พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

Fake News มหันตภัยร้าย !! สังคมไทยในการสร้างความเกลียดชัง :กรณีศึกษาหลักสูตรอิสลามศึกษาในโรงเรียนรัฐ (ตอนที่1)

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)


จากกรณีที่มีแค่สมาชิกคนหนึ่งในสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนาพยายามนำเสนอข้อมูล ต่อต้านมุสลิมในประเทศไทยผ่านหลายกิจกรรม หนึ่งในนั้นคือการนำเสนอว่ากระทรวงศึกษาธิการทำไมอนุมัติให้มีการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา โยงไปถึงบังคับให้นักเรียนทุกคนเรียนอิสลามศึกษา โจมตีรัฐ โจมตีมุสลิม ทำไมรัฐต้องเอาใจมุสลิม ทำไมมุสลิมอยู่กับคนอื่นไม่ได้ หลายประเด็นมีการสื่อสารที่ถูกตีความสร้างความเกลียดชังระหว่างกัน จากข่าวล่าสุดมีการทำหนังสือถึงกระทรวงศึกษาธิการ
(โปรดดูหนังสือ)ในขณะที่ที่ทำหนังสือก็มีการบิดเบือนข้อมูลใน page ยกเลิก พ.ร.บ.อิสลาม อันสร้างความเข้าใจผิดในข้อมูลและหากอ่านในคอมเมนต์ใต้กระทู้มีการใช้วาจาไม่สุภาพ สร้างความเกลียด ไม่สร้างสรรค์ และหากไม่ชี้แจงตามความจริงจะทำให้สังคมไทยได้ข้อมูลอย่างผิดๆ

 “อาจารย์ นงค์ลักษณ์ หะยีมะสาและ อดีต ศน.สพป.ปน.1
(กะละห์)ในฐานะอดีตศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบอิสลามศึกษามา ก่อนแม้เกษียณอายุราชการไปแล้วก็อดเป็นห่วงไม่ได้ จึงมีแนวคิดที่ได้เสนอแนะดังนี้
1.ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านควรวางแผนเพื่อการอธิบายให้สังคมทั่วๆไปได้ทราบเกี่ยวกับอิสลามศึกษา เป็นการเสนอข้อจริงทั้งหมด
2.เข้าพบผู้ใหญ่เพื่อชี้แจงท่านให้รับทราบในข้อเท็จจริงในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาทุกรูปแบบ(รายชั่วโมงซึ่งจัดในสังคมฯอยู่แล้ว และแบบเข้ม)
3.ช่วยระดมข้อคิดต่างๆและภาพสำเร็จและรบกวนให้ท่าน ดร.ฟาฏินา ลงคอลัมน์ นสพ.ที่ท่านเขียนเป็นจำ(หมายถึงผู้เขียน)
น่าจะเป็นทางออกได้ในระดับหนึ่ง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป อินชาอัลลอฮฺ
ขอมาอัฟด้วยหากข้อเขียนทั้งหมดทำให้ไม่สบายใจ
สำหรับกระทรวงศึกษาธิการในส่วน สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ)แจงความคลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริงและบิดเเบือน ในโลกออนไลน์โดยที”

นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสการส่งต่อข้อมูล ทางสังคมออนไลน์ซึ่งเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษานั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขอชี้แจงว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เริ่มสอนรายวิชาอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีนักเรียนนับถือศาสนาอิสลามเกินร้อยละ 50 มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 โดยจัดให้อิสลามศึกษาอยู่ในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยในหลักสูตรประถมศึกษา และจัดเป็นรายวิชาในหมวดสังคมศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษามาเป็นระยะเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)


ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนสังกัด สพฐ. มี 2 มิติ ได้แก่ มิติแรก สาระการเรียนรู้อิสลามศึกษา ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มิติที่สอง การเรียนการสอนวิชาสามัญควบคู่ศาสนาหรืออิสลามศึกษาแบบเข้ม ตามนโยบายศธ. ปัจจุบันมีโรงเรียนของรัฐที่เปิดสอนวิชาสามัญควบคู่ศาสนา ทั้งสิ้น 350 โรงเรียน โดยการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาทั้ง 2 มิตินั้น มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น ไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องเรียนอิสลามศึกษาตามที่มีกระแสการส่งต่อข้อมูลในสังคมออนไลน์แต่อย่างใด
กระแสข่าวกระทรวงศึกษาธิการ บรรจุหลักสูตรวิชาอิสลามศึกษา โดยบังคับให้เด็กชั้นประถมศึกษา-มัธยมศึกษาทุกคนเรียน สร้างความปั่นป่วนบนโลกออนไลน์ กับข้อกังวลเรื่องความเชื่อที่แตกต่างกันระหว่างศาสนาอิสลาม และพุทธ ข้อเท็จจริง คือ กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มสอนรายวิชาอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2518
ปัจจุบันหลักสูตรนี้ มุ่งเป้าหมายเฉพาะผู้นับถือศาสนาอิสลาม ไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องเรียนวิชานี้ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลในสังคมออนไลน์

(ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ
)
โปรดติดตามตอนต่อไป
หมายเหตุ
1.http://www.moe.go.th/index.php/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/news_research/29747
2.
https://core.ac.uk/download/pdf/132599363.pdf
3.http://www.opes.go.th/sites/default/files/users/user11/%202551.pdf

 1,235 total views,  2 views today

You may have missed