เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

“วันสิทธิมนุษยชนสากล” การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนคือหลักการอิสลามและทางออกปัญหาชายแดนใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีคือ“วันสิทธิมนุษยชนสากล”การก่อตั้งวันสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นที่การประชุมใหญ่ที่ 317 ของสมัชชาใหญ่เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2493 เมื่อสมัชชาใหญ่ประกาศข้อมติที่ 423(5) เชิญชวนให้รัฐสมาชิกทั้งหมดและองค์การอื่นที่สนใจเฉลิมฉลองวันดังกล่าวตามที่เห็นสมควร
ชายแดนใต้ก็เช่นกันได้จัด“วันสิทธิมนุษยชนสากล ครั้งที่ 5” ในหัวข้อสิทธิมนุษยชนกับกระบวนการสันติภาพทางออกในการแก้ไขความรุนแรงพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ เวลา 13.00-17.00น ณ ห้องประชุมปาตานีเซ็นเตอร์(มัจลิสหลังเก่า จปัตตานีในงานมีกิจกรรม การแสดงปันจาซีลัตอนาซีด กอมปัง วง Musra มีโต้วาทีหัวข้อ มุมมองสิทธิมนุษยชนภายใต้บริบทพื้นที่ความขัดแย้ง Highlight
ของงานอยู่ที่ การเสวนาหัว ข้อสิทธิมนุษยชนสากลกับกระบวนการสันติภาพทางออกในการแก้ไขความรุนแรงพื้นที่ปาตานีซึ่งมีวิทยากรจากในและนอกพื้นที่ชายแดนใต้

กล่าวคือ
1. ผู้ช่วยาสตร์จารย์ ศรีสมภพ จิตภิรมศรี ผู้อำนวยการ DeepSouth watch 2.นายอานนท์ ชวาลาวัณย์โครงการการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน(Ilaw)3.นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน4. นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ ประธานมูลนินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนการพัฒนา 5. นายอับดุลกอฮา อาแวปูเต๊ะ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งทั้งหมดเห็นสอดคล้องกันว่า การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจากรัฐหรือฝ่ายเห็นต่างคือทางออกของปัญหาชายแดนใต้ เพราะตลอดไฟใต้ 15 ปียืนยันทั้งเชิงประจักษ์และวิชาการว่า ชายแดนใต้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะจากรัฐที่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าซ้อมทรมาน การสังหารนอกระบบกฎหมาย และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ดังนั้นในฐานะรัฐจะต้องไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนก่อนเพื่อเป็นการสร้างภาวะแวดล้อมของกระบวนการพูดคุยสันติภาพอันเป็นทางออกในการแก้ไขความรุนแรงพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ในที่สุด
(ชมและฟังย้อนหลังในhttps://www.facebook.com/korporsor/videos/2527717864138902/UzpfSTEyNDU2MDQxMTE6MTAyMjEyNDM1Mjg2MTgxODU/)
สำหรับผู้เขียนในฐานะนักวิชาการอิสลามมีความคิดเห็นว่าทุกภาคส่วนไม่ว่ารัฐ ผู้เห็นต่าง ประชาชน โดยเฉพาะผู้เรียกร้องหลักการอิสลามจะต้องให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่ง“สิทธิมนุษยชน โดยความหมายแล้ว หมายถึงสิทธิทั้งหลาย ที่เป็นสิทธิพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีของมนุษย์ และในการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ เป็นสิทธิที่มีการคุ้มครองป้องกันในทางกฎหมายเป็นพิเศษสมกับความสำคัญของสิทธิดังกล่าว” อิสลามให้ความสำคัญมาตั้งแต่1400 ปีแล้วโดยศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวไว้ความว่า “จงบอกพวกเขาว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประกาศว่าจะไม่มีการละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของพวกท่านจนกระทั่งวันที่พวกท่านจะได้พบกับพระผู้อภิบาลของพวกท่าน จงบอกพวกเขาว่า พระองค์ได้ทำให้ทรัพย์สินและชีวิตของพวกท่านปลอดภัยไม่ถูกละเมิดเช่นเดียวกับในวันนี้”
อิสลาม มีเป้าหมายทีจะผดุงหลักประกันพื้นฐาน ซึ่งเป็นเจตนารมณ์แห่งชารีอะห์ 5 ประการคือ หลักประกันความมั่นคงด้านศาสนา/ความเชื่อ (Din) หลักประกันความมั่นคงด้านชีวิต (Nafs) หลักประกันความมั่นคงด้านการสืบสายพันธุ์ (Nasl) หลักประกันความมั่นคงด้านทรัพย์สิน (Mal) และหลักประกันความมั่นคงด้านสติปัญญา (‘Aql)


สิทธิมนุษยชนในอิสลามตั้ง อยู่บนหลัก 2 ประการ
(1) หลักแห่งความเสมอภาคที่มีต่อมนุษย์
(2) หลักเสรีภาพที่มีให้กับมนุษย์
อิสลามได้วางพื้นฐานของหลักความเสมอภาค ให้อยู่บน 2 หลักเกนฑ์
(1) จุดกำเนิดเดียวกันของมนุษย์
(2) ทุกคนมีเกียรติในความเป็นมนุษย์
อัลลอฮ์ทรงตรัสความว่า
“โอ้มวลมนษย์! แท้จริงเราได้บังเกิดพวกเจ้ามาจากชายหนึ่งและหญิงหนึ่ง และบันดาลพวกเจ้าให้แตกออกเป็นเผ่าพันธ์และเป็นกลุ่มต่าง ๆ เพื่อพวกเจ้าจะได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน แท้จริงผู้มีเกียรติที่สุดในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลเลาะฮ์ คือผู้ที่มีความยำเกรง” ( อัลหุญุร๊อต 13 )
ปัจจุบันโลกอิสลามได้ลงปฏิญญา “อิสลามว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย 25 มาตรา”(โปรดดูในhttp://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=54&id=1006)
กล่าวโดยสรุป การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนคือหลักการอิสลามและทางออกปัญหาชายแดนใต้ที่เราต้องร่วมด้วยฃ่วยกัน
ท้ายนี้ผู้เขียนขอนำทัศนะทนายอดิลัน อาลีอิสเฮาะให้ทัศนะว่า “เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล ผมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ความขัดแย้ง และดำรงตำแหน่งกรรมาธิการคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ขอเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมกันเคารพสิทธิของกันและกัน ยุติความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ
หากพี่น้องประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม หรือพบปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน สามารถร้องเรียนได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ใกล้บ้านท่าน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐสอดคล้องกับข้อบังคับตามกฎหมาย หรือนโยบายของรัฐที่ได้กำหนดไว้
ศูนย์ประสานงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 1 จังหวัดยะลา พรรคพลังประชารัฐ (ส.ส.อาดิลัน อาลีอิสเฮาะ) ยินดีเป็นส่วนหนึ่งเพื่อรับเรื่องร้องเรียน และส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปครับ./“

#ต่างทำหน้าที่แต่เป้าหมายเดียวกัน
#ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน
หมายเหตุโปรดดู
1.คู่มือสิทธิมนุษยชนศึกษาสำหรับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ / มะรอนิง สาแลมิง, อับดุลสุโก ดินอะ (อุสตาซอับดุชชะกูร บิน ชาฟิอีย์), หมัดเฟาซี รูบามา, มัสลัน มาหะมะ, สุชาติ เศรษฐมาลินี ; บรรณาธิการ, โชคชัย วงษ์ตานี, ภพธรรม สุนันธรรม, นงเยาว์ อบสุวรรณ, เจษฎา ไชยคุปต์
http://library.nhrc.or.th/ULIB/dublin.php?&f=dublin&ID=8789
2.บางประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและอิสลาม
http://oknation.nationtv.tv/blog/shukur/2009/10/10/entry-3
3.รายงาน สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
https://ilaw.or.th/node/5269
4.คดีความมั่นคงชายแดนใต้ลดลง การซ้อมทรมานยังคงอยู่
https://ilaw.or.th/node/396

///////////////////////////////////////////////

 1,796 total views,  2 views today

You may have missed