พฤษภาคม 9, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

การทำความดีช่วงCovid-19 :ระหว่างความรู้สึกกับความเป็นจริงที่เราอาจจะไม่รู้และความท้าทายในการสื่อสาร

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)  Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

วันนี้ 24 เมษายน 2563 ศุกร์ที่4 (ถ้าจำไม่ผิด)ที่เรามิได้ละหมาดญุมอัต วันนี้เป็นคืนที่สองของเดือนรอมฎอน ที่เรามิได้ละหมาดตะรอเวียะห์รวมที่มัสยิด มีหลายเสียงของชาวบ้านเช่นกล่าวว่า
“ละหมาดละที่บ้าน มันรู้สึกไม่ชิน รู้สึกไม่เท่าละหมาดรวมกันตามอิหม่าม” มีเสียงเรียกร้องมากจนทำให้คณะกรรมการอิสลามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องทำหนังสือถึงจุฬาราชมนตรีให้ขอให้พิจารณาผ่อนปรนคำสั่งสำนักจุฬาราชมนตรีเรื่องมาตราการต่างๆโดยมีเงื่อนไข(กรุณาอ่านในหนังสือถึงสำนักจุฬาราชมนตรีและเมื่อพิจารณาเงื่อนไขต่างๆแล้วยากที่ชุมชนจะทำได้ครบ)ท่ามกลางยอดตัวเลขของจังหวัดปัตตานี ยะลา และสงขลาติด1/5และ1/10 จังหวัดมีผู้ติดเชื้อCovid-19สูงสุด และวันนี้เจอเพิ่มอีก 2 รายที่จังหวัดยะลา
เหล่านี้คือความรู้สึกคนที่รักและผูกพันธ์กับศาสนาด้วยชีวิตจิตใจย่อมจะเข้าใจความรู้สึกได้โดยเฉพาะมาเจอเดือนรอมฎอนด้วยยิ่งแล้วใหญ่” นี่คือความท้าทายสำหรับผู้รู้ว่าจะสื่ออย่างไรว่า “ระหว่างความรู้สึกกับหลักศาสนานั้นมันไม่สามารถเอาเป็นเกณฑ์ได้” ความท้าทายอีกข้อคือจะอธิบายอย่างไรว่า ที่เราอดทนทำที่บ้านนั้นได้ผลบุญมิได้ลดหย่อน หรืออาจจะมากด้วยซำ้กับทำที่มัสยิดในภาวะปกติ อาจจะด้วยปัจจัย ที่ต้องอดทน ทำด้วยตนเองปลีกวิเวก ทำร่วมกับครอบครัวในฐานะหัวหน้าครอบครัว ทำเพื่อรักษาหมอ พยาบาล คนรอบข้าง คนในชุมชน คนในศาสนิกเดียวกันหรือต่างศาสนิก และที่สำคัญสุดตามคำสั่งผู้นำที่ศาสนารับรองและอื่นๆ


ในขณะเดียวกันการทำความดีในช่วงCovid-1 9แบบนี้มีหลายส่วนสามารถย้อนรอยเหมือนสมัยนบี นบีกลับไปละหมาดตะรอเวียะห์ที่บ้านกับครอบครัว นบีกินอาหารละศีลอดง่ายๆ ดังนั้น

“สิ่งที่อยากให้ทุกคนดู 2 คลิปนี้จบแล้วอ่านบทความดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด ระหว่างความรู้สึกกับศาสนาแล้วท่านเข้าใจว่า ผลบุญและคุณค่าเดือนรอมฎอนในช่วงวิกฤติไม่ได้หายตามความรู้สึกเราเลย”

1.คลิปจากต่างประเทศ

https://www.facebook.com/1245604111/posts/10222572138192594/?d=n
2. คลิปของบาบอแอ เสอร์ปันยัง (พูดชัด)หากมัสยิดไหนแอบละหมาดก็ไม่ตามผู้นำ(จุฬาราชมนตรี)การไม่ตามผู้นำแม้แต่จะทำอิบาดะห์ยามาอะห์ก็ไม่ได้

3.บทความของดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด

#รอมฎอนกับCovid-19

● ระหว่างความรู้สึกกับตัวบททางศาสนา

มาตรการปิดมัสยิดช่วงเดือนรอมฎอน ทั้งมัสยิดหะรอมมักกะฮ์ มาดีนะฮ์ มัสยิดอักซอ และมัสยิดในโลกมุสลิมส่วนใหญ่ อาเซี่ยน รวมถึงมัสยิดในประเทศไทย หลายคนกระอักกระอ่วน

ทั้งๆ การปิดมัสยิดเพื่อปกป้องรักษาชีวิต เป็นไปตามบทบัญญัติอิสลาม

การละเมิดมาตรการเหล่านั้น ถือเป็นการกระทำสุดโต่งที่อาจจะนำไปสู่ความพินาศทั้งในโลกนี้และอาจส่งผลต่อโลกหน้า

ชัยค์บะชีร บินหัซซาน จากตูนีเซีย กรรมการสหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ กล่าวว่า

“พวกเขาไม่ทราบหรือว่า ผู้ที่ฟัตวาให้ปิดมัสยิดนั้น นำโดยนักวิชาการมุสลิมชั้นนำในทุกภาคส่วนของโลก เช่น นักวิชาการสหพันธ์อุลามามุสลิมนานาชาติ -IUMS และนักวิชาการของคูเวต เลบานอน อียิปต์ และอื่น ๆ

นักวิชาการเหล่านั้นจะไม่ทราบหรือว่าพวกเขาฟัตวาอะไรออกไป !!

นักวิชาการเหล่านั้นไม่ได้มีความรู้มากกว่า เคร่งศาสนาหรือกระตือรือร้นต่อความดีมากกว่าดอกหรือ !!

คนเหล่านี้ไม่ทราบหรือว่า พวกเขาละเมิดซุนนะฮ์ ฐานไม่ละหมาดที่บ้านในเวลาที่จำเป็น และฐานปฏิเสธหลักการของอัลลอฮ์ในกรณีข้อผ่อนปรน ที่ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศอลฯ กล่าวว่า

إن الله يحب أن تؤتى رخصه كما يحب أن تؤتى عزائمه

“แท้จริง อัลลอฮ์รักให้ปฏิบัติในข้อผ่อนปรนของพระองค์ เหมือนกับที่รักให้ปฏิบัติตามหลักเดิมของพระองค์” [หะดีษรายงานโดยบุคอรีและมุสลิม]

ข้อผ่อนปรนก็เป็นหลักการศาสนาเช่นเดียวกับหลักเดิม
การปฏิเสธข้อผ่อนปรนจึงถือเป็นความสุดโต่งต่อศาสนา

ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศอลฯ กล่าวว่า
“هلك المتنطعون
هلك المتنطعون
هلك المتنطعون”
“พวกสุดโต่งย่อมหายนะ
พวกสุดโต่งย่อมหายนะ
พวกสุดโต่งย่อมหายนะ” [หะดีษรายงานโดยมุสลิม]

คนเหล่านี้ไม่ทราบหรือว่า การไม่เอาข้อผ่อนปรน จะทำให้ตกอยู่ในฐานะผู้ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮ์”

@ อ่านบทความฉบับเต็ม

https://m.facebook.com/groups/422133821263587?view=permalink&id=2080556655421287

 1,165 total views,  2 views today

You may have missed