เมษายน 24, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ศูนย์สันติวิธีชายแดนใต้:การขับเคลื่อนการเรื่องพหุวัฒนธรรมที่กำลังถูกท้าทายจากคนในบางคน

แชร์เลย

#อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)

ป็นที่ทราบกันดีว่า กอ.รมน.ภาค 4 สน.ได้ตั้งศูนย์สันติวิธี ขึ้นและมีกิจกรรมมากมายที่ทำในพื้นที่โดยเฉพาะการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรมโดยเอาผู้คนต่างศาสนิกพุทธมุสลิมในพื้นที่ทำกิจกรรม และถอดบทเรียนร่วมกันเพื่อทราบความต้องการที่เป็นจริงของคนสองวัฒนธรรมเช่น 22 กุมภาพันธ์ 2563 ได้ร่วมกิจกรรม เรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรมของกลุ่มสาขาวิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยชุมชนปัตตานี ซึ่งเป็นการต่อยอดจากกิจกรรมมหกรรมวิชาการอิสลาม 4.0 เมื่อครั้งที่ผ่านมา ณ ศรีเวียงโฮมสเตย์ ชุมชนบ้านวังนาใน ต.น้ำผุด อ.ละงู จ.สตูล ในการนี้ พ.ต.ดนัย สมะพงษ์ และ ร.ต.สยมภู หวังประโยชน์ ได้พบปะ/พัฒนาสัมพันธ์ เชื่อมความสัมพันธ์กับกลุ่มสาขา พร้อมกับรับประทานอาหารร่วมกัน

ได้เรียนรู้สังคมชุมชนบ้านวังนาในสังคมพหุวัฒนธรรม ไทยพุทธ+มุสลิม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เรียนรู้/ศึกษาดูงาน การทำถ่านอัดแท่งเพื่อเศรษฐกิจในชุมชน จากกลุ่มเยาวชนในชุมชนบ้านวังนาในแห่งนี้ เพื่อการต่อยอดในชุมชน/หมู่บ้าน ของตนเองต่อไป พร้อมกลับไปสร้างความสันติสุขที่ยั่งยืนต่อไป นี่เป็นแค่หนึ่งตัวอย่าง นอกจากยังมีการจัดตั้งสภาสันติสุขทุกตำบลโดยนำผู้นำทุกภาคส่วนพุทธ -มุสลิมในการออกแบบสังคมสันติสุขท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมและแม่ทัพภาคที่ยืนยันทุกครั้งในที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานการพูดคุยสันติสุข(สล.3)ว่านี่คือโมเดลประชาธิปไตยที่แท้จริงเพื่อสะท้อนปัญหาและแก้ปัญหาร่วมกัน


เช่น เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 63, 1330 – 1600 กอ.รมน.ภาค 4 สน. โดย ศูนย์สันติวิธี จัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นและเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. (118 หมู่บ้าน) พื้นที่ บ.หัวคลอง ม.6 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จว.น.ธ. โดย พ.อ.วัฒนา กรมขันธ์ รอง ผอ.ศสว. เป็นประธาน/วิทยากร พร้อมทั้ง ผู้แทน ฉก.นราธิวาส, ผู้แทน ศปก.อ.ตากใบ, หน.ส่วนราชการประจำพื้นที่, ผู้นำศาสนา, กลุ่มสตรี และผู้นำท้องที่/ท้องถิ่น ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเสริมสร้างการมีส่วนร่วมภายใต้อุดมการณ์การอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม ขยายผลในการสร้างองค์ความรู้ด้านสันติวิธี และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. ผู้ร่วมกิจกรรม 192 คน รับทราบปัญหา/ความต้องการ/ข้อเสนอแนะ สรุปประเด็นสำคัญดังนี้
ด้านความปลอดภัย
1) ต้องการให้เพิ่มระบบกล้องวงจรปิด CCTV ให้ครอบคลุม และคุณภาพของกล้องจะต้องดีด้วย
2) จนท.ทหาร หมั่นพบปะและสอบถามความเป็นอยู่ให้ถึงระดับชุมชน
ด้านการพัฒนา
1) พัฒนาจิตสำนึกของทุกภาคส่วน ให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์เป็นอันดับแรก
2) สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้คนในชุมชน เพื่อประขาชนจะได้มีงานทำและเลี้ยงดูครอบครัว
3) พัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น รวมทั้งการรับรับเรื่องการตลาด
ด้านกระบวนการยุติธรรม
1) สร้างสภาชุมชนให้สมบูรณ์
2) เข้าใจบริบทของพื้นที่อย่างแท้จริง รวมทั้งความเป็นอยู่ของประชาชน
ด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติด
1) ปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังจริงๆ
2) สกัดกั้นการขนย้ายยาเสพตจากต้นทาง (เหนือสู่ใต้)


ไม่เพียงเท่านั้นยังมีหน่วยงานทางวิชาการอย่างศูนย์สันติวิธีมหาวิทยาลัยมหิดลที่ตั้งสำนักงานที่ปัตตานีทำงานสานเสวนาพุทธ มุสลิมในการถักถอสันติภาพกว่า 10 ปี รวมทั้งมีกิจกรรมกลุ่มสตรีเพื่อสันติภาพชายแดนภาคใต้ที่รวมแกนนำสตรีพุทธมุสลิมจนได้รับความไว้วางใจไม่เพียงแต่หน่วยงานในพื้นที่แต่ยังได้รับการยอมรับจากองค์กรระหว่างประเทศ
เช่นกิจกรรมล่าสุดเรียกว่า

“Safe Space (พื้นที่ปลอดภัย)ในชุมชนกับงานอาชีพผู้หญิง”
นางสาวโซรยา จามจุรี เปิดเผยว่า “

ผู้บริหารระดับสูงของUN Women นายMohammad Naciri, Regional Director, UN Women Regional Office for Asia and the Pacificในโอกาสเยี่ยม/เปิดโรงเรือนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมุสลีมะห์Kl (สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในชุมชน)ที่ชุมชนกูจิงลือปะ ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อ 20 ก.พ.2563

กล่าวว่ากิจกรรมที่นี่คือตัวอย่างทึ่ยอดเยี่ยมที่ทางเราอยากจะนำไปเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ เนื่องจากกิจกรรมที่นี่เกิดจากพลังขับเคลื่อนของชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ และเป็นพื้นที่ปลอดภัยสาธารณะสำหรับทุกคน ส่วนศูนย์(โรงเรือน)ชุมชนแห่งนี้ไม่ได้หยุดแค่การสร้างโอกาสให้กับผู้หญิงในชุมชนแห่งนี้เท่านั้น แต่มันคือพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามาทำงานร่วมกัน เพื่อสังคมโดยรวม

การสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับการสร้างสันติภาพขึ้นในระดับชุมชน เป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับทุกคนในชุมชน คนจะมาที่นี่ จับมือทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์สำหรับชุมชนแห่งนี้และชุมชนข้างเคียง
ถือเป็นก้าวแรกในการนำพาคนทุกภาคส่วนมาร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเชิงบวกเดียวกันของชุมชน”
นี่คือตัวอย่างล่าสุดที่สัมผัสได้ในเพื่อความสามัคคีลดความเกลียดชังระหว่างพุทธมุสลิมชายแดนภาคใต้อันเป็นปัจจัยสำคัญ ในการการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ/สันติสุขแต่เป็นที่น่าเสียดายว่ายังมีบางคนที่อยู่ในคณะทำงานประสานงานการพูดคุยสันติสุขนำประเด็นปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปบิดเบือนสร้างเกลียดชังระหว่างพุทธมุสลิมในภาคอื่นๆของประเทศไทยด้วย

ในขณะที่จามร จรมาคอลัมนิสต์ดังอีกคนออกเตือนว่า การสร้างความขัดแย้งพุทธมุสลิมแบบนี้จะเป็นนำ้ผึ้งหยดเดียวให้นำไปสู่ความรุนแรงทางศาสนาของคนในชาติอันจะกระทบความมั่นคงไทย(โปรดดู

โปรดดู
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=64746&filename=welcome2019
)
หมายเหตุโปรดดูคลิปซึ่ง
คุณพงศ์พันธ์​ จันทร์เล็ก
ประธานสมาพันธ๋ไทยพุทธ
จังหวัดชายแดนภาคใต้(เขาอ้าง)
ยืนยัน​ สิ่งที่ออกมาพูดเรื่อง
สถานการณ์​ 3​ จังหวัดชายแดนภาคใต้
เป็นเรื่องจริง,
ภัยที่รุกรานคนไทยคนพุทธ
ตลอดหลายสิบปีนี้​คือ​ เรื่องจริง

 1,264 total views,  4 views today

You may have missed