พฤษภาคม 9, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ และไม่ควรเกรงใจสำหรับการหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยนั้น

แชร์เลย

โดย.ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด..

ท่านนบี ศอลฯ สอนให้ระวังการสัมผัสผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ดังที่อิหม่ามมุสลิม รายงานว่า

كَانَ فِي وَفْدِ ثَقِيفٍ رَجُلٌ مَجْذُومٌ ، فَأَرْسَلَ إِلَيْهِ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِنَّا قَدْ بَايَعْنَاكَ فَارْجِعْ

أخرجه مسلم (2231)، والنسائي (4182)، وابن ماجه (3544) وأحمد (19474)

“ในเผ่าษะกีฟมีชายคนหนึ่งเป็นโรคเรื้อน ท่านนบี ศอลฯ ได้ส่งคนไปบอกกับเขาว่า เราได้รับการให้สัตยาบันของท่านแล้ว จงกลับไปเถิด”

ปกติแล้ว ในกรณีให้สัตยาบันต่อท่านนบี ศอลฯ สำหรับคนปกติ ผู้ชายจะใช้วิธีจับมือ แต่สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ท่านได้ยกเว้นวิธีดังกล่าว

นอกจากการระวังโรคติดต่อจากการสัมผัสแล้ว ยังรวมถึงโรคติดต่อทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคเผือก

อิหม่ามอะหมัดและฮากิม ได้เล่าเหตุการณ์ที่ท่านนบี ศอลฯ ได้หย่าภรรยาคนหนึ่งก่อนการร่วมหลับนอน หลังจากที่พบว่านางเป็นโรคผิวเผือก โดยได้รายงานว่า

أَن رَسُول الله صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسلم تزوَّج امْرَأَة من غِفَار، فلمَّا دخل عَلَيْهَا وَوضع ثَوْبه وَقعد عَلَى الِفَراش أبْصَرَ بكشحها بَيَاضًا، فامتار عَن الْفراش، ثمَّ قَالَ: خذي عَلَيْك ثِيَابك! وَلم يأخذْ مِمَّا أَتَاهَا شَيْئا»

“ท่านนบี ศอลฯ ได้สมรสกับสตรีนางหนึ่งจากเผ่าฆิฟาร เมื่อได้เข้าหอกับนาง ท่านได้ถอดผ้าคลุมของท่านแล้วนั่งลงบนที่นอน แล้วพบว่านางเป็นโรคเผือก ท่านนบีจึงออกไปจากที่นอน และกล่าวว่า “จงกลับบ้านของเธอเถิด”

ผู้รายงานหะดีษได้เล่าต่อว่า ท่านนบี ศอลฯ ได้ให้ค่ามะฮัรเต็มแก่นางโดยไม่เอาคืนแต่อย่างใด

การสมรสกับผู้ที่เป็นโรคติดต่อที่ไม่สามารถรักษาได้ ทั้งชายและหญิง ยังสามารถใช้เป็นเหตุหย่าหรือฟ้องหย่าได้

อิหม่ามมาลิกยังกล่าวในหนังสือ อัลมุวัฏเฏาะอ์ ว่า

عَنْ سَعِيدِ بْنِ الْمُسَيَّبِ؛ أَنَّهُ قَالَ: قَالَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ: أَيُّمَا رَجُلٍ تَزَوَّجَ امْرَأَةً وَبِهَا جُنُونٌ، أَوْ جُذَامٌ، أَوْ بَرَصٌ، فَمَسَّهَا، فَلَهَا صَدَاقُهَا كَامِلاً، وَذلِكَ لِزَوْجِهَا غُرْمٌ عَلَى وَلِيِّهَا

ท่านอุมัร บินค๊อตตอบ กล่าวว่า บุรุษใดสมรสกับสตรีที่เป็นโรควิกลจริต โรคเรื้อน หรือโรคเผือก แล้วได้สัมผัสนาง นางมีสิทธิได้ค่ามะฮัรโดยสมบูรณ์ ส่วนบุรุษผู้นั้นมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ปกครองของสตรีนั้น

อย่างไรก็ตาม ในการระวังดังกล่าว หากจำเป็นที่ต้องใกล้ชิดก็ไม่ควรตระหนก แต่ให้ทำตามมาตรการระวัง พร้อมดุอาอ์ และมอบหมายต่ออัลลอฮ์ เพราะท่านนบี ศอลฯ สอนว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับลิขิตของอัลลอฮ์ แม้ว่าท่านนบี ศอลฯ สั่งให้ห่างไกลจากคนเป็นโรคเรื้อนเหมือนกับหนีสิงห์โต แต่ถ้าจำเป็นก็ไม่ต้องตระหนก อิหม่ามอะหมัดรายงานว่า ท่านนบี ศอลฯ รับประทานอาหารร่วมสำรับกับคนเป็นโรคเรื้อน และกล่าวว่า
كل ثقة بالله وتوكلا عليه
“จงรับประทานด้วยความเชื่อมั่นต่ออัลลอฮ์และมอบหมายต่อพระองค์”

 515 total views,  2 views today

You may have missed