อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)รายงานจากเชียงราย
(12 กุมภาพันธ์ 2563) ได้มีโอกาสดูงานการจัดการศึกษาให้นักเรียนชนเผ่า 13 ชนเผ่า ของโรงเรียนสหศาสตร์ศึกษา อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ภายใต้การบริหารงาน ดร.ประพันธ์ ทรรศนียากรณ์ (ผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ)ซึ่งจากการสัมผัสผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์พบว่านักเรียนชนเผ่าทั้ง13 ชนเผ่า(มากที่สุดในประเทศไทย)มีทักษะภาษาไทยได้ดีและมีความรักความเป็นไทยสูง ซึ่งเดิมไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาไทยได้ หรือที่เรียกว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ไม่ใช่ภาษาแม่ หากจะเปรียบเทียบกับชายแดนใต้ ก็เหมือนกับภาษามลายูเป็นภาษาแม่ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง อะไรคือโมเดลจัดการศึกษาที่นี่ ท่านใช้นวัตกรรมใดทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดังกล่าว ซึ่งท่านกรุณาให้สัมภาษณ์ผู้เขียน และเปิดเผยว่า “การที่สามารถทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ดั่งที่เห็นทุกวันนี้ มันต้องใช้เวลา ประสบการณ์ ลองผิดลองถูก พัฒนาต่อยอดปรับปรุงนับ 30-40 ปีผ่านการวิจัย จนได้โมเดลนี้ขึ้น” ท่านเปิดเผยผ่านดุษฎีนิพนธ์ว่า “ ดุษฎีนิพนธ์ หรือ การวิจัยครั้งนี้ “กลยุทธ์การบ่มเพาะคุณลักษณะความเป็นไทยของนักเรียนชนเผ่าในโรงเรียนเอกชนการกุศลประเภทการศึกษาสงเคราะห์ในเขตภาคเหนือของประเทศ”
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบ่มเพาะคุณลักษณะ ความเป็นไทยของนักเรียนชนเผ่าในโรงเรียนเอกชนการกุศลประเภทการศึกษาสงเคราะห์ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบ่มเพาะคุณลักษณะความเป็นไทยของนักเรียนชนเผ่าในโรงเรียนเอกชนการกุศลประเภทการศึกษาสงเคราะห์ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของแผนกลยุทธ์การบ่มเพาะคุณลักษณะความเป็นไทยของนักเรียนชนเผ่าในโรงเรียนเอกชนการกุศลประเภทการศึกษาสงเคราะห์ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย” ท่านเสริมอีกว่า “โมเดลนี้พัฒนาผ่าน 7 กลยุทธ์ 1.ส่งเสริมการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน 2.การพัฒนาภาษาไทยในการสื่อสารด้วยการฟัง พูด อ่านเขียนได้อย่างถูกต้องชัดเจน 3. พัฒนาค่านิยมความเป็นไทย 4.สร้างการมีส่วนร่วมและเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย 5.ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในชีวิตประจำวัน 6. พัฒนาความประพฤติการปฏิบัติตนตามมารยาทไทยและการอยู่ร่วมอย่างสันติสุข และ 7.ส่งเสริมวินัยและการเข้าร่วมกิจกรรมความเป็นชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์”ท่านเสริมอีกว่า “ในทุกกลยุทธ์มีโครงการ กิจกรรมที่หลากหลายนอกเหนือจากเรียนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ รองรับเช่น กิจกรรมรณรงค์ทักษะการสื่อสาร 4 ทักษะฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาไทย ผ่านสุนทรพจน์ การร้องเพลงเดี่ยว ทีมประสานเสียง การเรียนพิเศษนอกเวลาเรียน การเรียงความ การอ่านร้อยกรอง การประกวดสี่ทักษะทุกห้องเรียน โครงการคลีนิคภาษาไทย เพื่อนช่วยเพื่อน และอื่นๆ แต่ทุกกลยุทธ์ ทำงานอย่างบูรณาการทั้งคน งบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ”
746 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.