อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)
เคยฟังการบรรยายของ ดร.นอเบิตร์ โรเปอร์ส ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือสันติภาพ (PRC) หลายครั้งพูดถึงความสำคัญของประชาสังคมในกระบวนการสันติภาพซึ่งเคยให้ทัศนะว่า “ประชาสังคมเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญในสังคมที่มีความขัดแย้งทุกสังคม แต่ประชาสังคมจำเป็นต้องทำงานวางอยู่บนยุทธศาสตร์ หากต้องการมีอิทธิพลต่อผู้ที่อยู่ในแทรค 1 หรือคู่เจรจาในกระบวนการสันติภาพ แต่มีปัญหาใหญ่ที่มักจะพบ คือ ประชาสังคมมักจะแตกกันเองยิ่งกว่าแทรค 1 ดังนั้นจำเป็นต้องมีทักษะในการสร้างพันธมิตรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญคือ การทำงานที่ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องทุกๆ ฝ่าย เพราะทุกแห่งที่มีความขัดแย้งย่อมมีกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับกระบวนการสันติภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องจัดการอย่างฉลาด เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายและกระบวนการสันติภาพสามารถล้มได้และไม่ง่ายที่จะเริ่มใหม่”
https://deepsouthwatch.org/dsj/th/11135
วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2563 )ก็ได้มาฟังท่านอีกครั้งแต่เน้นตัวแทนผู้นำมุสลิมด้านศาสนา นักวิชาการในพื้นที่ประมาณ 20 คน (แต่ขออนุญาตไม่เปิดเผยสถานที่และบุคคล) อันเป็นปัจจัยหนึ่งและปัจจัยหลักที่สามารถหนุนเสริมกระบวนสันติภาพรอบใหม่ระหว่างรัฐไทยกับBRN การจะให้ผู้นำมุสลิมที่กล่าวมาข้างต้นหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพได้ มีสองส่วนเบื้องต้นคือหนึ่งติดอาวุธด้านวิชาการเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพหลังจากนั้นให้เขาแสดงความคิดเห็น ถกเถียง ระดมสมอง เพื่อหาทางออกร่วมกัน (ซึ่งถือว่าเต็มที่เพราะมันเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้เเสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นเป็นปัจจัยหลักสำหรับคนทำเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อกระบวนการสันติภาพ)
สำหรับรายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้
หนึ่งติดอาวุธทางวิชาการเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ
1.โดยกล่าวถึงประวัติและแนวคิดพื้นฐาน(History & BasicConcept) ซึ่งพบว่า
-ในอดีตจากศิลปะในการทำสงครามสู่ศิลปะการสร้างสรรค์สันติภาพ
-50 ปีหลังนี้มีทั้งกระบวนการสันติภาพที่ประสบความสำเร็จเช่นที่ไอแลนด์เหนือ แคว้นบาสก์ ประเทศสเปน อาเจะห์ มินดาเนาและล้มเหลวเช่นศรีลังกา อัฟกานิสถาน ทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลวต้องใช้ระยะเวลามากน้อยต่างกันและมีปัจจัยให้ประสบความสำเร็จเช่นผลประโยชน์ร่วมทั้งสองฝ่ายแบบwin win ไม่มีใครได้ ใครเสีย ร้อยเปอร์เซ็นต์ แรงสนับสนุนจากประชาชนทั้งสองฝ่าย ความเข้มแข็งของประชาสังคม ไม่ว่าผู้นำศาสนาและทุกภาคส่วน แรงสนับสนุนจากนานาชาติ ฝ่ายที่สามมีประสิทธิภาพ ความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพของคู่ขัดแย้ง ในขณะปัจจัยที่ล้มเหลวคือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงว่าเมื่อใดที่ความขัดแย้งจะสุกงอมเพื่อร่วมแก้ปัญหา เช่น ต่างฝ่ายต่างศูนย์เสียและไม่สามารถเอาชนะกันได้ โอกาสที่น่าดึงดูดร่วมกัน หน้าต่างแห่งโอกาส และทางเลือกที่ดีกว่าซึ่งในศัพท์วิชาการเรียกว่า Best Alternative to a Negotiated Agreement (BATNA)
“โปรดดูรายละเอียดคำนี้ทางวิชาการในการแก้ปัญหาความขัดแย้งใน
https://greedisgoods.com/batna-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/“
สอง ผลการระดมสมองผู้เข้าร่วมเสวนา
พอสรุปได้ดังนี้
1. สงครามสามารถแก้ปัญหาด้วยการพูดคุย เจรจา หาทางออกทางการเมืองร่วมกันโดยมีปัจจัยความสำเร็จร่วมที่กล่าวมาแล้วซึ่งต้องใช้เวลา สำหรับปตานี/ชายแดนภาคใต้นั้นนับว่าผู้นำศาสนามีบทบาทมากในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพครั้งนี้ที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่าคุยถูกคน ถูกกลุ่ม
2.การติดอาวุธทางวิชาการให้กับผู้นำศาสนาที่ทั่วถึงครอบคลุมเรื่องกระบวนการสันติภาพที่นี่มีความสำคัญมากๆแต่ผู้ดำเนินการต่อเรื่องนี้ต้องมืออาชีพด้านกระบวนการสันติภาพที่เป็นอิสระจากรัฐสามารถให้พื้นที่ปลอดภัยแก่ผู้เข้าร่วมเสวนา
สำหรับข้อกังวล ต่อกระบวนการพูดคุย /เจรจา สันติภาพ/สันติสุขครั้งใหม่นี้รัฐมีความจริงใจหรือไม่ หรือต้องการซื้อเวลา เลี้ยงไข้ไปวันๆ
ครับนี่คือส่วนหนึ่งของเวทีวันนี้และคิดว่ากระบวนการเหล่าหากสมารถทำต่อทุกภาคส่วน ถึงรากหญ้า รากแก้วของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ปรานี/ชายแดนภาคใต้ ก็จะเป็นสิ่งที่ดีเพราะตัวตัดสินของกระบวนการสันติภาพ/สันติสุขอย่างยั่งยืนคือเจตจำนงของประชาชน
////////////////////////////////////
684 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.