เมษายน 30, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

“ข้อเสนอของผู้หญิงชายแดนใต้ต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ/สันติสุข”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) ..รพี  มามะ บรรณาธิการข่าว.

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

ที่ห้องประชุมศรีวังสา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขต ปัตตานี ผู้เขียนในฐานะผู้ชายซึ่งถูกเชิญในนามนักวิชาการศาสนา ให้เข้าร่วมเวทีผู้หญิงกับสันติภาพชายแดนใต้  Woman and Peace จัดโดย เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ หรือ Civic Women ร่วมกับศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ องค์กรภาคี ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขต ปัตตานี, ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต)., กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สภาประชาสังคมชายแดนใต้ UN WOMEN และ UNDP จัดสัมมนาเรื่องผู้หญิงกับกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ เนื่องในวาระวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล โดยมีแกนนำผู้หญิงจากภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณ 100 คนและตัวแทนผู้ชายประมาณ 10 ชีวิตมาร่วมงานนี้

สำหรับวัตถุประสงค์ การจัดงานครั้งนี้ เพื่อเปิดพื้นที่กลางให้ผู้หญิงทั้งพุทธ มุสลิมและหลากหลายเชื้อชาติวัฒนธรรม  ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งเสนอข้อห่วงใย และข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยแบ่งกลุ่มออกเป็นห้ากลุ่มด้วยกัน เช่น ความคิดเห็นของชุมชนต่อกระบวนการกระบวนการพูดคุยสันติภาพ กระบวนการยุติธรรม สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบวนการพูดคุย พหุวัฒนธรรม และการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง

ในช่วงบ่ายมีการนำเสนอของกลุ่มต่างๆ ให้แก่ พลตรีเกรียงไกร ศรีรักษ์ เลขานุการคณะพูดคุยฯข้อเสนอของผู้หญิง เช่น กระบวนการพูดคุยแบบมีส่วนร่วมที่ยึดโยงกับเสียงของผู้หญิงและประชาชนในพื้นที่ การคำนึงถึงการสร้างสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้อต่อกระบวนการพูดคุยในสามเรื่องสำคัญ คือ กระบวนการยุติธรรม สังคมพหุวัฒนธรรม และพื้นที่การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ผู้ควรมีส่วนร่วมในเวทีพูดคุย ด้วยสโลแกน“No Woman No Peace” “สันติภาพ สตรีสร้างได้” “สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ต้องอยู่บนความหลากหลาย”

ตัวผมเองผมนำเรียนกับผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย ว่า ผมมีประสบการณ์โดยตรงกับกระบวนการพูดคุย เพราะว่า ปี    253-2533 ผมเป็นเป็นผู้บังคับหน่วยทหารพรานเพื่อปรามปรามโจรจีนคอมมิวนิสมาลายา แถวสุคีริน  อัยเวง อัยตือกอ อัยกือสา เบตง ผมเสี่ยงกับชีวิตมีลูกน้องเหยียบกับระเบิดขาขาด บาดเจ็บ ล้มตาย   ผมเองในขณะนั้นยังสงสัยว่า ทำไมผู้บังคับบัญชาในระดับแม่ทัพระดับผู้บัญชาการกองพลทำไมต้องไปจูบปากเจรจาจีนเป็น จคม. ในขณะที่เจรจาไปแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่ให้ผมไปเสี่ยงอันตรายขาขาด บาดเจ็บล้มตาย เช่นเดียวกันในทุกวันนี้ การสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินการต่อพื้นที่ของฝ่ายความมั่นคงที่ต้องรับผิดชอบชีวิตไม่ว่าจะเป็นพี่น้องไทยพุทธหรือไทยมุสลิม ที่อยู่ในพื้นที่ให้มีความปลอดภัยในชีวิต ต้องดำเนินการควบคู่กันนะครับ  ในส่วนของการพูดคุยก็ต้องดำเนินไป ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติอยู่ในพื้นที่ ถ้าเราไม่ไปสร้างความเข้าใจเขาจะไม่รับรู้เรื่องเหล่านี้ และอาจจะมีอคติต่อการพูดคุย ส่วนพี่น้องประชาชนถ้าเป็นปัจจุบันผมคิดว่า ตังแต่ยุค พลเอกอุดมชัย สมัยที่ท่านเป็นหัวหน้าคณะพูดคุย ปีที่แล้ว สิ่งแรกที่ท่านดำเนินการคือการสร้างความเข้าใจ กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ให้ได้รับร่ากระบวนการพูดคุยสันติสุขดำเนินการอย่างไร นโยบายของรัฐมีอย่างไร จะพูดคุยกับใคร ทั้งต่างประเทศและในประเทศ ทุกกลุ่มที่เขาอยากคุยด้วย คุยด้วยไม่บังคับ ด้วยความจริงใจ ด้วยความเป็นธรรม เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

อันนี้เป็นสิ่งที่ พลเอกอุดมชัยกำหนดเป็นนโยบายหลักหลังจากที่รับนโยบายมาจากท่านนายกรัฐมนตรี อันนี้เราเน้นย่ำแล้วก็เป็นการสร้างความเข้าใจ เป็นการเปิดเวทีครั้งแรกที่ มอ ปัตตานี มีพี่น้องหลากหลายแล้วก็สื่อมวลชนต่างๆ มารับรู้รับทราบหลังจากนั้นไปเปิดตัวต่อสมาคมผู้สื่อต่างประเทศ ไปพบท่านทูตานุทูต คณะต่างๆ อีกมากมาย  แต่กระบวนการพูดคุยไม่ใช่พูดกันวันนี้ พูดกันพรุ่งนี้ มันจะสำเร็จในเวลาอันสั้น เราต้องใช้เวลาหลายสิบปี ของฟิลิปปินส์ของหลายสิบปี ของเราเอาจริงเอาจังประมาณสักสี่ห้าปีหลังๆ  ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่ว่า พัฒนาการ วันนี้ก็ถือว่า มีพัฒนาการที่ก้าวหน้าของกระบวนการพูดคุย ที่เราได้เอาภาคส่วนต่างๆ เข้ามา มีส่วนร่วม  คณะทำงานระดับพื้นที่ประกอบด้วย หลากหลายส่วน ปีที่แล้วเรากำหนดแค่ 60 กว่าคน ปีนี้ท่านแม่ทัพบอกว่าให้มากันอีก ให้มาเยอะๆ เรารวบรวมกันได้ 130 คน จากทุกภาคส่วน

ในขณะที่ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาอิสลามให้แก่โครงการนี้ ให้ทัศนะว่า  “สตรีที่ลงมามีส่วนร่วมกับเริ่องเหล่านี้เป็นสิ่งศาสนาอิสลามสนับสนุน ให้ร่วมกันทำความดี และยับยั่งความชั่ว ถือว่ามีความก้าวหน้ามากเมื่อเทียบกับสตรีมุสลิมที่อื่นๆ”

รายงานเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2562  นายตูแวดานียา มือรีงิง มีส่วนในรายงานฉบับนี้

หมายเหตุ

ดูเสวนาย้อนหลังใน สื่อ เพจ spm news

https://www.facebook.com/100000593888870/posts/3139367419426357/?d=n

 

 

 

 

 782 total views,  2 views today

You may have missed