เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เมื่ออันวาร์ ตกขอบไม่ได้เป็นนายกมาเลย์ เป็นหนึ่งความท้าท้ายประชาสังคม 2 ประเทศหนุนสันติภาพ # เกาะติดเสถียรภาพการเมืองมาเลเซีย:

แชร์เลย

โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk, http://www.oknation.net/blog/shukur

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

 

มาเลเซียมีผลต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนภาคใต้
ในวันที่ 11 มีนาคม 2563 มีการเสวนาวิชาการสาธารณะ เรื่อง​ “การเมืองมาเลเซียและนัยยะต่อสันติภาพชายแดนใต้”
ร่วมเสวนาโดย
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้,
รศ.ดร.สามารถ ทองเฝือ สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์,
รศ.ดร.อิบรอฮีม ณรงรักษาเขต คณะวิทยาการอิสลาม,
ผศ.ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
อ.อับดุลสุโก ดินอะ รองประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้(ผู้เขียน),
อ.มันโซร์ สาและ นักวิชาการอิสระ
และ​ นายอัฟนาน เล็มโดย นายกสโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์​
ดำเนินการเสวนาโดย ดร.ฮาฟีส สาและ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ม.อ.ปัตตานี


สรุปในภาพรวมพบว่า “เสถียรภาพการเมืองจากมาเลเซียมีผลต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนภาคใต้ “ ไม่ว่าสันติภาพเชิงลบ และเชิงบวก การดำเนินการต่อของกระบวนการพูดคุยซึ่งจะต่อยอดจากจากการพูดคุยระหว่างรัฐไทยกับBRN ซึ่งพึ่งเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ปลายเดือนมกราคม 2563 นั้น ขึ้นอยู่กับว่าความเอาจริงเอาจังของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ซึ่งหากดูภูมิหลังของท่านไม่พบว่าท่านให้ความสำคัญกับปัญหาชายแดนภาคใต้ แต่หากรัฐบาลมาเลเซียไม่เปลี่ยนตัวผู้อำนวยความสะดวกRohim Nor และRohim Nor สามารถดำเนินการต่อเรื่องนี้ต่อได้ กระบวนการสันติภาพก็จะเดินต่อได้เพียงแต่อาจล่าช้ากว่าเก่าเพราะรัฐบาลMuhyiddin คงจะจัดการปัญหาวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองภายในก่อน ในขณะเดียวกันความท้าทายอีกปัจจัยคือ พรรคPAS พรรคร่วมรัฐบาลที่อาจจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางการพูดคุยกับหน่วยมั่นคงไทย ที่อาจมีภาพที่เป็นเชิงลบต่อพรรคนี้ ช่วยอธิบายและทำความเข้าใจเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ในส่วนภาคประชาสังคมชายแดนภาคใต้ของไทยที่กำลังไปได้สวยในการจับมือกับประชาสังคมมาเลเซียโดยมีนายอันวาร์ อิบรอฮีมเป็นคนหนุนเสริมในการวาง road map ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างกระบวนการสันติภาพที่ครอบคลุม รวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้หลักวิชาการ ดังนั้นเมื่ออันวาร์ อิบรอฮีมมิได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็จะเป็นอีกความท้าทายหนึ่งสำหรับประชาสังคมทั้งสองประเทศที่จะหนุนกระบวนการสันติภาพต่อไป


หมายเหตุ

ชมรายละเอียดทั้งหมด
คลิ๊ก​ https://www.facebook.com/iseams/videos/2596126123999681/

 922 total views,  2 views today

You may have missed