อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน
ปตานีหรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นที่ทราบกันดีว่ามีผู้คนใช้ภาษามลายูปตานีหรือถิ่นใช้ในการสื่อสาร ในหลายรายงานทางวิชาการและเชิงประจักษ์ พบว่า ‘ภาษามลายู’ ที่นี่ อดีตรัฐไทยส่วนกลางพยายามกลืนความเป็นปตานีผ่านภาษา ทำให้ทักษะด้านภาษาดังกล่าวนับวันยิ่งอ่อนลงจากอดีต ในขณะที่ ปัจจุบันก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกัน ว่า #ภาษามลายูมีทั้งสอนในหลักสูตรอิสลามศึกษาทั้งโรงเรียนรัฐ(แบบเข้ม) โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาและตาดีกา ไม่เพียงแต่รัฐเองก็ยังสนับสนุนงบประมาณดำเนินการผ่านเงินอุดหนุนต่อโรงเรียน ต่อครู หรือจัด กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือกิจกรรมสาธารณะอื่นๆ (มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ตัวชี้วัดและกิจกรรมโดยเฉพาะช่วง 15 ปีไฟใต้)
ในขณะที่หลายป้ายทางการเดิมมีภาษาไทย อังกฤษ แต่ปัจจุบัน มีภาษามลายูอักษรยาวีหรือ รูมี เช่น ศอ.บต. โรงพยาบาล หรือท้องถนน (เพียงแต่หลายแห่งพบภาษามลายูแปลกๆพอสืบไปสืบมาก็คนมลายูมุสลิมนี่แหละเป็นคนเขียน) ส่วนเอกชนเองก็มีหลายที่ให้ความสำคัญโดยเฉพาะ Big C ปัตตานี
ในอดีตมีการการกดทับด้านภาษาเช่นชื่อหมู่บ้านภาษามลายูเป็นภาษาไทย แต่เมื่อปี2556 ถ้าจำไม่ผิดสมัยท่านเลขาธิการ พ.ต.อ.ทวี สอดส่องมีการส่งมอบป้ายหมู่บ้านที่เป็นชื่อมลายูในโครงการ “ชื่อบ้าน นามเมือง ในพื้นที่ชายแดนใต้” ขึ้น โดยมีศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PUSTA) ร่วมกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นผู้ดำเนินการ และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากมูลนิธิเอเชียและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)ซึ่งในเนื้อข่าวมีการพาดหัวว่า “ การ คืนชื่อหมู่บ้านชายแดนใต้ เป็นส่วนหนึ่งของการคืนอัตลักษณ์ภาษามลายูสู่ชุมชน อีกหนึ่งมิติช่วยดับ ไฟใต้”
“สำหรับหมู่บ้านนำร่องทั้ง 10 แห่งที่ได้รับการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านในครั้งนี้ ได้แก่ 1.หมู่บ้านปรีดอ ม.8 ต.บาราเฮาะ อ.เมือง จ.ปัตตานี เปลี่ยนเป็น หมู่บ้านบลีดอ 2.หมู่บ้านลดา ม.3 ต.บาราเฮาะ อ.เมือง จ.ปัตตานี เปลี่ยนเป็น หมู่บ้านลาดอ 3.หมู่บ้านมะหุด ม.2 ต.ปะโด อ.มายอ จ.ปัตตานี เปลี่ยนเป็น หมู่บ้านมาโงะฮ 4.หมู่บ้านเขาวัง ม.3 ต.ตรัง อ.มายอ จ.ปัตตานี เปลี่ยนเป็น หมู่บ้านบูเกะแว 5.หมู่บ้านป่าไหม้ ม.1 ต.ดอนทราย อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี เปลี่ยนเป็น หมู่บ้านฮูตันฮางุส
6.หมู่บ้านบางเก่าเหนือ ม.1 ต.บางเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เปลี่ยนเป็น หมู่บ้านมืองาแบ ฮีเล 7.หมู่บ้านบางเก่าใต้ ม.2 ต.บางเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เปลี่ยนเป็น หมู่บ้านมืองาแบ 8.หมู่บ้านบางเก่าทะเล ม.3 ต.บางเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เปลี่ยนเป็น หมู่บ้านมืองาแบ ปาตา 9.หมู่บ้านเงาะกาโป ม.3 ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา เปลี่ยนเป็น หมู่บ้านกือปาลอบาตัส เกาะกาโป และ10.หมู่บ้านบึงฉลาม ม.10 ต.ไพรวัน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เปลี่ยนเป็น หมู่บ้านกูแบยู”
ดังนั้นจะบอกว่า “ภาษามลายูเราด้อยนอกจากเราจะโทษคนอื่นเเล้วเราต้องโทษตัวเองด้วย? หากกลับไปดูหลักสูตรในวิชาภาษามลายูในโรงเรียนต่างๆของรัฐและเอกชนหรือตาดีกา (ซึ่งหลักสูตรนี้คณะทำงานมาจากมลายูมุสลิมจากหลากหลายองค์กรด้านการศึกษา)จะพบว่า มีการกำหนดว่า ต้องรู้และเข้าใจกระบวนการฟัง พูด อ่าน และเขียน มีทักษะและเห็นคุณค่าในการใช้ภาษามลายูเพื่อการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งวิทยาการเกี่ยวกับศาสนาอิสลามและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ได้ แต่ในเชิงประจักษ์กลับพบว่า ทักษะทั้งสี่ด้านฟัง พูด อ่าน เขียนยังไม่เป็นที่พอใจซึ่งสอดคล้องกับใน ผลการวิจัยที่พบว่า สื่อท้องถิ่นที่ปรากฏในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ประกอบด้วย 6 ประเภท คือ 1) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 2) นิตยสาร วารสารและจุลสาร 3) หนังสือ คู่มือและเอกสารทางวิชาการ 4) สื่อวิทยุและโทรทัศน์ 5) สื่อบุคคลในชุมชน และ 6) สื่อเฉพาะกิจในชุมชน (เช่น การ์ดต่างๆ แผ่นพับ ใบปลิว ใบประกาศ และป้ายชื่อต่างๆ) ส่วนผลการทดสอบทักษะความสามารถในการอ่านและเข้าใจภาษาต่างๆ ของคนในพื้นที่พบว่า คนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีทักษะความสามารถในการอ่านและเข้าใจภาษาไทยดีที่สุด รองลงมาคือ ภาษามลายูอักษรยาวี และภาษามลายูอักษรรูมีตามลำดับ (ทั้งในระดับคำ ประโยค และเนื้อเรื่อง) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาภาษาและการสำรวจสถานการณ์ภาษาของประชากรไทยเชื้อสายมลายูในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตบางประการที่น่าสนใจคือ ค่าร้อยละของทักษะความเข้าใจต่ำกว่าทักษะการอ่าน (ในทุกภาษา) และผู้ให้ข้อมูลที่เรียนสายสามัญและศาสนาควบคู่กันมีทักษะการอ่านและความเข้าใจภาษาต่างๆ ดีกว่าผู้ที่เรียนสายสามัญอย่างเดียวหรือสายศาสนาอย่างเดียว เป็นต้น(https://www.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/20243)
อาจารย์ชินทาโร่ ฮาร่า ชาวญี่ปุ่นอดีตท่านเคยสอนภาษามลายูใน ม.อ. บอกว่า ภาษามลายูปตานีเสมือนภาษาที่กำลังป่วยไข้ โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ค่อยใช้ภาษามลายูในชีวิตประจำวัน ทั้งๆ ที่พ่อแม่ใช้ภาษามลายู คนปาตานีสามารถใช้ภาษามลายูสำเนียงไหนก็ได้ ทั้งภาษามลายูถิ่นหรือมลายูกลาง ไม่ต้องกังวลเรื่องมาตรฐาน เพราะเมื่อภาษามีชีวิตก็จะเกิดการปรับเปลี่ยน หยิบยืมและการผสมกลมกลืนของภาษา จนท้ายที่สุดจะนำไปสู่มาตรฐานเอง
ท่ามกลางความหลากหลายดังกล่าว ทำให้เวทีนี้มีคำศัพท์ใหม่ๆ โดยผสมคำจากภาษามลายูและไทยไว้อย่างน้อย 3 คำ นั่นคือ memperserupkan (สรุป) mempatnakan (การพัฒนา) meng anurakkan (การอนุรักษ์) นั้นอาจเป็นเพียงมุขตลกในเชิงประชดประชันของผู้พูดก็เป็นได้(https://mgronline.com/south/detail/9560000011199)
ดังนั้นคนมลายูมุสลิมเองจะต้องกลับไปดูในระดับโรงเรียนว่า มีปัจจัยใด ไม่ว่า ด้านการบริหาร บุคลากร กระบวนการจัดการเรียนรู้และผู้เรียนรวมทั้งสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็แล้วแต่หลายโรงเรียนก็พยายามทุ่มงบประมาณ พัฒนาศักยภาพ ครูและนักเรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย เป็นที่น่ายินดีว่ามีองค์พัฒนาเอกชนหลายแห่งทำกิจกรรมด้านพัฒนามลายู ไม่ว่าจะเป็นวารสาร จดหมายข่าว หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุและทีวีโดยเฉพาะปัจจุบันมีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook ช่วง 10 นี้พบว่า มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลายครั้งในการเสริมสร้างความเข้มแข็งภาษามลายูปตานี/ชายแดนใต้สู่ประชาคมอาเซียนหลายเวที(เช่นประชุมสัมมนานานาชาติในหัวข้อ การเสริมสร้างความเข้มแข็งภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน โดยภาษามลายูจะใช้คำว่า “Seminar Antarabangsa Mematabakan Bahasa Melayu di Asean” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 ตุลาคม 2555 ณ โรงแรมปาร์ควิว อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีโปรดดูรายงานใน
https://prachatai.com/journal/2012/10/43219)
อย่างไรก็แล้ว สำหรับผู้ที่จะพัฒนาตนเองด้านภาษามลายูด้วยตนเอง สามารถทำได้10 วิธีพัฒนาทักษะภาษามลายูซึ่งผู้เขียนคัดลอกและดัดแปลงจาก10 วิธีพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
“เป็นที่ทราบกันดีว่า เวลาที่เราเรียนรู้ภาษา เราเริ่มจากการฟัง แล้วจึงพูด จากนั้นจึงอ่านแล้วเขียนเป็นทักษะสุดท้าย ฟัง พูด อ่าน เขียนคือทักษะทั้งสี่ที่เราต้องพัฒนาเพื่อที่จะสื่อสารได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ฟังและอ่านเป็นทักษะรับสาร คือการรับข้อมูลภาษาที่ใช้ในชีวิตจริงเข้ามา พูดและเขียนคือทักษะส่งสาร คือการผลิตภาษาออกไปเป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งหรือสอง
หากต้องการพัฒนาทักษะทั้งสี่ข้อนี้ คุณต้องพาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษามลายู ใช้ให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ไม่ว่าจะที่บ้าน ที่ทำงานหรือเวลาว่างยิ่งฝึกยิ่งเก่ง หมายความว่าถ้าคุณอยากจะพัฒนาทักษะภาษาของคุณ คุณต้องฝึกฝน คุณจะต้องฝึกทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ฟัง พูด อ่านและเขียน
การฟัง
ทักษะการฟังมีบทบาทสำคัญไม่ว่าจะเรียนภาษาใดก็ตาม การฟังอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เราเข้าใจและเหนือสิ่งอื่นใดยังทำให้เราพูดเก่งขึ้นอีกด้วย เราจะพัฒนาทักษะการฟังได้อย่างไร ให้ลองฟังอย่างตั้งใจ ไม่ใช่แค่ฟังว่าพูดว่าอะไร แต่ให้ฟังว่าพูดอย่างไร ดังนั้น ลองฟังสื่อดังต่อไปนี้
1. ฟังอนาเซท(เพลง)ไม่ว่าจะเก่าหรือไม่ เลือกได้ตามใจชอบ แต่ให้ลองตั้งใจฟังเนื้อร้อง (บางครั้งการอ่านเนื้อร้องตามไปด้วยจะช่วยให้คุณเข้าใจเพลงมากขึ้น)
2. ฟังภาพยนต์ รายการโทรทัศน์ ข่าว รายการบันเทิงและวิทยุ –ลองเลือกภาพยนตร์ที่คุณชอบหากเด็กอาจเป็นการ์ตูน ดูผ่านYoutube คุณสามารถดูหนังซ้ำได้หลายรอบ ดูพร้อมซับไตเติ้ลจากนั้นเมื่อรู้สึกคุ้นเคยแล้ว ให้ปิดซับไตเติ้ล คุณสามารถเปิดวิทยุฟังคลื่นที่เป็นมลายูที่บ้านหรือผ่านทางมือถือก็ได้ แม้คุณจะไม่ได้ตั้งใจฟัง หูก็จะเริ่มชินเสียงของภาษามลายูมากขึ้น
3. เข้าชมละครเวที นิทรรศการ หรืองานสัมมนาที่จัดเป็นภาษามลายูซึ่งจัดโดยโรงเรียนหรือชุมชมที่ใช้ภาษามลายู
การพูด
มักจะเป็นทักษะที่ยากที่สุดในบรรดาสี่ทักษะ แต่ทันทีที่คุณเริ่มพูดภาษามลายูได้สักเล็กน้อยแล้ว จะมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณเก่งภาษาได้เร็วขึ้นและสนุกมากขึ้นด้วย
4. ลองโทรแชท. เทคโนโลยีสมัยดิจิตอลพัฒนาไปไกลมากโดยเฉพาะสื่อโซเชียล เน็ตเวิร์ค Facebook Line Wassapp ดังนั้นไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน คุณจะเจอแชทรูมให้ได้เข้าไปพูดคุย
5. พูดและอัดเสียงตัวเองไว้. อาจจะฟังดูตลก แต่จะช่วยให้คุณได้รู้ว่าการได้พูดซ้ำ ๆ และอัดเสียงไว้หลายครั้งจนกว่าคุณจะพอใจสามารถช่วยพัฒนาคุณได้อย่างมาก
6. คุยกับเพื่อนเป็นภาษามลายูเวลาอยู่นอกห้องเรียน หรือจะจับกลุ่มกันเล่นเกม กินข้าวด้วยกัน หรือนั่งคุยกันก็ยังได้
การอ่าน
เป็นกระบวนการการทำงานของสมองและใช้เวลาในการพัฒนา ใจของคุณจะผูกความหมายเข้ากับคำศัพท์ วลีและสำนวนและยังต้องทำความเข้าใจไวยากรณ์และโครงสร้างประโยคที่ใช้ในบทความนั้น ๆ เพื่อจะอ่านให้เข้าใจ ถ้าคุณพัฒนาทักษะการอ่านให้เก่งได้เมื่อไร จะเป็นประโยชน์กับคุณในอนาคตอย่างยิ่ง ให้ลองอ่านเนื้อหาดังต่อไปนี้
7. หนังสือภาษามลายูและบทความบนเว็บไซต์ บางที หนังสือที่นำมาสร้างเป็นภาพยนต์ ลองเริ่มจากเล่มง่าย ๆ อาจเป็นหนังสือเด็กหรือการ์ตูนเลยก็ย่อมได้ ภาพประกอบจะช่วยให้คุณเข้าใจแม้ว่าคุณจะไม่รู้ศัพท์คำนั้น
8. เปลี่ยนภาษาที่ใช้ในมือถือ คอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตเป็นภาษามลายู การได้อ่านคำสั่งต่าง ๆ ในอุปกรณ์จะช่วยพัฒนาคำศัพท์ของคุณ
การเขียน
แม้ว่าทักษะการเขียนจะเป็นสิ่งที่หลายคนกลัว แต่ทุกคนสามารถเขียนเก่งได้แค่มีวินัยและความตั้งใจจะเรียน
9. จดศัพท์หรือสำนวน ที่คุณคิดว่ามีประโยชน์ โดยจดความหมายและตัวอย่างประกอบด้วย จำเป็นประโยคดีกว่าจำเป็นคำ คุณสามารถนำมาเขียนเป็นไดอารี่ก็ได้
10. เขียนความคิดเห็น ในบล็อก ใน Facebook ภาษามลายู ในปัจจุบัน บล็อคคือเว็บไซต์ที่มีลักษณะคล้ายกับวารสาร หลายคนใช้บล็อคเพื่อถ่ายทอดความคิดเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่องหรืออธิบายบางอย่าง ตั้งแต่วิธีการถักผ้าพันคอ ไปจนถึงเรื่องที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับความรู้เฉพาะทางหรือประเด็นทางปรัชญา หนึ่งในฟีเจอร์ของบล็อคเหล่านี้คือการเปิดโอกาสให้ผู้อ่านมีส่วนร่วม โดยการแสดงความเห็นหรือถกเถียงแนวคิดที่พูดคุยกันในบล็อคได้ ต่อให้คุณไม่ใช่แฟนบล็อคตัวยง คุณก็อาจจะไปเจอเนื้อหาอะไรที่กระตุ้นให้คุณอยากมีส่วนร่วม เพราะฉะนั้น ลองดูซะ คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รู้ถึงจะเขียนสองสามประโยคแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน
เคล็ดลับทุกข้อที่กล่าวไปข้างต้นสามารถสรุปให้เหลือข้อเดียวสั้น ๆ ได้ก็คือ ฝึก ฝึก และฝึก! ไม่ว่าสไตล์การเรียนของคุณจะเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะใช้ภาษาไหนเป็นภาษาแม่ กุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้คุณเก่งภาษาต่างประเทศคือการฝึกให้มากและบ่อยที่สุดเท่า
ภาษามลายูที่เราด้อยนอกจากเราจะโทษคนอื่นเเล้วเราต้องโทษตัวเองด้วย
#ภาษามลายูมีทั้งในหลักสูตรอิสลามศึกษาทั้งโรงเรียนรัฐ(แบบเข้ม) โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาและตาดีกา
#ถกเถียงเชิงวิชาการได้
#หลักสูตรคนของเราทั้งนั้นที่ร่าง
ดูรายละเอียดใน
1. http://www.opes.go.th/sites/default/files/users/user11/%202551.pdf
2. https://www.skprivate.go.th/group/detail/41
3.
https://www.skprivate.go.th/group/detail/150
5,922 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.