อุสตาซอับดุลชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)
การเมืองมาเลเซียเพื่อแย่งอำนาจหลังตุนมหาเดร์สัญญาว่าจะลงจากตำแหน่ง จากผู้นำแล้วส่งไม้ต่อให้อันวาร์ อิบรอฮีมภายในสองปีนั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิดที่หวังตามที่นักวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศเคยตั้งข้อสังเกตมาก่อนหน้านี้นานแล้วเพราะการลาออก ของท่านเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563 นั้นมีลับ ลวง พราง เกมส์พลิกไปพลิกมาตลอดที่คาดว่ามหาเดร์จะกลับมามีอำนาจอีกครั้งโดยไม่ปล่อยให้อันวาร์มาเป็นแทน แต่ก็ไม่ใช่ง่ายเพราะต้องรวม ส.ส.สนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งของสภาไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนดังนั้นจำเป็นต้องอัปเดทนาทีต่อนาที
การเมืองมาเลเซียวันนี้(24 /2/2563 เวลา 23.00 น.)กับ อ. รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ. อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมลายา ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า(ในเฟสบุ๊ค)
การเมืองมาเลเซียวันนี้(24 /2/2563 เวลา 23.00 น.)
– ช่วง 1.30 น. นายกรัฐมนตรี ตุน ดร มหาเดร์ ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งถวายต่อ ยังดี เปอ ตัว อากง สุลต่าน อับดุลลอฮ์
– ช่วงเย็น ตุน ดร. มหาเดร์ เข้าเฝ้ายังดี เปอ ตัว อากง สุลต่าน อับดุลลอฮ์
– จากนั้น มีการประกาศแต่งตั้งให้ ตุน ดร. มหาเดร์ เป็นนายกรัฐมนตรี รักษาการณ์ จนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่และมี ครม.
อะไรเกิดขึ้นได้และไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซีย
ตามมาตรา 43 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐ :
“หากนายกรัฐมนตรีไม่ได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น ให้มีการยุบสภาตามคำร้องขอของ YDP Agong นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต้องลาออก”
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเวลา 13.30 น. ของวันนี้คือ ตุน ดร. มหาเดร์ ลาออกเนื่องจากไม่ได้รับเสียงสนับสนุนพอจากสภาผู้แทนราษฎร โดยที่ไม่มีการยุบสภา
ทำไมเป็นเช่นนี้?
เพราะมีสิ่งที่เกิดขึ้นคือ พรรค PPBM ของตุน มหาเดร์ ประกาศว่า สส 26 คนของพรรคบวกกับ Azmin Ali และพวกอีก 11 คนจาก PKR ได้ออกจาก PH ทำให้ รัฐบาล PH สูญเสียเสียงสนับสนุนไป 37 เสียง กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย ดังนั้นนายกรัฐมนตรีต้องลาออก ครมก็ต้องออกตามนายก PH ก็ยุบไปโดยปริยายตามมา
รองนายกรัฐมนตรีก็ไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรักษาการณ์ได้ เพราะเมื่อนายกลาออกแล้ว ก็ส่งผลให้ทั้ง ครม หลุดไปด้วย
อำนาจของ YDP Agong ในการใช้สิทธิขอให้นายกรัฐมนตรียุบสภาก็ไม่สามารถใช้สิทธิได้เช่นกัน เนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออกแล้ว
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนเย็นของวันนี้ YDP Agong แต่งตั้ง ตุน ดร. มหาเดร์ เป็นนายกรักษาการณ์
เท่ากับว่าตอนนี้สภายังอยู่ ครม ไม่มี มีแต่นายกรักษาการณ์ “
อย่างไรก็แล้ว ณ วันนี้ (พุธ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 17.00 น.)ตุนมหาเดร์ก็ยังไม่สามารถรวม สส เกิน 111 จาก 222 คนซี่ง
สมเด็จพระราชาธิบดีหรือAgong ก็ใช่ย่อยเมื่อมีอำนาจในมือก็ให้ถามสสรายคนว่าจะหนุนใคร ท่านมุฮัมมัดนาเซร์ อัลบายานี เขียนเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า
“หลังเข้าเฝ้า สมเด็จพระราชาธิบดี สองเลขาธิการพรรค คือ เลขาธิการพรรคอัมโน ตันสรี อันวาร์ มูซา และ เลขาธิการพรรคพาส เริ่มมีท่าทีกดดันให้มีการยุบสภา
แสดงว่า หลังฝุ่นและควันจางลง ประชาชนเริ่มเห็นตัวละครและผู้กำกับที่อยู่เบื้องหลัง
สติก็เริ่มกลับมา…Muafakat Nasional เริ่มมีความไม่แน่นอนว่า…จะได้ไปต่อ…หรือแท้ง…
ต้องชมเชย ความเก๋าของนายกมาหาเดร์ และความนิ่งของนายอันวาร์
มาหาเดร์ เลือกลาออกจากนายกรัฐมนตรี ลาออกจากประธาน Pakatan Harapan และสุดท้ายลาออกจากหัวหน้าพรรค Bersatu
มันเกิดอะไรขึ้น?
ทำไม Istana Negara ถึงมีบทบาทสูงมากในวิกฤติการเมืองรอบนี้???
ก็ต้องรอดูว่า สส 222 นั้น เสียงส่วนใหญ่จะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่นานคงรู้ แต่มีโอกาสที่จะแหกมติพรรค มาหนุนอีกคน (ในไทยเรียกว่างูเห่า)เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแล้ว จะเร็วมาก จนตามไม่ทัน เราคนชายแดนใต้ก็ติดตามไม่กระพริบ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่ากองเชียร์ อันวาร์ มหาเดร์ พรรคพาส และ BN ที่ชายแดนภาคใต้เราก็ใช่น้อยอีกอย่างมันมีผลระดับชาวบ้านที่ลูกหลานเขาอยู่ชายแดนหรือขายต้มยำที่เมืองหลวงKL และระดับนโยบายปัญหาไฟใต้เกี่ยวกับพูดคุยสันติภาพ
1,721 total views, 2 views today
การเมืองมาเลเซียมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
จุดที่ก่อเกิดพรรคใหม่ขึ้นมาคือพรรค
PN ( Pengkianatan National) ติดตาม
กันต่อไปครับ
ครับ