“รอมฎอนช่วงCovid-19:ทำเท่าทำได้ แต่ทำด้วยจิตวิญญาณ “
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
เวลา 19.45 ของวันที่
23 เมษายน 2563จุฬาราชมนตรีประกาศ เริ่มถือศีลอดรอมฎอน ฮ.ศ.1441 ในวันศุกร์ ที่ 24 เมษายน 2563 หมายความว่านับตั้งแต่นี้อีก 29 ถึง30 วัน (24 เมษายน -23 พฤษภาคม 2563 )
เนื่องในวโรกาสแห่งเดือนรอมฎอนอันประเสริฐนี้ได้เวียนกลับมาอีกครั้ง..ขออวยพรให้ทุกท่านมีสุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง พ้นภัยCovid-19 เพื่อปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะห์ ศาสนบัญญัติในเดือนนี้อย่างครบถ้วน..และขอวิงวอนต่ออัลลอฮ์ พระเจ้าผู้ทรงเอกกะทรงได้โปรดตอบรับอะมั้ลอิบาดะห์ ความดี และดุอาอฺ(ขอพร)ของทุกท่านอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ด้วย..อามีน
แม้ในปีนี้อาจเป็นปีแรกปีเดียวที่ชั่วชีวิตมนุษย์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกอาจเป็นการถือศีลอดที่แตกต่างจากทุกปีเพราะวิกฤติ Covid-19 ตามที่ทราบกันดี อย่างไรเราก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน
1-ศีลอดคืออะไร
บรรดานักปราชญ์อิสลามได้ให้คำจำกัดความของการถือศีลอด (นิยามในภาษาอาหรับ) ไว้ว่า “การถือศีลอดหมายถึงการงดเว้นจากการบริโภค การละเมิดกฎกติกามารยาทและการปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำนับตั้งแต่แสงรุ่งอรุณจนถึงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า(เวลากลางวัน)” อยู่ในประมาณ เวลา 04.40 น.- 18.25น.(แล้วแต่พื้นที่อาจแตกต่างกันบวกลบ10 นาที)
2-กฎกติกามารยาทมีดังนี้
– เงื่อนไขของการถือศีลอด 1.นับถือศาสนาอิสลาม 2.บรรลุนิติภาวะ 3.มีความสามารถถือศีลอดได้ 4.มีสติสัมปชัญญะ 5.ไม่ใช่ผู้เดินทาง
– เงื่อนไขของการถือศีลอดที่ใช้ได้ 1.นับถือศาสนาอิสลาม 2.มีสติสัมปชัญญะ 3.ไม่มีประจำเดือน หรือเลือดหลังคลอด 4.การตั้งเจตนาด้วยความบริสุทธิใจ
– ความจำเป็นที่สามารถอนุโลมไม่ต้องถือศีลอดได้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติ 1.เดินทาง 2.ป่วย (ที่นำมาซึ่งความหายนะต่อร่างกายเช่น Covid-19) 3.หิวหรือกระหายจนเกินไป 4.ถูกบังคับ 5.ผู้ที่ทำงานหนัก 6.ผู้ที่ต้องการช่วยคนอื่นที่กำลังประสบอันตรายเช่นจมน้ำ 7.ตั้งครรภ์ 8.คนที่ให้นมลูก 9.คนชรา (โดยผู้ที่ได้รับการอนุโลมไม่ให้ถือศีลอดในกรณีดังกล่าวทั้ง 6 ข้อแรกต้องถือศีลอดชดเชยภายหลังส่วน บุคคล 3 กลุ่มหลังดังกล่าวสามารถเลือกระหว่างการถือศีลอดชดเชยและจ่ายทานชดเชยกล่าวคือ บริจาคอาหารให้คนจนจำนวน 1 มื้อ ต่อ 1 วันที่ขาดไป)
– สิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะและจำเป็นต้องชดเชยนั้นได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ 1.เจตนาบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม (โดยไม่มีความจำเป็นทางศาสนา) 2.เจตนาทำให้น้ำอสุจิหลั่งออกมา (จะด้วยวิธีใดก็ตาม) 3 .เสียสติ (โดยเป็นบ้าเป็นลมหรือสลบ) 4.เจตนาทำให้สิ่งใดล่วงล้ำเข้าไปภายในอวัยวะที่เป็นรู (เช่นหู จมูกทวารหนักและทวารเบา) 5.เจตนาทำให้อาเจียน 6.ปรากฏมีเลือดประจำเดือน(หัยฎฺ)และเลือดหลังคลอด (นิฟาส) 7.มุรตัด(สิ้นสภาพการเป็นมุสลิม)
– สำหรับผู้ที่เจตนาร่วมประเวณีในเวลากลางวันนั้นบุคคลดังกล่าวจะต้องถือศีลอดชดเชยพร้อมกับการขอไถ่โทษและถูกประจาน (ประกาศให้คนในชุมชนรู้) โดยกระบวนการขอไถ่โทษนั้นจะต้องปฏิบัติดังนี้ปล่อยทาสหญิงให้เป็นอิสระ 1 คน หรือหากไม่มีความสามารถจะต้อง ถือศีลอดชดเชย 2 เดือนติดต่อกัน หรือหากไม่มีความสามารถอีกก็จะต้อง บริจาคอาหารแก่คนยากจน 60 ทะนาน จำนวนคนละ 1 ทะนาน
-สิ่งที่พึงกระทำในการถือศีลอด 1.รับประทานอาหารมื้อที่2(ประมาณเวลา02.00น.-04.30น.)ให้ช้าที่สุด 2 .รีบละศีลอดด้วยอินทผาลัมก่อนละหมาดมัฆริบ 3. ไม่แปรงฟันหลังเวลาเที่ยง 4.บริจาคทาน 5.อ่านคัมภีร์อัลกุรอาน 6.การปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิด (ปีนี้เน้นที่บ้านตามประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรี) 7. ทำดีและละเว้นความชั่วทุกชนิด
3-เป้าหมายการถือศีลอด
พระเจ้าได้ตรัสว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้า ดังที่พระองค์ได้เคยบัญญัติแก่ชนยุคก่อนจากท่าน เพื่อว่าสูเจ้าจะเป็นผู้ที่ยำเกรง” (อัลกุรอ่าน บทที่ 2 โองการที่ 183) คำว่าผู้ยำเกรงตามทรรศนะอิสลาม หมายถึงการกระทำความดีและละเว้นความชั่ว อิหม่ามชะฮาบุดดีน ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอิสลาม ได้อธิบายคำว่า ความดีในหนังสือ (al-Furuk) หน้า 15 ไว้ว่า “การกระทำความดีหมายถึงการช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอ การบริจาคทานแก่คนยากจน การให้อาหารแก่ผู้ที่หิวโหย การให้เครื่องนุ่งห่มแก่ผู้ขัดสน การพูดจาไพเราะอ่อนโยนกับทุกคน การให้ความเมตตาต่อผู้คน การปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน เพื่อขจัดความขัดแย้งและการทะเลาะวิวาท และอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวกับความดีทุกชนิด”
ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า “การถือศีลอดเป็นโล่ ถ้าหากว่าผู้หนึ่งในพวกท่านถือศีลอดในวันหนึ่งแล้วเขาไม่ทำชั่วและพูดจาหยาบคาย เมื่อมีผู้หนึ่งด่าทอต่อเขาหรือระบายความไม่ดีแก่เขา(ผู้ถือศีลอด) จงกล่าวว่า แท้จริงฉันถือศีลอด”
การถือศีลอดคือการขัดเกลาและฝึกฝนวิญญาณของมนุษย์เกี่ยวกับการอดทนและมีความพร้อมที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์ในแนวทางของอัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา
การถือศีลอดเป็นการรักษาร่างกายทั้งภายนอกและภายใน อีกทั้งยังได้มาซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ นั้นคือ การตักวา (การมีความสำนึกถึงอัลลอฮ หรือ ความเกรงกลัวอัลลอฮ)
4-มุสลิมถือศีลอดในเดือนรอมฎอนกันจริงหรือ? สังเกตุได้จากในช่วงกลางวันของรอมฎอน มุสลิมจะถือศีลอด และประกอบอาชีพเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยยังชีพที่ฮะล้าล(สุจริตตามบทบัญญัติ) ส่วนในตอนกลางคืนมุสลิมจะละหมาดตะรอเวียห์ ขอดุอาอ์(ขอพร) ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ และขอความเมตตาจากพระองค์
แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างมาก ที่มุสลิมบางคนไม่ได้ถือศีลอดตามที่ศาสนากำหนด โดยเขาใช้เวลาเกือบตลอดทั้งวันไปกับการนอน การเล่นมือโซเชี่ยลมากเกินไป(ไร้สาระ)และมีอารมณ์โกรธฉุนเฉียว วิวาทะโดยปราศจากสาเหตุอันควร(โดยเฉพาะปัจจุบันที่ใช้นิ้วมือกดโทรศัพท์โพสต์ คอมเมนท์และอื่นๆ )โดยอ้างว่าเพราะเขาถือศีลอด การถือศีลอดของเขาจึงถือความเกียจคร้านและความฉุนเฉียวในเวลากลางวัน และการอดนอนไปกับสรวลเฮฮาและสิ่งไร้สาระในตอนกลางคืน เป็นการสมควรแล้วหรือ ที่เราจะปล่อยให้เดือนอันประเสริฐ และเต็มไปด้วยความดีงามนี้ผ่านไป ในลักษณะเช่นนี้ปีแล้วปีเล่า เราควรจะได้ฉกฉวยโอกาสแห่งเดือนอันประเสริฐนี้สะสมความดีงามให้มากที่สุด ด้วยการภักดี และขอความเมตตา และขออภัยโทษต่อพระองค์ เพราะไม่แน่ว่าเราจะมีโอกาสได้พบกับรอมฎอนในปีหน้าหรือเปล่า?
5-คำถามพิเศษช่วงCovid-19
คำถามตอนดึกๆ(23/4/63)ถามมาว่า ปีนี้จุฬาราชมนตรีประ
กาศให้ทุกคนทำศาสนกิจที่บ้านเช่นละหมาดตะรอเวียะห์ บางคนอ่านอัลกุรอ่านไม่ได้ ทำไง อุสตาซจะละหมาดตะรอเวียะอย่างไร?
มีทางออกทำได้ ? ที่ยังคงความผูกพันธ์ ที่มีต่อพระเจ้า?ผู้เขียนก็สะอึกเหมือนกัน
แต่ก็ลองตอบหาทางออก(เผื่อเพื่อนๆและผู้อ่านจะใช้ภาษาง่ายกว่าผู้เขียน) ดังนั้นผู้เขียนจึงตอบไ่ปว่า
“รอมฎอนช่วงCovid-19:ทำเท่าทำได้ แต่ทำด้วยจิตวิญญาณ พูดด้วยภาษาใจ ด้วยภาษาอะไรก็ได้(ถ้าไม่ได้แล้ว)ทำด้วยตัวเองอัลลอฮเข้าใจความตั้งใจเพราะคนให้ผลบุญคืออัลลอฮ์มิใช่มนุษย์ ที่สำคัญนักวิชาการโลกมุสลิมยืนยันว่า “ได้บุญหลายเท่าอันเนื่องมาจากหลายประการ ดังนี้
1.เดือนบวช(รอมฎอน )
2.ทำด้วยตัวเอง
3.ปฏิบัติตามผู้นำ
4.รักษาชีวิตเพื่อนมนุษย์
5.อื่นๆ
นี่คือคนมีวิทยปัญญาการทำบุญทำน้อยได้มากแต่ทำด้วยจิตอาสาจิตวิญญาณ
หมายเหตุ
1.เพื่อนส่งมา(ทั้งภาพและข้อความข้างล่างนี้)
“หากรู้คุณค่า ทุกเม็ด หย่อมมีความหมาย “
2. “ความเข้าใจสำคัญกว่าความรู้เพื่อเผชิญหน้ากับ Covid-19อย่างเท่าทัน” ท่านต้องติดตามใครบ้างที่จะเท่าทันทั้งศาสนา และการแพทย์นอกจากปฏิบัติตามประกาศจุฬาราชมนตรี
สำหรับ ในประเทศไทยเรา มีคนเขียน/แปลเรื่องความรู้ด้านหลักศาสนาอิสลามกับCovid-19 ร่วมสมัย ทันสถานการณ์มีไม่มากนักอยากจะแนะนำให้อ่าน
1.ในเฟสบุ๊คของDr.Ghazali Benmad เพื่อนผู้เขียน
https://www.facebook.com/100006447947980/posts/2442563652635209/?d=n
2.อุสตาซอิสมาอีล สิงหาด อดีตนายกสมาคมนักเรียนไทย ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ (ศิษย์ผู้เขียนสมัยเรียนโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ)
https://www.facebook.com/100023384344891/posts/657557408367065/?d=n
สำหรับ วงการแพทย์มุสลิมที่มีผลงานชี้แจงเรื่องนี้ได้อย่างบูรณาการระหว่างแพทย์กับอิสลามได้ทั้งสองภาษา(มลายูแบบบ้านๆกับภาษาไทย)มีสามท่าน
1.หมอFahmee Mfahmee Talib
https://www.facebook.com/578389439/posts/10157599970694440/?d=n
2.หมอกิ้ฟลัน กิ๊ฟลัน ดอเลาะ
https://www.facebook.com/1123449632/posts/10217585715691076/?d=n
3.คนนี้ทำคลิปเข้าใจง่ายมีผู้ติดตามเยอะ หมอมัซลัน(บอมอกีตอ)
แต่หากจะตามเชิงสถิติ วิชาการ เน้นCovid-19 ชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะแนะนำ
เข้าThe Motive
https://www.facebook.com/TheMotive2020/แต่สถานการณ์Covid-19ที่มาเลเซีย ภาพรวมประเทศอาเซียนและสามารถเชื่อมกับบ้านได้ทันสถานการณ์ทุกวันต้องคนนี้เลย
อาจารย์Rosenun Chesof จากมหาวิทยาลัยมลายูประเทศมาเลเซีย(รนปรานี/ชายแดนภาคใต้บ้านเรา)
https://www.facebook.com/1634142732/posts/10219663165963057/?d=n
1,890 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.