ดร.นพ.มูฮัมมัดฟะฮ์มี ตาเละ หมอคนดังผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดวิทยามุสลิมชายแดนภาคใต้ ได้เขียนเฟสบุ๊คส่วนตัว อธิบายข้อเรียกร้อง ของ มุสลิม ส่วนหนึ่ง ว่าเมื่อไหร่ มัสยิดจะเปิด ทั้งๆที่มีข่าวว่า ตลาดเปิดแต่มัสยิด ปิด ท่านกรุณา อธิบายว่า “
อีกสักพัก สถานที่ต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นรองจากความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ จะเปิดทำการอีกครั้ง
สถานที่เหล่านี้เช่น
โรงภาพยนต์ ห้างสรรพสินค้า ร้านตัดผม ร้านอาหาร
จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง
ทุกแห่งที่กล่าวมา มีการเตรียมความพร้อมหากต้องกลับไปให้บริการอีกครั้ง
ตลาดก็คิดวิธีไปก่อนแล้ว
ห้างที่กำลังจะเปิด ก็มีวิธี ที่เตรียมไว้
เครื่องบิน ตอนนี้หลายสายการบิน เริ่มออกแบบชุดป้องกันโรค
มีมาตรการข้อบังคับในการเว้นที่ว่างระหว่างผู้โดยสาร เตรียมสำหรับการกลับไปใช้ชีวิตปกติ
มัสยิดจะถูกจัดในหมวดสถานที่กลุ่มนี้ด้วย
ตอนนี้มีคำถามมามาก ว่าเมื่อไหร่มัสยิดจะกลับไปใช้งานได้อีก
คำตอบของผมคือ คงเร็ว ๆ นี้ ใกล้มาก ๆ
สำหรับมัสยิดที่อยู่นอกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การให้คนกลับไปทำกิจกรรมที่มัสยิด น่าจะมีความเสี่ยงพอ ๆ กับการเปิดห้าง ขึ้นรถสาธารณะ เข้าตลาด ที่กำลังจะเกิดขึ้น
แต่สำหรับสามจังหวัด อาจจะต้องรอความคลี่คลายจากการสำรวจล็อตใหญ่ในสามสี่อำเภอ ของทั้งสามจังหวัดก่อน (รือเสาะ ทุ่งยางแดง ยะหา บันนังสตา)
แต่สิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งก่อนที่เราจะกลับไปใช้มัสยิดทำกิจกรรมเช่นที่ผ่านมาอีก นั่นคือ การเตรียมความพร้อม ที่จะลดความเสี่ยง เหมือนที่ทางห้างร้าน สายการบิน หรือ หน่วยงานอื่น ๆ ที่เตรียมการกลับมาเปิดบริการปกติ ได้วางแผนเอาไว้
สถานที่อย่างอื่น มีผลกำไรขาดทุนซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เป็นสิ่งที่บังคับให้เจ้าของสถานที่ต้องเข้มงวดกับมาตรการการป้องกันการแพร่โรค
ในทางตรงกันข้าม ศาสนสถานไม่ได้มีหัวใจหลักเป็นเรื่องการดำเนินธุรกิจ แต่หัวใจหลักที่ดึงดูดคนเข้ามานั่นคือความศรัทธาของผู้คน สิ่งหนึ่งที่ผมกังวลคือ การแปลความว่าความศรัทธาคือการไม่กลัวสิ่งใดนอกจากพระเจ้า (ไม่กลัวโควิด ไม่ละหมาดที่มัสยิดเท่ากับกลัวโควิดมากกว่าอัลลอฮ เป็นต้น) ซึ่งอาจทำให้การระมัดระวังของทั้งผู้ดูแลสถานที่ และ ผู้ใช้สถานที่นั้นลดลง
ก่อนจะเปิด เราต้องมั่นใจ ว่าเรามี “ระบบ” ที่ดีพอ ที่จะลดความเสี่ยงทั้งหมดได้
เหมือนกฎหมายอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน
ก่อนจะเกิดอุบติเหตุบนท้องถนน เรามีกฎหมายกำกับมากมายเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
เช่น
มีกฎหมายกำหนดสเปคของถนน ว่าต้องกว้างเท่าไหร่ หนาเท่าไหร่ มีเส้นที่เห็นได้ชัด
มีกฎหมายกำหนดคุณภาพของรถ ต้องตรวจสภาพทุกปี
คนขับต้องมีใบขับขี่
คนขับต้องไม่เมา
มีกฎหมายจราจรอีกหลายร้อยข้อบนท้องถนน
ทั้งหมดทั้งมวล เพื่อเป็นมาตรฐานว่า ผู้ดูแลสังคม เอาใจใส่อย่างเต็มที่แล้ว ในการลดความเสี่ยงให้มีอุบัติเหตุน้อยที่สุด
แต่สุดท้ายมันก็เกิดอยู่ดี แต่เมื่อเกิดแล้ว หากผู้ดูแลสังคมทำทุกอย่างอย่างไม่บกพร่องแล้ว ผู้ดูแลสังคมมีความชอบธรรมที่จะบอกว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความควบคุม เช่นนี้ ก็ถือว่าพ้นความรับผิดชอบไปได้
มัสยิดจะได้กลับมาเปิดแน่ ๆ (อินชาอัลลอ)
นั่นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีข้อเสนอที่รัดกุมอย่างนี้ก่อน”
หมายเหตุโปรดดูข่าวการปรึกษาหารือระหว่างสมาคมจันทร์เสี้ยวกับตัวแทนคณะกรรมการอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้
https://www.facebook.com/824606444300576/posts/2964984846929381/?d=n
1,034 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.