แต่ก็มีคำตอบยากๆ ให้ลองไปใช้ด้วย
1. บุคคลทุกคนมีสิทธิในชีวิตเนื้อตัวร่างกายและสิทธิในความเป็นส่วนตัว รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอของตน
2. เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อาจล่วงละเมิดได้ การจัดเก็บดีเอ็นเอประชาชนในจชต. โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงนั้นเป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงว่าจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่มีบทกฎหมายใดที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่กระทำได้
3. การจัดเก็บแบบหละหลวมโดยเฉพาะการจัดเก็บโดยระบุชื่อของเจ้าของดีเอ็นเอไว้ที่กล่องอาจทำให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมายสามารถเข้าถึงข้อมูลดีเอ็นเออันเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของเจ้าของดีเอ็นเอได้ และอาจเปิดช่องให้มีการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในทางที่ไม่ชอบ อย่างมีอคติ และเป็นผลร้ายต่อเจ้าของดีเอ็นเอ
กระบวนการเก็บและรักษาดีเอ็นเอเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่กระทบถึงสิทธิของบุคคล
4.การดำเนินการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอของประชาชนในลักษณะเช่นนี้ ทำให้สงสัยว่าจะเป็นการดำเนินการที่ขัดกับ “กฎแห่งห่วงโซ่การดูแลพยานหลักฐาน” (Chain of Custody- CoC ) ที่จะต้องดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย มีวิชาชีพ มีจริยธรรม โดยหน่วยงานที่เป็นอิสระ
5. การทำงานของหน่วยงานที่เป็นอิสระต่อกันในการจัดการเรื่องดีเอ็นเอหมายถึง มีการควบคุมการเข้าถึง การส่งต่อ รับมอบ เก็บรักษา การตรวจพิสูจน์ และการส่งและใช้ผลการตรวจพิสูจน์ โดยหน่วยงานที่เป็นอิสระต่อกัน และมีการลงชื่อเจ้าหน้าที่ไว้ทุกขั้นตอน ทั้งมีมาตรการป้องกันและตรวจสอบไม่ให้บุคคลใดนำข้อมูลไปใช้โดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6. การจัดเก็บโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่จชต.อาจเปิดโอกาสให้มีการนำดีเอ็นเอของประชาชนไปใช้เป็นหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อประกอบการดำเนินคดีต่อบุคคลโดยไม่ชอบด้วยขั้นตอนของกฎหมาย หรือกลั่นแกล้งบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ รวมทั้งการดำเนินคดีในข้อหาความผิดร้ายแรงที่บางคดีอาจมีโทษถึงขั้นประหารชีวิต เจ้าหน้าที่รัฐจึงควรคำนึงถึงหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
ภาพเกี่ยวกับการตรวจเก็บดีเอ็นเอผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกทหารเกณฑ์ในพื้นที่จชต. เดือนเมษายน 2562 ขอบคุณ IO
1,094 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.