พฤษภาคม 4, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

มุมมองทัศนะ นัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส. หลายสมัย ต่อกระบวนการพูดคุยรัฐไทย กับ BRN (peace dialog 3) โต๊ะเจรจาสันติภาพ 2020

แชร์เลย

บท..บรรณาธิการ …


ผู้เขียนได้ สัมภาษณ์พิเศษ นายนัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส.หลายสมัย จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเราได้สอบถามและพูดคุยในหลายเรื่องหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็น กระบวนการสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากสถานการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในพื้นที่ ต่อเนื่อง 17 ปี ทำให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ จำนวนมาก และสร้างผลกระทบพื้นที่ หลายด้าน ปัญหาเด็กกำพร้า หญิงหม้าย ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว และอื่น ได้รับผกกระทบเป็นลูกโซ่ อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง จนยากเกินเยียวยาและปัญหานับวันยิ่งฝั่งลึก
ถาม.. ท่านนัจมุดดีน ท่านเป็น ส.ส.หลายสมัย และอยู่ในวงการเมือง ท้องถิ่นและระดับประเทศ มายาวนาน ท่านมองการเปลี่ยน กระบวนการพูดคุยสันติภาพ หรือสันติสุข ชายแดนภาคใต้ กับผู้เห็นต่าง กลุ่มขบวนการความรุนแรง อย่างไร
ตอบ..ผมว่าเราต้องดูบริบท ที่มาของการพูดคุยสันติภาพ ในข้อเท็จจริง กระบวนการพูดคุยสู่โต๊ะเจรจา สันติภาพ หรือสันติสุข มีการพูดคุยมานาน สมัยนายกทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่การพูดคุยในครั้งแรก เป็นการพูดคุย ที่กรุยทาง เพื่อนำสู่โต๊ะคุย แต่ไม่ประกาศในทางสาธารณะชน จนเมื่อปีวันที 28 กุมภาพันธ์ 2556 การพูดคุยสันติภาพได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ โดยการลงนามในข้อตกลงที่จะให้มีการพูดคุยในกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยระหว่างตัวแทนของรัฐบาลไทยกับตัวแทนของบีอาร์เอ็น โดยมีตัวแทนของรัฐบาลมาเลเซียเป็นผู้อำนายความสะดวก หัวหน้าคณะพูดคุยฝ่ายรัฐบาลคือพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร หัวหน้าคณะพูดคุยฝ่ายบีอาร์เอ็นคือฮัสซัน ตอยิบ หลังการรัฐประหารในปี 2557 รัฐบาลได้แต่งตั้ง พล.อ.อักษรา เกิดผล เป็นหัวหน้าคณะพูดคุย และมีการเปลี่ยนผู้ที่พูดคุยด้วยเป็นคณะบุคคลที่มาจากองค์กรที่เห็นต่าง 5 องค์กร และมีชื่อเรียกว่า มารา ปาตานี โดยมี อาวัง ยาบะ เป็นประธาน และ สุกรี ฮารี เป็นหัวหน้าคณะพูดคุย
ด้าน พล.ต.สิทธิ ตระกูลวงศ์ เลขานุการคณะพูดคุย (ปี 2558-2561) สมัยนั้น ได้จัดพิมพ์และเผยแพร่รายงาน “กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต ความท้าทายของการต่อสู้ทางความคิดตามแนวทางสันติวิธีในทัศนะของผู้ปฏิบัติงานจริง (ห้วงปี 2558-2561)” มีใจความโดยสรุป (ขึ้นหน้าปก) ว่า ปี 2558 กลุ่มขบวนการ 6 กลุ่มตอบรับเข้าร่วมการพูดคุย ปี 2559 จัดตั้งคณะทำงานทางเทคนิคร่วม ปี 2560 บรรลุข้อตกลงเรื่อง TOR (ว่าด้วยการดำเนินการด้านบริหารจัดการ หรือ administrative arrangements สำหรับกระบวนการพุดคุยสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย) ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นกติกาในการพูดคุยแล้ว ยังให้ความเห็นชอบอย่างเป็นทางการที่จะจัดตั้งคณะทำงานทางเทคนิคร่วม ปี 2561 เห็นชอบพื้นที่ปลอดภัยนำร่อง (ได้แก่อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561 พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 เท่านั้น
ต้นปี 2556 ถึงปลายปี 2562 ก็สรุปผลการพูดคุยได้ดังกล่าวข้างต้น เมื่อมีหัวหน้าคณะคนใหม่ ก็มีแนวทางใหม่และความหวังขึ้นมาอีก ในการแถลงข่าว พล.อ.วัลลภ ยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่มุ่งมั่นและจริงจังต่อการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ โดยเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี … พร้อมพิจารณาตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อข้อเสนอของผู้เห็นต่าง … (และ) ประสงค์ที่จะขับเคลื่อนภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นภายในปี พ.ศ. 2563 ปี ค.ศ.2020


ถาม มีความคืบหน้า หรือสูญเปล่า ครับ โต๊ะเจรจา …
ตอบ.. ไม่สูญเปล่าครับ มีความคืบหน้าไปตามลำดับ แต่ในยุกแรก peace dialog 1 ฝ่ายกลุ่มขบวนการบนโต๊ะเจรจา สอบถาม กรณีมีหมายจับ ป.วิ อาญา พรก.ความมั่นคง จะเดินทางมาประเทศไทย โดยมีการรับรอง เป็นลายลักษรอักษร จากรัฐบาลไทย ความปลอดภัย จากกฎหมายและเจ้าหน้าที่รัฐไทย อันนี้ก็ไม่ชัดเจนจากรัฐบาลไทยสมัยนั้น ประกอบกับการเมืองไม่นิ่ง จึงเกิดการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยน ผู้อำนวยความสะดวก มาเป็นกลุ่มมาราปัตตานี peace dialog 2 ข้อกำหนดเซฟตี้โซน พื้นที่ปลอดภัยนำร่อง จังหวัดชายแดนภาคใต้ บางอำเภอ และ peace dialog 3 ที่มีพลเอกวัลลภ รักเสนาะ หน.พูดคุยฝ่ายไทย ปี 2020 การประชุมร่วมกันเมื่อวันจันทร์ที่ 20 ม.ค.63 ถือเป็นการพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ ครั้งแรกระหว่าง 2 ฝ่าย โดยมี ตันสรี อับดุลราฮิม โมฮัมหมัด นอร์ (อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของมาเลเซีย) ทําหน้าที่เป็นผู้อํานวยความสะดวก มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุเจตนารมณ์ร่วมกันที่ให้สานต่อมาตรการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะกับการพูดคุยที่ได้ตกลงกันมาก่อนหน้านี้
โดยที่ประชุมมีข้อตกลงร่วมกัน คือ
1. การพูดคุยระหว่างบีอาร์เอ็นกับรัฐบาลไทย เป็นผลของการทําข้อตกลงร่วมกัน 2 ฝ่ายที่สอดคล้องกับสาระในกรอบการพูดคุยและ TOR ที่ได้ทํากันไปแล้ว
2. ทั้งสองฝ่ายจะยึดมั่นกับกรอบการพูดคุย และ TOR เป็นหลักการพื้นฐานเบื้องต้นของการพูดคุยอย่างเป็นทางการ
3. ทั้งสองฝ่ายยังยืนยันให้มาเลเซียเป็นผู้อํานวยความสะดวก
และ 4. กระบวนการพูดคุยครั้งนี้มีผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศร่วมด้วย ถือว่าการพูดคุยมีความก้าวหน้า สูตร 7 ต่อ 7 ฝ่ายไทยกับ กลุ่มขบวนการ ที่เรียกว่า BRN
หากแต่จะบรรลุข้อตกลง หรือไม่นั้น คงเร็วไปที่จะสรุป เชื่อว่าต้องใช้ระยะเวลา


ถาม…BRN รอบนี้ ท่านว่า ตัวจริงไหม
เป็นคำถาม ที่ถามง่ายแต่ตอบยาก แต่ในส่วนตัว เท่าที่ติดตามและมีข้อมูล บุคคลเหล่านี้ มีศักยภาพต่อ กลุ่มขบวนการ BRN ที่กองกำลัง การปฏิบัติการณ์ เหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน เข้า 17 ปี ปฎิเสธ ไม่ได้เพราะมีคนเสียชีวิตกว่า 6,000 คน บาดเจ็บกว่าหมื่นคน อย่างไร คณะพูดคุยที่มีพลเอกวัลลภ ฯ หรือ BRN เอง มีความพ้อง คือ การพูดคุยเพื่อสันติภาพ ยุติความรุนแรง ส่วนรายละเอียด ก็อยู่ ข้อตกลง ระหว่างกันจะนำสู่ การปฎิบัติได้จริงมากน้อยเพียง จะเป็นสัญญาณในอนาคต ที่จะชี้ว่า พื้นที่จะเกิดความสงบสันติสุข ทั้งนี้ ไม่ว่า จะเป็น BRN ก็ต้องการพูดคุย แม้ BRN จะปักธง ในเรื่อง เมเดก้า และอ้างสิทธิการต่อสู่ คือ เพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพ ประชาชนชาว ฟาฎอนี การพูดคุยสันติภาพ ก็จะเกิดขึ้น และเดินหน้า ถ้า 2 ฝ่ายคือรัฐบาลไทย และกลุ่มขบวนการ ยังมีเจตนารมณ์ และยอมรับความจริง
คำถาม…พระราชาธิบดี หรือกษัตริย์ แห่งมาเลเซีย มีราชโองการแต่งตั้งนาย Tan Sri Muhyiddin Bin Md Yasin อดีตรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย เป็น นายกรัฐมนตรี คนใหม่ จะมีผลต่อการะบวนการพูดคุย หรือไหม
ตอบ…ผมมองว่า น่าจะมีผลกระทบ เพราะหลังจากนี้ไป อาทิ กรณี ตันสรี อับดุลราฮิม บิน โมฮัมหมัด นูร์ หัวหน้าคณะผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศมาเลเซีย จากคนปัจจุบัน เมื่อมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ อาจเปลี่ยนตัว ผอ.คนใหม่ มีความเป็นไปได้สูง แต่เชื่อว่า กระบวนการคุย คงเดินหน้าแน่นอน เพราะ ไม่ว่าจะเป็นรัฐไทย หรือ กลุ่มขบวนการ ต่างอยากเห็นความร่วมมือ และสันติภาพ ภายใต้เงื่อนไขข้อตกลง ทั้ง 2 ฝ่าย ที่สำคัญ หน.คณะพูดคุย ของ BRN แถลงจุดยืนที่ชัดเจน ว่า ต้องการให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และรับฟังประชาชนในพื้นที่ให้รอบด้าน ครอบคลุม เพื่อนำข้อเสนอ มาสู่โต๊ะเจรจาสันติสุข หรือสันติภาพ


คำถาม ท่านหนักใจ หรือกังวล ในเรื่องใดบ้าง ต่อกระบวนการสู่โต๊ะการเจรจา หรือพูดคุยสันติภาพ 2020 หรือจากนี้ไป
ตอบ..กังวล อยู่ 2-3 เรื่อง คือประเด็น คนไทยพุทธ ในพื้นที่ ที่อยู่ในพื้นที และคนไทยพุทธ ที่อยู่นอกพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังไม่เข้าใจ ทำไมถึงมีการพูดคุยสันติสุข และอาจไม่เข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ ข้อเท็จจริง อีกทั้ง คนไทยพุทธในพื้นที่ จะอยู่ตรงไหน อย่างไร อันนี้ก็ต้องให้ ศูนย์สันติวิธี กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ทำความเข้าใจ เข้าถึงประชาชนกลุ่มดังกล่าวให้มาก เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ถูกต้อง อีกเรื่องคือ ประเด็น IO ไอโอ ข่าวสารที่ใช้ในภาวะสงคราม เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ ที่ทำอยู่ ควรเลิกทำ เพราะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่อยู่ในภาวะสงคราม แต่เป็นสงครามแย่งชิงมวลชน การสร้างความจริง ข้อมูลข้อเท็จจริง จะหนุนเสริม กระบวนการพูดคุยให้เดินหน้า และมีความคืบหน้าให้สำเร็จได้ และข้อที่ BRN เสนอผู้สังเกตการณ์ เป็นผู้แทนระหว่างประเทศ หรือ ต่างประเทศ 2 คน อันนี้เป็นปัญหาหนักใจของฝ่ายรัฐไทย หรือเปล่า เพราะฝ่ายไทยยังไม่ได้รับข้อตกลงนี้ นี้เป็นข้อสังเกตการเดินหน้า หรือจะหน้าคืบหน้าอีกด้านหนึ่ง


ถาม หัวหน้าคณะพูดคุย ฝ่ายไทย ผ่านมาหลายท่าน ล่าสุด คือ พลเอกวัลลภ รักเสนาะ ท่านเห็นว่าอย่างไร และแตกต่างจาก หัวหน้าคณะชุดเก่าอย่างไร
ตอบ… ท่านพลเอกวัลลภ รักเสนาะ หน.พูดคุยฝ่ายไทย บุคคลผู้นี้เป็นคนมีความรู้ความสามมารถ และรู้ปัญหาค่อนข้างมากและลึกซึ้ง เพราะท่าน เป็นอดีต สมช.สภาความมั่นคงแห่งชาติ มาก่อน มีประสบการณ์ และมีสานสัมพันธ์ทีดี และยังมีประสบการณ์ทำงาน เชื่อมสานต่อกลุ่มขบวนการ พูดคุยสันติภาพมากนาน และฝ่ายกลุ่มขบวนการหลายกลุ่มยอมรับ ในส่วนความแตกต่างอื่นๆที่สำคัญ ท่านยังเปิดกว้าง เปิดพื้นที่รับฟังข้อเสนอ ภาคประชาสังคม หรือ ประชาชน ด้วยตัวเอง ไม่เหมือน หน.คณะพูดคุยที่ผ่านมา จะมาคุย ที่เซฟเฮาส์ หรือค่ายทหาร ด้านเดียวเหมือนที่ผ่านมา สอดคล้องกับ หน.พูดคุยกลุ่ม BRN ที่แถลงจุดยืน ว่าต้องฟังเสียงประชาชนพื้นที่ ฟาฎอนี หรือ จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทิ้งท้ายว่า โต๊ะเจรจา กระบวนการพูดคุยสันติภาพจะสำเร็จ ช้าหรือเร็ว อยู่ที่ความจริงและข้อตกลง ที่นำสู่การปฎิบัติได้ ภายใต้กฎหมายไทย ที่มีอยู่ซึ่ง ซึ่งรัฐบาลก็รู้ว่า มีมาตราไหนบ้าง ซึ่งสามารถทำได้ตามกฎหมายของไทย ประชาชนและพื้นที่เป็นผู้ได้รับกระทบ มีส่วนได้ส่วนเสีย เขาก็อยากเห็นสันติภาพเกิดขึ้นโดยเร็ว เพราะทุกคนไม่ต้องการความสูญเสียและยืดเยื้อยาวนาน บานปลายอีกต่อไป
ลิงค์ข่าว.ที่เกี่ยวข้อง…

จุดเริ่มต้นขบวนการพูดคุย “รัฐไทย กับ BRN “ภายใต้รอฮีมนอร์

 1,634 total views,  2 views today

You may have missed