เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ว่าด้วย..กฎการปะทะ หรือการใช้กำลัง

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)

หลังจาก ผบ.กองทัพบก เยือนชายแดนใต้ และให้ทัศนะต่อเรื่องทหารยิงชาวบ้านบนเขาตะเวว่า รัฐจะไม่ปกป้องคนทำผิดและพูดถึงกฎการปะทะที่รัฐผู้ถืออาวุธถือกฎหมายจะต้องยึดมั่นและมีสติตลอดเมื่อเผชิญกับอีกฝ่ายคือกฎการปะทะ ทำให้สื่อโซเชียลคนชายแดนใต้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่องเรื่องนี้มากมายรวมทั้งวาทะเด็ดประจำปีชายแดนใต้ “จากสำคัญสู่ตกใจยิง”ของผู้ใหญ่ในกองทัพภาคที่4แต่ที่น่าสนใจคือการเขียนภายใต้หลักวิชาการมากๆคือ ข้อเขียนของรอมฎอน ปันจอรที่อธิบายในเฟสบุ๊คส่วนตัวและมีการแชร์ต่อมากผู้หนึ่งโดยท่านได้กล่าวว่า “
จริง ๆ แล้ว กองทัพไทยนั้นมี #กฎการปะทะ หรือ #กฎการใช้กำลัง อยู่แล้ว ฉบับล่าสุดนั้นกระทรวงกลาโหมมีคำสั่งไว้เมื่อปี 2550 ในภาพประกอบคือ #หลักการทั่วไป ที่มีการเรียนการสอนและอบรมกันอยู่ภายในกองทัพ ส่วนจะเข้มข้นมากน้อยเพียงใดนั้นก็น่าจะพิสูจน์ได้จากข้อกังวลของ ผบ.ทบ. ตอนลงพื้นที่ชายแดนใต้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาหลังเหตุการณ์

#สามศพตะเว ที่กำชับในเรื่องกฎการปะทะกับกำลังพลให้มากขึ้น ผมมีข้อสังเกตว่านอกเหนือจาก #ความหละหลวม แล้ว ปัญหาใหญ่ของการใช้กำลังของรัฐใน #พื้นที่พิเศษ แห่งนี้ก็คือ #ความสับสน ของกำลังพลต่อ #นโยบาย จากหน่วยเหนือ กล่าวคือตกลงแล้วจะในเชิงนโยบายจะให้ความหมายต่อ #สถานการณ์ ในชายแดนใต้นี่อย่างไร แม้มีกฎหมายพิเศษ แต่ก็ซ้อนทับกัน จนภารกิจใน #การบังคับใช้กฎหมาย ก็ซ้อนเหลื่อมไปกับ #ปฏิบัติการทางบก ซึ่งมีอยู่หลากหลาย ทั้งเพื่อป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน หรือแม้แต่การปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่สงคราม ซึ่งมีรายละเอียดในทางปฏิบัติแตกต่างกันอยู่  นี่ยังไม่รวมการตีความและเคร่งครัดของฝ่ายปฏิบัติ ที่ส่งผลไม่บวกก็ลบต่อภาพรวมของสถานการณ์ด้วยเช่นกัน

ผมไม่แน่ใจว่า ด้วยเหตุที่เป็นการใช้กำลังเฉพาะสถานการณ์เช่นนี้ ทาง กอ.รมน.ภาค 4 สน. ได้กำหนด #กฎการใช้กำลังเฉพาะ ที่ตามกฎหมายต้องเสนอให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอนุมัติแล้วหรือยัง? หากว่าไม่มีสิ่งนี้ผมว่าเรื่องราวน่าจะใหญ่โตทีเดียว

เป็นไปได้หรือไม่ว่าบทเรียนจากกรณีตะเว ซึ่งสะท้อนปัญหาขีดความสามารถของทหารที่จะปรับปรุงแก้ไขภายใต้กลไกของหน่วยงานความมั่นคงเท่านั้นอาจไม่เพียงพอและยังทิ้งข้อกังขาให้กับสังคม ประชาชนพลเรือนก็มีสิทธิที่จะรู้และเสนอแนะให้มีการปรับปรุงทบทวนอย่างไรด้วย เพราะอาวุธและชุดเกราะที่่ท่านมีติดตัวนั้นก็ซื้อหามาด้วยภาษีของเรา ๆ ที่สำคัญ ความเสียหายข้างเคียงที่เกิดจากการใช้กำลังนั่นก็ตกอยู่ที่ประชาชนนี่แหละครับ ด้วยเหตุนี้ กลไกของรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนก็ควรแสดงบทบาทในการตรวจสอบ ถ่วงดุล และทำให้แน่ใจว่า “กฎการปะทะ” (Rule of Engagement) ของหน่วยกำลังจะมีฐานความชอบธรรมและไม่ทำให้พลเรือนต้องซวยอีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น กมธ.ทหาร กมธ. ความมั่นคง กมธ. กฎหมาย หรือ กมธ. วิสามัญฯ เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิฯ ที่เพิ่งตั้งเมื่อสัปดาห์ก่อน  ทั้งหมดนี้ก็ควรทำคู่ขนานไปกับการดำเนินคดีตามกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัตินะครับ”

 6,524 total views,  2 views today

You may have missed