พฤษภาคม 6, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

“การแสวงหาสันติภาพจากผู้คนที่หลากหลาย “ บทเรียนจากเวทีนานาชาติ

แชร์เลย

โดย ดร.อัมพร หมาดเด็น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์…

ในพื้นที่ของความรุนแรงที่ใช้กำลัง อาวุธ และเกิดความสูญเสีย ล้มตายของผู้คน มีหลายความพยายามในการแก้ปัญหา หรือแม้แต่แสวงหาอำนาจผลประโยชน์จากปัญหาเหล่านั้น

การถกเถียงและข้อเสนอที่น่าสนใจเกิดในหลายเวที ทุกระดับ ในชุมชนและพื้นที่ความขัดแย้งมีการปฏิบัติเชิงประจักษ์ จากประสบการณ์จริง และสะท้อนว่าระเบียบหรือมติบางอย่างมีข้อจำกัดอะไรบ้าง หรือต้องใช้กระบวนการทำงานแบบไหนถึงจะเป็นมรรคผล

ระหว่างการทบทวนวาระงานต่างๆ ทั้งข้อเสนอจากชนกลุ่มน้อย (ชื่นชอบการใช้คำว่าคนพื้นถิ่น คนท้องถิ่น คนดั้งเดิม ชาวพื้นเมือง อะไรทำนองนี้มากกว่า หากแต่นัยของคำว่าชนกลุ่มน้อยยังหมายถึงสถานภาพทางสังคม เพศ และโอกาสด้านอื่นๆ ด้วย) ในลักษณะต่างๆ ของแต่ละรัฐ การทบทวนข้อเสนอว่าด้วยที่ประชุมสำคัญที่เกี่ยวพันกับสิทธิที่จะได้รับการปกป้องในด้านต่างๆ รวมทั้งการคุ้มครองจากรัฐ ซึ่งรวมไปถึงองค์กรร่วมระหว่างรัฐในระดับสากล ภูมิภาค และอนุภูมิภาค มีหลากมิติงานที่คาบเกี่ยวกันเสมอ

ระหว่างทางก่อนครบรอบ 20 ปี มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 1325 (UNSCR 1325) & WPS agenda & วาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ว่าข้อเสนอการหยุดการปะทะ หยุดยิง หยุดถล่ม การตั้งโต๊ะเจรจาพูดคุยกันใหม่ การมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่มและมีผู้หญิงในงานเหล่านี้เพื่อสะท้อนแก้เปราะปมปัญหาด้วยกันตั้งแต่ต้นเพื่อเข้าใจถึงความเป็นอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี

ท่ามกลางความกลัวและไม่มั่นใจของรัฐ มีการใช้วาทะที่กินใจเพื่อยื่นข้อเสนอใหม่ๆ อาจนำไปสู่การพูดคุย ถกเถียง ข้อปฏิบัติบางประการ หรือไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นราก หากแต่นำปัญหาอื่นๆ ตามมา หรือแม้แต่พูดถึงและทบทวนก่อนวาระรายงาน CRC, Beijing+20, CEDAW & กลไกอีกมากมายยังอ่อนกำลังในบ้านเราและอีกหลายที่

ขณะที่หลากองค์กรท้องถิ่นที่อื่นๆ รวมทั้งองค์กรร่วมระหว่างประเทศเรียกร้องให้หันกลับมองมายังรัฐและถามถึงความร่วมมือ ความรับผิดชอบ และบทบาทในการดำเนินงานต่างๆ ในฐานะพันธกรณีผูกพัน ทั้งที่หลายรัฐไม่อยู่ในสภาวะของสงครามและความขัดแย้งที่นำไปสู่การใช้ความรุนแรง แต่เชื่อมั่นว่าข้อตกลงที่มีต้องปรับใช้กันจะส่งผลดีต่อทุกฝ่ายโดยเฉพาะสมาชิกในรัฐ

สรุปโดยสังเขปจากงาน
1. High Level Seminar “Strengthening Women’s Participation in Peace Processes: What Roles and Responsibilities for States?”

Sala delle Conferenze Internazionali Ministry of Foreign Affairs, UN Women & International Cooperation, Rome, Italy.

Dec 3-4, 2019
#RomeInclusivePeace
#WPSin2020

2.ASEAN Women Interfaith Dialogue, “Promoting Understanding for an Inclusive & Peaceful Society”

ASEAN Institute for Peace and Reconciliation, Jakarta, Indonesia
Nov 12-13, 2019

 1,124 total views,  2 views today

You may have missed