(อจ.สูโกร ดินอะ)
แม้สภาจะล้ม กมธ. ม. 44 แต่ประชาชนยังมีร่างกฎหมาย “ปลดอาวุธ คสช.”
โดย iLaw
.
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรนับคะแนนใหม่ลงมติ “ไม่เห็นชอบ” ให้ตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระทำของประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และการใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44
.
ด้วยมติเห็นด้วย 5 เสียง ไม่เห็นด้วย 244 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง จากองค์ประชุม 261 เสียง
.
โดย ส.ส. ฝ่ายค้าน 244 คน ‘วอล์กเอาต์’ ไม่เข้าร่วมการประชุม เพราะเห็นว่าที่ประชุมสภามีมติเห็นชอบตั้ง กมธ. ดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562
.
แม้ว่า สภาผู้แทนฯ จะตั้ง กมธ. ศึกษาผลกระทบจากประกาศและคำสั่ง คสช. ไม่สำเร็จ แต่ก็ยังมีร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย (ฉบับประชาชน) ที่ใกล้เตรียมบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภาแล้ว
.
ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. หรือ ร่างกฎหมาย “ปลดอาวุธ คสช.” เป็นการใช้สิทธิเสนอกฎหมายโดยประชาชน ตามมาตรา 133(3) ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างน้อย 10,000 รายชื่อเสนอกฎหมายได้ในหมวด 4 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ
.
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวยกเลิกประกาศและคำสั่งอย่างน้อย 35 ฉบับในประเด็นเสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพสื่อ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิชุมชน
.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://ilaw.or.th/10000sign
.
การล่ารายชื่อ “ปลดอาวุธ คสช.“ เพื่อ “ทวงคืนสถานการณ์ปกติ” เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 โดยเครือข่ายภาคประชาสังคมกว่า 30 องค์กร เดินทางรวบรวมรายชื่อจากประชาชนทั่วประเทศจนได้รายชื่อจำนวน 13,409 รายชื่อ และเข้ายื่นต่อประธานสภาผู้แทนฯ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
.
หลังจากนั้นร่างกฎหมาย “ปลดอาวุธ คสช.” ที่ประชาชนเสนอได้ผ่านขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
.
ปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นในเว็บไซต์รัฐสภาไทยตั้งแต่วันที่ 4-18 ธันวาคม 2562 ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อประชาชน
.
เข้าไปแสดงความคิดเห็นได้ที่ : https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=62230&filename=Section_77
.
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการข้างต้นแล้วประธานรัฐสภาจะพิจารณานำร่างพ.ร.บ.นั้นเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมของสภาเพื่อพิจารณาว่าจะออกเป็นกฎหมายหรือไม่
.
ดูขั้นตอนการเข้าชื่อเสนอกฎหมายประชาชน: https://ilaw.or.th/node/4682
หมายเหตุรายงานนี้คัดลอกจากPage iLaw
726 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.