวีคูณ 1,000 เดือน หากว่าได้จ่ายซะกาตตรงกับค่ำคืนลัยละตุลกอดร์

ดังนั้นหวังหนังสือเล่มนี้ จะเป็นผลงานทางวิชาการอีกเล่มหนึ่งที่ผู้อ่านสามารถอ่านที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อตนเอง หรือองค์กร
หนังสือนี้มีด้วยกัน 5 บทคือ บทที่ หนึ่ง บทนำ บทที่สอง แนวคิด ซะกาตกับสวัสดิการชุมชน บทที่สาม การจัดระบบซะกาตในสมัยอดีต บทที่สี่ การนำทฤษฎีสู่ปฏิบัติในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ บทที่ห้า สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะจากชุมชนสู่นโยบายสาธารณะ
อ่านเพิ่มเติมฉบับเต็มได้ที่
http://k4ds.psu.ac.th/k4ds_search/pdf/books/1286.pdf

 2,050 total views,  2 views today

You may have missed