ฆอซาลี อาแว
สถาบันสิทธิมนุยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล”
วิกฤติโควิด 19 กับชุมชนชายแดนใต้
ในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในพื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานี มีการวิพากษ์ทางความคิด ความเชื่อและหลักวิชาการทางศาสนาที่หลากหลายมุมมอง สิ่งเหล่านี้นำมาสู่การปฏิบัติที่แตกต่างกันของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่แห่งนี้ที่มีความซับซ้อนในระดับความรู้ ความเชื่อ ผู้นำและกลไกต่าง ๆ ที่จะส่งอิทธิพลสู่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ สังคมมุสลิมชายแดนใต้ที่มีความผูกโยงกับหลักศรัทธาทางศาสนาและวิถีชุมชนที่ได้ถือปฏิบัติอย่างเหนียวแน่น หากจะดูความเชื่อมโยงของระดับที่จะทำให้พี่น้องประชาชนปฏิบัติตามนั้น แต่ละคน แต่ละพื้นที่ และชุมชนนั้นมีที่ยึดแตกต่างกันออกไป บางคนใช้หลักความรู้สึกที่ไม่เป็นปกติอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนมาเปรียบกับสิ่งที่ยึดเหนี่ยวของพลังศรัทธาในหลักศาสนา บางคนนำหลักบทบัญญัติว่าด้วยโรคระบาดในสมัยท่านศาสดา มาสร้างความเข้าใจกับตัวบท ซึ่งก็มีการตีความที่แตกต่างกันออกไป จึงเป็นที่มาของคำว่า “การกลัวอัลลอฮ์และกลัวโควิด” “การป้องกันโรคกับการตะวักกัล (การมอบหมาย)”
หากดูจากผังจะเห็นได้ว่า จะมี 4 กลุ่มคนที่ยึดโยงกัน โดยที่มีประชาชนเป็นฐานใหญ่ และรัฐมีอำนาจมากที่สุดในการออกมาตรการตามกฎหมาย แต่พี่น้องประชาชนในพื้นที่สามารถเลือกที่จะปฏิบัติผู้อื่นอีกนอกเหนือจากรัฐ ซึ่งโดยแก่นนั้นไม่ทราบข้อมูลที่ชัดว่าใครที่มีอิทธิพลทางความคิดและสู่การปฏิบัติของแต่ละปัจเจก แต่สามารถสรุปโดยกว้าง ดังนี้
- ยึดตามความรู้สึกของตนเองอาจจากการรับรู้จากสื่อ คนรอบข้าง รวมถึงทัศนคติเดิม
- ยึดตามคำแนะนำของแพทย์ว่าให้ปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้ปลอดภัยต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม
- ยึดตามผู้นำศาสนาทั้งในระดับพื้นที่ ระดับจังหวัดและระดับชาติ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีที่ยึดทางจิตใจแตกต่างกัน บางคนตามอิหม่ามในพื้นที่ บางคนตามผู้รู้ทางศาสนา (บาบอ) ที่ตนศรัทธาและศึกษาด้วย บางคนตามกรรมการอิสลาม และบางคนตามจุฬาราชมนตรี ซึ่งอาจจะเหมือนกัน และแย้งกันในบางประเด็น บางวาระ และก็มีที่สอดคล้องกัน
- ยึดตามฝ่ายรัฐด้วยกลไกทางกฎหมายและการลงปฏิบัติของคำสั่งต่างๆ ในระดับประเทศ สู่จังหวัดและชุมชน หมู่บ้าน
916 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.