พฤษภาคม 7, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

2563 ‘Journalist และ วารสารศาสตร์’ ต้องเป็นกระดูกสันหลัง เพื่อความอยู่รอดในอนาคต

แชร์เลย

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาใช้เวลา ๔ ปี ทำศัพท์นิเทศศาสตร์เสร็จแล้ว


พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา พร้อมคำอธิบายจัดทำต้นฉบับเสร็จเรียบร้อย แล้ว หลังจากที่ราชบัณฑิต นักวิชาการ และนักวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์ระดมสมอง ช่วยกันจัดทำ ใช้เวลา ๔ ปี

5  ได้คำศัพท์ประมาณ ๑,๐๐๐ คำ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุดบรรทัด ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศ ศาสตร์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เปิดเผยว่า คำศัพท์นิเทศศาสตร์ที่ได้ร่วมกันทำมีประมาณ ๑,๐๐๐ คำนั้น เป็นคำศัพท์ใหม่ที่ราชบัณฑิตยสภายังไม่ได้บัญญัติและให้ความหมายในภาษาไทยมาก่อน เช่น คำว่า platform ฐานช่องทาง, ฐานงาน : บริการ เว็บไซต์ หรือวิธีการทั้งออฟไลน์และออนไลน์ที่

10 ส่งสื่อไปยังผู้รับสารในยุคที่พลิกผันจากระบบสื่อสารมวลชนดั้งเดิม โดยผู้รับสามารถส่งกลับ ส่งต่อ หรือแบ่งปัน เนื้อหาได้ ในระบบออนไลน์โปรแกรมทำหน้าที่เป็นตัวกลางการสื่อสารที่ทำให้สามารถพัฒนา สร้างสรรค์ จัดการ และให้บริการ ตลอดจนเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ได้ คำว่า podcasting พ็อดคาสติง : การจัดเตรียมข้อมูลภาพและเสียง เพื่ออัปโหลดบนอินเทอร์เน็ต สำหรับบริการแก่สมาชิกผ่านอุปกรณ์มือถือและเครื่องคอมพิวเตอร์ตามความต้องการส่วนบุคคล

15 คำว่า disruptive communication การสื่อสารพลิกผัน, การสื่อสารภังควิวัฒน์ : การที่ สภาวการณ์ วิสัยทัศน์ และกรอบความคิดทางการสื่อสาร ได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยีซึ่งแทรกเข้ามากีดขวาง ระบบการสื่อสารของมนุษย์จนหยุดชะงัก ไม่ให้เคลื่อนไปตามทิศทางเดิม เป็นการล่มสลายของระบบเก่าที่มีเค้า เดิมอยู่ แต่ก็สร้างสรรค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ที่รวดเร็วและพลิกไปสู่สภาวการณ์การสื่อสารใหม่ ประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ กล่าวต่อไปว่า กรรมการจัดทำ

20 พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์มีราชบัณฑิต ๓ คน เป็นกรรมการและที่ปรึกษา กรรมการประกอบด้วย นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์จากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน มีนักวิชาการด้านหนังสือพิมพ์ ด้านโฆษณา ด้านภาพยนตร์ ด้านสื่อสารการตลาด นอกจากนี้ ในการประชุมบางครั้งยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชามา ให้ความเห็นด้วย คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ใช้เวลาประชุม ๙๘ ครั้ง ในเวลา ๔ ปี ซึ่ง เมื่อได้จัดทำต้นฉบับและทบทวนแก้ไขแล้วจะให้จัดพิมพ์เผยแพร่ในโอกาสต่อไป

ผศ.วรรณ์ขวัญ พลจันทร์ หัวหน้าสาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมาใครปรับตัวไม่ได้จะตายไปเลย ใครปรับตัวได้ก็จะอยู่รอดแล้วเห็นผลเดี๋ยวนั้น ในฐานะที่สอนนิเทศศาสตร์ แล้วมีใครบอกว่านิเทศศาสตร์ตายแล้ว ก็ไม่เคยเป็นผลแบบนั้น เพราะนิเทศศาสตร์ไม่เคยตาย แต่คนที่ตายคือคนที่ไม่ปรับตัว ตอนนี้คอนเวอร์เจนซ์ ต้องไปเป็น 10 แพลตฟอร์มในข่าวหนึ่งชิ้น เพราะเป็นวิธีจะให้คนเข้ามาเสพข่าวมากที่สุด ขณะเดียวคนตอนนี้ทุกคนดูยูทูป ดูเน็ตฟิกกันหมดแล้ว ทำให้คนไม่มีทุนหนา แต่มีคอนเทนท์และรู้วิธีสื่อสารจะสามารถอยู่ได้ เพราะมีแพลตฟอร์มสื่อในมือของตัวเอง

“แต่ใครที่ถูกเผาจากที่ไม่ปรับตัว คิดเพียงว่าอยู่กับของเดิมได้ ทั้งที่ตอนนี้วิธีขายของเปลี่ยนไปหมดแล้ว เป็นปรากฎการณ์ใหม่จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนขายและผู้บริโภค มีการดูคนอื่นขายของบนเฟซบุ๊ค ทำให้ตอนนี้สื่อกำลังวิ่งไปตามสิ่งที่ผู้บริโภควิ่งไป ส่วนที่เป็นวารสารศาสตร์ตอนนี้กลับมาเด็กรุ่นใหม่สนใจอีกครั้ง ถึงแม้เด็กรุ่นใม่ได้สนใจข่าว แต่สนใจบล็อค สนใจท่องเที่ยว รีวิว เด็กรุ่นใหม่สนใจในสิ่งใหม่ในวารสารศาสตร์ จะเห็นแนวโน้มจากในอินเตอร์เนตทั้งหมด ทำให้ Journalist ต้องเป็นกระดูกสันหลังจริงๆ”ผศ.วรรณ์ขวัญ ระบุ

ผศ.วรรณ์ขวัญ มองไปถึงความท้าทายของสื่อในปี 2563 มีสิ่งที่น่าสนใจนอกจากคอนเทนท์ต้องดีและมีความคิดสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญจะมี Big Data ที่เข้ามา หากสื่อไหนสามารถใช้ Big Data ได้จริง สามารถเจาะตลาดได้จริงจะอยู่ได้ ต้องให้ Big Data อยู่ร่วมกับเทคโนโลยี ดังนั้นหากสื่อใดที่ยังไม่ปรับตัว ต้องรู้ตัวให้ได้ เพราะถ้านรกมาจริงจะพลิกไม่ทัน ทุกอย่างรอบตัวจะดูเกรี้ยวกราด แต่หากมองเชิงบวกจะเป็นโอกาส แต่โอกาสนี้ต้องปรับตัวไปด้วย จะใช้ชื่อเสียงเดิมๆ หากินไม่ได้แล้ว เพราะเป็นเรื่องผู้บริโภคยุคใหม่ ถ้าคนทำสื่อเดิมๆ ไม่เปลี่ยนวิธีการสื่อสารจะตายแน่ๆ เพราะสื่อที่จะอยูได้คือสื่อที่ปรับเปลี่ยนแล้วเท่านั้น

 1,068 total views,  2 views today

You may have missed