บทโดย บรรณาธิการ..
ผู้เขียนได้เดินทางไปยังโรงเรียนอัตตัรกียะห์ อิสลามมียะห์ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและสายสามัญ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ที่มีนักเรียนชายหญิง เกือบ 5,000 คน ซึ่งมีนายไพศาล ตอยิบ เป็นผู้รับใบอนุญาต และ ผู้จัดการโรงเรียนแห่งนี้ โรงเรียนแห่งหนึ่ง มีความโดดเด่น อาทิ การแลกเปลี่ยนการนักเรียนศึกษา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศอื่นในอาเซียน ตามสโลแกน “เรียนดี คนดี คนเก่ง” และโรงเรียนอัตตัรกียะห์ อิสลามมียะห์ ยังได้รับเลือก ในฐานะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในภาคใต้ และเป็น 1 เดียวของประเทศไทย ที่สำนักวาติกัน (State of the Vatican City ให้จัดการแสดง เพลงคอรัส ต่อหน้าพระพักตร์ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 พ.ย.2562 ตามคำเชิญของรัฐบาลไทยและสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
(นายไพศาล ตอยิบ ผู้รับใบอนุญาต ร.ร.อัตตัรกียะ อิสลามียะห์ นราธิวาส)
อจ.น้องมะ มะดามะ เจ้าหน้าที่วิชาการ และผู้ควบคุมวง “อัตตัร คอรัส” บอกกับเราว่า สิ่งแรกที่ต้องขอบคุณ คือนายไพศาล ตอยิบ ผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนอัตตัรกียะห์ ฯ ที่มีวิสัยทัศน์ และ คอเนชั่นที่ดีเยี่ยม นำสิ่งที่ดีสู่โรงเรียนมากมาย และการที่โรงเรียน ได้รับเลือกจากสำนักวาติกัน เพื่อให้นักเรียนได้ เพลงคอรัส แสดงต่อหน้าพระพักตร์ สมเด็จพระสันตะปาฟรังซิส ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ที่จะเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทากการ ในโอกาสนี้ เราได้เตรียมความพร้อมของ นักเรียน วงอัตตัร คอรัส แล้ว และทางโรงเรียนที่ว่า เป็นเกียรติ อันสูงสุดในครั้งนี้ ที่จะได้แสดงเพลง ที่เกี่ยวข้องสื่อสันติภาพ ถือเป็นการแสดงที่ยิ่งใหญ่ ระดับประเทศและระดับโลก ที่เดียว และเราเชื่อมั่น เพลงที่แสดง จะสื่อถึงความหมาย ในการอยู่ร่วมกัน บนความหลายหลาย สร้างสันติสุข สันติภาพ ให้เกิดขึ้นทั้งในและทั่วโลก
ขณะที่ ด.ร.ภาวดีศุทธิ์ พิริยะพงษ์รัตน์ สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้อำนวยการเพลง คณะนักร้องประสานเสียง (Chulalongkorn Univercity Concert Choir) ได้พูดถึง ความพร้อมนักเรียน อัตตัร คอรัส มีการฝึกร้องโน็ต เพลง อย่างสม่ำเสมอ และถือว่า นักเรียนมีความพร้อม เทียบจากเต็ม 10 ให้การคะแนน แต่อย่างไรก็ตาม นักเรียนยังมีเวลา ในการฝึกร้อง และเชื่อมั่นได้เลยว่า นักเรียนคอรัส จะร้องเพลงได้สมบูรณ์ และได้ดีที่สุดอย่างแน่นอน ซึ่งสำนักวาติกัน ได้ให้เกียติเลือกโรงเรียนที่ต้องแสดงเพลง สื่อสันติภาพ คือ โรงเรียนเซนต์โยเซฟ แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ (ในฐานะตัวแทนคริสต์จักร) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กทม. (พุทธ) และโรงเรียนอัตตัรกียะห์ อิสลามมียะห์ จ.นราธิวาส (ตัวแทนศาสนาอิสลาม)
สำหรับเพลง ที่จะใช้ขับร้องในครั้งนี้ เพื่อแสดงต่อหน้าพระพักตร์ สันตะปาปา จำนวน 2 เพลง คือ เพลง พิส เปรยเยอร์ (Peace Prayer) และเพลง ซิง ออฟ ฟรีดอมส์ (Sings Of Freedom) ความหมายโดยร่วม กล่าวถึงสันติภาพ ปัญหาและอุปสรรค และการฝันฝ่า ภัยความเดือดร้อน ที่ต้องเผชิญ และสู่ข้ามกาลเวลา เพื่อการแก้ปัญหา สร้างความเข้าใจ ข้ามวิกฤติที่เลวร้าย และจับมือ เพื่อการอยู่ร่วมกัน ในการสร้างสันติภาพ
หนึ่งในนักร้องประสานเสียง อัตตัร คอรัส นายฟุรกอน กล่าว รู้สึกตื่นเต้น กับงานระดับโลก แม้จะผ่านมา หลายเวที แต่จะวงจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อชื่อเสียงของโรงเรียน และจะใช้บทเพลงสื่อสาร เพื่อโลกรู้ว่า เราทุกคน แม่จะเห็นต่าง และหลากหลายพหุวัฒนธรรม แต่เราก็อยู่ได้ และทุกคนแสวงหาความสงบสุข หรือสันติภาพ
และปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ และความรุนแรง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดระยะเวลา 15 ปี หลากหลายเหตุการณ์ สร้างความบอบช้ำ และสร้างผลกระทบ ต่อชีวิตทรัพย์สินประชาชน เราหวังว่า เพลง ก็จะเป็นสื่อ อีกทางหนึ่ง ที่จะสื่อความหมาย สัญลักษณ์ ที่แสวงหาสันติภาพทุกมุมโลก
ทั้งนี้ กำหนดการเสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก ว่าจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 พ.ย.2562 ตามคำเชิญของรัฐบาลไทยและสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
ประวัติการเสด็จเยือนประเทศไทย
สมเด็จพระสันตะปาปานั้น เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อระหว่างวันที่ 10-11 พ.ค.2527 หรือ ค.ศ.1984 โดยพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะ
ส่วนครั้งนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงมีความโสมนัสยิ่งที่การเสด็จเยือนราชอาณาจักรไทยเป็นการจาริกเพื่อสันติภาพ และเพื่อการเสวนาระหว่างศาสนา พระองค์จะประกอบพิธีมิสซาแบบสาธารณะ 2 ครั้ง คือสำหรับบรรดาคริสตชนคาทอลิกทั่วประเทศ และอีกครั้งเป็นพิเศษสำหรับบรรดาเยาวชน โดยจะทรงประกอบศาสนกิจ อีกทั้งทรงเยี่ยมเยียนคริสตชนในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 4 วัน ก่อนที่จะเสด็จต่อไปเยือนประเทศญี่ปุ่น วันที่ 23-26 พ.ย. ที่กรุงโตเกียว เมืองนางาซากิ และเมืองฮิโรชิมา
สำหรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก และพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ทรงเป็นพระสันตะปาปา ลำดับที่ 266 มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ แบร์โกลิโอ ประสูติเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2479 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส และประกาศนียบัตรสาขาวิชาปรัชญา จากคอเลจิโอ แม็กซิโม ซาน โฆเซ ทรงเป็นอาจารย์วิชาวรรณกรรมและจิตวิทยาที่ Colegio de la Inmaculada และคอเลจิโอ เดล ซัลวาดอร์ ทรงศึกษาวิชาเทววิทยา (theology) และถวายพระองค์เป็นนักบวชบาทหลวงในคณะแห่งพระเยซูเจ้า (เยสุอิต) จากนั้น ทรงดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ทางเทววิทยา โดยทรงสอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี เดอ ซาน มิเกล
สำหรับตำแหน่งสำคัญทางศาสนาก่อนได้รับเลือกขึ้นเป็นพระสันตะปาปา พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งจากนักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา ให้ดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งเขตศาสนปกครองกรุงบัวโนสไอเรส และต่อมาได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระคาร์ดินัล เมื่อปี 2544
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งกรุงบัวโนสไอเรสนั้น พระองค์ทรงดำรงชีวิตแบบสมถะ เช่น มักเดินทางโดยใช้รถประจำทาง หรือรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อไปปฏิบัติศาสนกิจและเยี่ยมเยียนคนยากจน ทรงประทับอยู่ในห้องชุดเรียบง่าย ทำอาหารด้วยพระองค์เอง ชาวบัวโนสไอเรสโดยทั่วไปรู้จักพระองค์ในนามของ “คุณพ่อฮอร์เก”
ภายหลังที่สมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงสละสมณศักดิ์ เมื่อปี 2556 จึงทรงได้รับเลือกตั้งจากคณะพระคาร์ดินัล ในการประชุมคอนเคล็ฟให้ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาสืบแทนนักบุญเปโตร หรือเซนต์ปีเตอร์ เมื่อวันที่ 13 มี.ค.2556 ทรงเลือกใช้พระนามว่า “Franciscus” ในภาษาละติน หรือ “Francis” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากนามของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี ผู้ก่อตั้งคณะนักบวชฟรังซิสกัน ผู้ถือความยากจน สนใจและเอาใจใส่ผู้ด้อยโอกาส ส่งเสริมสันติภาพ และรักษ์สิ่งแวดล้อม
โดย พระสันตะปาปา คือผู้สืบทอดตำแหน่งของนักบุญเปโตร (เซนต์ปีเตอร์) ที่ได้รับอำนาจสืบทอดมาจากพระเยซูคริสตเจ้า ทรงเป็นผู้แทนของพระเยซูคริสตเจ้าบนโลกนี้ นอกนั้นยังถือว่าพระสันตะปาปาคือ บิชอปแห่งกรุงโรม ตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปานั้น มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานประมาณสองพันปี โดยเริ่มต้นขึ้นเมื่อพระเยซูคริสตเจ้าได้ทรงแต่งตั้งให้นักบุญเปโตร อัครสาวก เป็นผู้นำของบรรดาอัครสาวก จึงถือว่านักบุญเปโตรเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรก และมีผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญเปโตรเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบัน
พระสันตะปาปายังถือว่าเป็นผู้แทนของพระเยซูคริสตเจ้าในโลก ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก อีกทั้งทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งสันตะสำนักและนครรัฐวาติกัน อันเป็นศูนย์กลางการบริหารพันธกิจของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลกอีกด้วย
สำหรับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ปรากฏหลักฐานว่ามิชชันนารีคณะโดมินิกันได้เข้าสู่ประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตั้งแต่ปี ค.ศ.1511 หรือปีพ.ศ. 20154 และได้ตั้งรากฐานอย่างมั่นคงถาวร เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9 ทรงสถาปนามิสซังสยามขึ้น (Apostolic Vicariate of Siam) เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ค.ศ.1669 หรือพ.ศ.2212 มิชชันนารีและศาสนิกชนคาทอลิกได้นำวิทยาการจากตะวันตกมาช่วยเสริมในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อีกทั้งยังประกอบกิจเมตตาสาธารณกุศลแก่ประชาชนโดยทั่วไป ทั้งนี้ คริสตศาสนิกชนยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์มาตลอดระยะเวลาอันยาวนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากราชวงศ์จักรี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การเยือนระหว่างประมุขแห่งรัฐระหว่างราชอาณาจักรไทยและสันตะสำนักแห่งนครรัฐวาติกันนั้น มีขึ้นครั้งแรกเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 13 ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินทวีปยุโรป เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ค.ศ.1897 หรือพ.ศ.2440 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่11
เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ค.ศ.1934 พ.ศ.2477 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาเข้าเฝ้านักบุญยอห์น ที่ 23 พระสันตะปาปา เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ค.ศ.1960 หรือพ.ศ.2503
ด้านความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทย และสันตะสำนักแห่งนครรัฐวาติกันนั้น การติดต่อทางพระราชไมตรีระหว่างพระมหากษัตริย์สยาม และสมเด็จพระสันตะปาปาแห่งวาติกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมาจนถึงปี ค.ศ.1969 นักบุญเปาโลที่ 6 พระสันตะปาปาจึงทรงสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทย และสันตะสำนักแห่งนครรัฐวาติกันในระดับเอกอัครราชทูต ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-วาติกันจึงได้กระชับแน่นแฟ้นขึ้นจนถึงปัจจุบัน และ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ 20-23 พ.ย.62 ครั้ง นับเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกอีกครั้ง
สำหรับกำหนดการ….เสด็จเยือนไทยครั้งนี้มีกำหนดการเดินทางออกจากประเทศอิตาลี ในวันที่ 19 พฤศจิกายน เวลา 19.00 น. เดินทางถึงท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 ดอนเมือง ในวันที่ 20 พฤศจิกายน เวลา 12.30 น. ซึ่งจะมีพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ ณ ท่าอากาศยาน จากนั้นเสด็จไปที่สถานเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานที่ประทับตลอดการเยือนประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน
09.00 น. ทรงร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ ณ บริเวณลานด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล จากนั้นทรงพบนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาล ข้าราชการคณะทูตานุทูต และทรงปราศรัยภายในตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
10.00 น. เสด็จเข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
11.15 น. เสด็จโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์เพื่อประทานโอวาทแก่บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลคาทอลิก 4
โรงพยาบาล จากนั้นเสด็จอวยพรผู้ป่วยผู้สูงอายุ ภายในอาคารร้อยปีบารมีบุญ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ จากนั้นเสด็จกลับไปเสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ สถานเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย
16.55 น. เสด็จเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
18.00 น. เสด็จทำพิธีบูชาขอบพระคุณ หรือพิธีมิสซา โดยสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเทศน์ ณ สนามศุภชลาศัย
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน
10.00 น. ทรงพบกับคณะบาทหลวงนักบวช นักพรต สามเณร ผู้ฝึกหัด ครูคำสอน และทรงปราศรัย ภายในวัดคาทอลิกนักบุญเปโตร อ.สามพราน จ.นครปฐม
11.00 น. ทรงพบบรรดาบิชอปของไทยและบิชอปของสหพันธ์สภาบิชอปแห่งเอเชีย (FABC) และทรงปราศรัย ณ สักการสถานบุญราศีนิโคลาสบุญเกิด กฤษบำรุง
11.50 น. ทรงพบคณะนักบวชเยสุอิตในประเทศไทยภายในห้องด้านหลังสักการสถานบุญราศี นิโคลาสบุญเกิด กฤษบำรุง จากนั้นเสด็จกลับไปเสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ สถานเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย
15.20 น. ทรงพบผู้นำคริสตชนนิกายต่าง ๆ ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ในประเทศไทย บรรดาผู้นำสถาบันการศึกษา คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา พร้อมทั้งทรงปราศรัย ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17.00 น. เสด็จทำพิธีบูชาขอบพระคุณสำหรับเยาวชน โดยสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเทศน์ ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก
วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน
09.15 น. พิธีการอำลาส่งเสด็จ ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 กองบัญชาการกองทัพอากาศ อาคาร 2 ดอนเมือง
09.30 น. เครื่องบินพระที่นั่งออกเดินทางจากกรุงเทพมหานครมุ่งสู่กรุงโตเกียว
17.40 น. เสด็จถึงท่าอากาศยานกรุงโตเกียว-ฮาเนดะ มีพิธีการต้อนรับ ณ ท่าอากาศยาน
1,944 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.