เมษายน 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ฟังเสียงสะท้อนหลัง พลเอกประวิตร รองนายกรัฐมนตรี ลงใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน


ศูนย์ประชาสัมพันธ์
  กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4ส่วนหน้า ได้รายงานว่า    ณ.วันที่  26 ตุลาคม 2562 ที่อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา   พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและคณะ ลงพื้นที่ตรวจติดตามงานพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รับฟังบรรยายสรุปจาก พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งได้รับฟังข้อเสนอแนะเพื่อเสนอให้รัฐบาลเร่งรัดและผลักดัน โดยมี พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค พร้อมด้วยส่วนราชการในพื้นที่ และประชาชน ร่วมให้การต้อนรับ ภายหลังรับฟังบรรยายสรุป รองนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะได้เยี่ยมชมนิทรรศการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่รัฐบาลให้การสนับสนุนและประสบความสำเร็จวิสาหกิจ

จากนั้น ร่วมรับฟังความก้าวหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ประกอบด้วย การขับเคลื่อนโครงการปลูกไผ่เศรษฐกิจ พืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต” ที่เน้นการทำเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรให้มีรายได้รายวัน รายเดือนและรายปี รวมทั้ง เชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาความยากจนให้เป็นระบบและครบวงจร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนที่ต้องดีกว่าเดิมและเพิ่มช่องทางรายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรร่วมกับการปลูกพืชเดิมที่สำคัญ พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้มอบพันธุ์ไผ่ให้กับตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 ราย พร้อมกล่าวให้กำลังใจแก่เครือข่ายเกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมขับเคลื่อนการทำงานในพื้นที่ รวมทั้งได้เยี่ยมชมการแสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์และการแปรรูปไผ่ในรูปแบบต่างๆ จากนั้นได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือการส่งเสริมการปลูกกาแฟครบวงจร ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)

    พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า ได้รับทราบงานนโยบายของรัฐบาลที่นำไปปฏิบัติในพื้นที่จนเกิดเป็นผลสำเร็จหลายโครงการ รวมทั้ง การเตรียมการไว้เพื่อดำเนินการในระยะต่อไป ส่วนราชการและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อน โครงการเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่หลากหลายให้เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้รายวัน รายเดือน รายปี ให้ได้ผลเป็นรูปธรรม นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังจะมีการจัดตั้งสวนอุตสาหกรรมแห่งแรกของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาสินค้าฮาลาล ผ่านการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรให้เป็นสินค้าที่มีความหลากหลายและผลิตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างรายได้และอาชีพให้กับประชาชน รวมทั้งการขยายผลให้เกิดผลิตผลด้านศิลปะและแฟชั่นมุสลิมไปยังฐานการทำงานในหมู่บ้านให้เป็นไปตามแนวคิด Taobao Village Model และต่อยอดไปยังสถาบันการศึกษาให้เป็นแบบ Taobao University ที่เป็นสถาบันดีไซน์และแฟชั่นสำหรับมุสลิมทั้งภูมิภาคเอเชีย/โลก เพื่อให้จังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถเชื่อมไทยและเชื่อมโลกได้อย่างแท้จริง สำหรับด้านการพัฒนาสังคมจะเร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะการป้องกัน และการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เพื่อเดินหน้าเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ผู้นำศาสนาและสถานศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติด

       ด้านการขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกฝ่าย ทุกคน จะต้องร่วมใจกันสืบสาน รักษา ต่อยอดให้เป็นไปตามพระปฐมบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับประเด็นการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญให้มากที่สุด การทำงานต้องเชื่อมโยงการพัฒนาเข้าสู่งานอาชีพ ผ่านโครงการของรัฐที่ทำงานร่วมกับเอกชน อาทิ โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ทั้ง เมืองต้นแบบ ต้องสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับเยาวชนในพื้นที่ได้ รวมทั้งได้ขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานสตรีและเด็กจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นศูนย์กลางการนำ NGOs นอกจากนี้ ยังมีโครงการสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการต่อจากนี้ โดยถือเป็นนโยบายสำคัญของงานพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สำคัญ ทั้ง การออกเอกสารสิทธิที่ดินทำกิน และ การแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ นอกจากนโยบายในการชดเชยราคาสินค้าเกษตรแล้ว จะต้องเสริมสร้างกลุ่มวิสาหกิจในพื้นที่ทำการแปรรูปสินค้า เบื้องต้นได้ให้สำนักงานสวนอุตสาหกรรม เป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนการทำงานอย่างเต็มที่ นอกจากนี้จะส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสานมากขึ้นในพื้นที่ โดยส่วนราชการจะทำหน้าที่การตลาดและเป็นพี่เลี้ยงให้กับประชาชนอย่างเต็มกำลัง รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวทิ้งท้าย

          จะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีๆทั้งนั้นที่ท่านได้รับรายงานและสื่อก็พาดหัวว่า

บิ๊กป้อม ชี้งานชายแดนใต้ก้าวหน้า ศก.ดีขึ้น ความรุนแรงลดลง”

แต่ก็มีเสียงระเบิดที่อำเภอบันนังสตาจังหวัดยะลา(https://workpointnews.com/2019/10/26/southern-border-provinces/)

 

      ท่านพูดว่า สถานการณ์ในวันนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ได้รับทราบงานนโยบายของรัฐบาลที่นำไปปฏิบัติในพื้นที่จนเกิดเป็นผลสำเร็จหลายโครงการ ทั้งๆที่ช่วงดังกล่าวก็มีเสียงระเบิดที่อำเภอบันนังสตาจังหวัดยะลา

อย่างไรก็แล้วแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเสียงสะท้อนที่ท่านยังไม่ถูกรายงานก็มีมากมาย(แต่ท่านคงรู้ข่าวในเชิงลึก)ซึ่งผู้เขียนขอนำเสนอเพื่อผู้รับผิดชอบนำไปปรับปรุงดังนี้

1.      ความรุนแรงลดเพียงสถิติแต่คนของรัฐยังโดนหมายความว่าอย่างไร

การที่ความรุนแรงลดแต่คนของรัฐยังโดนนี้หมายความว่าอย่างไร จะให้ประชาชนสบายใจ อยู่เป็นสุขและคิดอย่างไร สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่า สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น เพราะขนาดวันพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีลงมายังระเบิดต้อนรับ อีกอย่าง ภาพที่สื่ออย่างไทยพีบีเอสรายงานข่าวว่า “เจ้าหน้าที่วางกำลังคุมเข้ม  ตลอดเส้นทางหลวงสาย 418 ปัตตานี-ยะลา ระหว่างการเดินทางลงพื้นที่ ของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ใน จ.ยะลา เพื่อติดตามงานด้านการพัฒนาพื้นที่ จว.ชายเเดนภาคใต้ เเละตั้งสวนอุตสาหกรรมในสามจังหวัด  (โปรดดูhttps://www.facebook.com/…/pcb.269468448…/2694692583915008/…)แสดงถึงความไม่รู้สึกปลอดภัยยังสูงอยู่

            

หากพิจารณาปัจจุบันพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีชุดคุ้มครองตำบล(ชคต.)ซึ่งถือเป็นคนของรัฐ อยู่ทั้งสิ้น 164 แห่ง จากเป้าหมายทั้งหมด 288 ตำบล โดย ชคต.ก่อตั้งขึ้นในปี 2556 ตามแผนการถ่ายโอนภารกิจการรักษาความปลอดภัยพื้นที่ จากทหารหลักสู่กองกำลังประจำถิ่นและกองกำลังประชาชน อยู่ในความรับผิดของฝ่ายปกครอง และบรรจุ อส.เข้าไปเสริมปฏิบัติการ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยให้กับชุมชนของตนเอง โดยมีภาครัฐสนับสนุนและให้สวัสดิการ สถาบัน                 ข่าวอิศราได้สรุปสถิติปี 2562 พบว่า ชุดคุ้มครองตำบลยังเป็นเป้าหมาย ไม่ต่ำกว่า 4 ครั้งไม่นับปีอื่นๆอีกหลายครั้ง (ปี 56 5 ครั้ง 57 ไม่มี ปี58 2 ครั้ง 59 3 ครั้ง 60 8 ครั้ง 61 10 ครั้ง)กล่าวคือ10 ม.ค.62มีคนร้ายก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ อส.ชุดคุ้มครองตำบลประจัน เสียชีวิต นาย ขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ รปภ.โรงเรียนบ้านบูโกะ หมู่ ต.ประจัน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี  2 เม.ย.62 มี คนร้ายซุ้มยิงฐานชุดคุ้มครองตำบลดอน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ  23 ก.ค.62 มีคนร้ายบุกโจมตีจุดตรวจและฐานปฏิบัติการ ชคต.บ้านกอแลปิเละ ต.ปะกาฮารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี ทำให้ทหาร ชรบ. และ อส. เสียชีวิตรวม นาย 16 ก.ย.62มี คนร้ายลอบวางระเบิดดักสังหารเจ้าหน้าที่ชุดคุ้มครองตำบลนาประดู่อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ขณะทำหน้าที่ รปภ.ครูกลับบ้าน ทำให้ อส.เสียชีวิต นาย

จากที่ชุดคุ้มครองตำบล(ชคต.)ซึ่งถือเป็นคนของรัฐ ยังโดนถล่มซึ่งนักวิชาการที่ศึกษาความรุนแรงชายแดนใต้สรุปตรงกันว่าน่าจะมาจากผู้เห็นต่างจากรัฐที่ใช้กำลังอาวุธ  ที่มีเป้าหมายทางการเมืองเรื่องเอกราชหรือรัฐไทยเรียกว่าแบ่งแยกดินแดน

 ข้อเสนอแนะ(ส่วนหนึ่งปรับจากรายงานนักวิชาการจากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้https://deepsouthwatch.org/th/node/11899)

จริงอยู่จำนวนเหตุการณ์มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์โดยภาพรวมดีขึ้น  ในขณะเดียวกันยังคงมีความสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะเหตุที่เกี่ยวข้องกับผู้เห็นต่างจากรัฐที่ใช้กำลังอาวุธ  ที่กระทำต่อชุดคุ้มครองตำบล(ชคต.) และหน่วยความมั่นคงไม่ว่าทหารหรือตำรวจตามปรากฏเป็นข่าว  ซึ่งนักวิชาการจากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้มองว่า “นื่องจากยังไม่มีกระบวนการพูดคุย เพื่อสันติสุขที่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มติดอาวุธในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกกลุ่ม” เพราะฉะนั้นการหาวิถีทางเดินหน้ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ/สันติสุขกับทุกกลุ่มที่เห็นต่างจากรัฐโดยเฉพาะกลุ่มติดอาวุธมีความสำคัญสำหรับการลดจำนวน เหตุการณ์ความรุนแรง และเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวในระยะสั้นอำเภอใดที่มีจำนวนเหตุการณ์รุนแรงเช่น อำเภอ หนองจิก จังหวัดปัตตานี ควรได้รับการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ จากทั้งภาครัฐ และประชาสังคมเพื่อคอยคลี่คลายสถานการณ์ หลังจากพื้นที่นี้ ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์จำนวนมาก

  ในขณะที่พัฒนาการทางการเมืองมีการเปิดกว้างมากขึ้นหลังมีการเลือกตั้งแต่นักวิชาการและประชาสังคมบางคนกลับถูกฟ้องจากแม่ทัพภาคที่สี่อันจะส่งผลต่อปัจจัยเอื้อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ/สันติสุข  ในขณะที่กระบวนการสันติภาพซึ่งไทยได้เปลี่ยนหัวหน้าคณะพูดคุย ซึ่งคาดการว่ารัฐบาลใหม่มาเลเซียภายใต้การนำของอันวาร์ อิบรอฮีมก็จะมีการเปลี่ยนตัวนายรอฮีม นูร์ เช่นกัน(จากการเปิดเผยของคณะทำงานท่านอันวาร์ อิบรอฮีมซึ่งเชิญผู้เขียนได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยเซลังงอร์ ประเทศมาเลเซียในเวทีเสวนา “Peaceful Coexistence Strengthening The Malaysia-Thailand Relationship “ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย)

2.    กระบวนการยุติธรรมชายแดนใต้ต้องปฏิรูป

                             ตลอด 15 ปี ไฟใต้ต้องยอมรับว่า กระบวนการยุติธรรมมีปัญหา อันเป็นปัจจัยเอื้อให้เจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมายพิเศษ ก่อนท่านประวิตร ลงมา ในพื้นที่กำลังถามหาความยุติธรรมกรณีของอับดุลเลาะ สังคมกำลังตั้งคำถามว่าแม้แต่ผู้พากษายังถูกแทรกแซง 25 ตุลาคม 2562 วันครบรอบ 15 ปีโศกนาฏกรรมตากใบ คำถามผู้คนทั้งไทยและเทศ ยังคงถามหาความยุติธรรม ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะอันวาร์ อิบรอฮีม “ กระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปตานี สันติภาพต้องคู่กับความยุติธรรม” ซึ่งงท่านพูด  ในเวทีเสวนา “Peaceful Coexistence Strengthening The Malaysia-Thailand Relationship “ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียซึ่งมีตัวแทนนักวิชาการ ประชาสังคมชายแดนภาคใต้ ประเทศมาเลเซีย ประมาณ 50 คน  (รวมทั้งผู้เขียน) ร่วมเสวนาในประเด็นกระบวนสันติภาพชายแดนใต้เพื่อให้ได้สันติภาพอย่างครอบคลุมยั่งยืนในประเด็น สังคม ศาสนา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การพัฒนา และการศึกษา

(โปรดดูรายละเอียดที่ผู้เขียนได้รายงานใน http://spmcnews.com/?p=21157&fbclid=IwAR3REWGTEXO_flIBMMhBLKa1gsNBZmu76EhcUQ4JWyY-MNhh7vc24Sld_m4)

กล่าวโดยสรุปที่ท่านรองนายกรัฐมนตรียังไม่ได้รับฟังจากรายงานคือ ข้อเสนอทุกภาคส่วนให้รัฐปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมชายแดนใต้เป็นข้อเสนอจากเวทีกรุงเทพมหานครและชายแดนใต้

สำหรับเวทีกรุงเทพมหานคร นั้น ผู้เขียนได้มีโอกาสฟังข้อคิดเห็นจากผศ.ดร.รณกรณ์ บุญมีอาจารย์นิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (11 ตุลาคม 2562 ) ได้สะท้อนและตั้งข้อสังเกตว่า “คำรับสารภาพ ข้อมูลในภาคใต้ในกฎหมายพิเศษน่ารับฟังไหม อันสามารถทำให้ผู้ฟังร้องออว่ายังไงกระบวนการยุติธรรมที่ชายแดนใต้ต้องรีบปฏิรูปมิฉะนั้นจะเป็นปัจจัยเอื้อต่อไฟใต้ตลอดท่านให้ทัศนะว่า ผมไม่ได้เห็นด้วยกับคุณคณากร  ทั้งหมด แต่ประเด็นหนึ่ง หรือประโยคซึ่งจับใจมาก“ ทำไมผู้ต้องสงสัยที่มีศักดิ์สูงกว่าผู้ต้องหา แต่มีสิทธิน้อยกว่าผู้ต้องหาเหมือนที่ทนายของกลุ่มMAC (ศูนย์ทนายความมุสลิม)บอกว่า ทำไมกลุ่มพวกนี้ถูกจับกุม คุมขัง แม้เราจะเรียกชื่อเขาว่าไม่ใช่ผู้ต้องหา แต่เป็นผู้ต้องสงสัย ทำไมไม่มีสิทธิตามกฎหมาย สิทธิตามกฎหมายพื้นฐานสำหรับการป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐ รัฐมีเงินลงทุนทุกอย่าง จ้างตำรวจ จ้างอัยการ  แต่ในอีกฝั่งหนึ่งของผู้ต้องหา มีเพียงสิทธิ์เดียวเท่านั้น คือ สิทธิ์ที่จะถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นผู้บริสุทธิ์  “ ท่านแสดงทัศนะเพิ่มเติมว่า

คุณมีสิทธิ์เดียวเท่านั้นที่คุณจะเป็นอาวุธสู้  ประเด็น สิ่งที่เขาต้องมีก็คือ เขาต้องมีคนนอก คนกลาง ที่ช่วยเขารับฟัง ช่วยเป็นพยาน ถ้าเขาจะถูกใช้อำนาจโดยมิชอบ นั่นก็คือ ทนายความที่เขาเลือกเอง ประเด็นคือ เรามีทนายความแบบนั้นไหมที่ชายแดนภาคใต้ ทนายความแบบนั้นได้เข้าถึงผู้ต้องสงสัยไหมเขามีสิทธิ์บอกญาติไหมเพื่อป้องกันการถูกบังคับให้สูญหาย ถ้าเขามีหลักประกันหลักการพื้นฐานแบบนี้ ผมคิดว่าก็จะพอรับฟังได้ 

คำอธิบาย: http://spmcnews.com/wp-content/uploads/2019/10/S__67731515-Custom-300x169.jpg

แต่ปัจจุบันสิทธิ์พวกนี้ เขาไม่มีและที่แย่ที่สุดในบรรดาทั้งหมด คือสิทธิ์ที่ได้เจอผู้พิพากษาโดยเร็วที่สุดเพื่อตรวจสอบว่า การจับกุมของเขาถูกต้องหรือไม่ ?

มาตรฐานโลก ซึ่งแน่นอนแตกต่างในแต่ละประเทศ แต่ Human Rights Committee ตาม iccpr กำหนดอยู่ที่ 48 ชม. อังกฤษกำหนดที่ 24 ชม. คดีสำคัญได้ 36 ชม. ยกเว้นคดีก่อการร้ายที่ 72 ชม.  โดยมาตรฐานทั่วโลกคือ 48 ชม.

แต่ของไทย กฎอัยการศึก วัน”  ต่อให้เราเชื่อว่าศาลทำงานอย่างเข้มแข็งในการดูหมายฉุกเฉิน ในการควบคุมตัวตาม พรก.ฉุกเฉิน  ต่อให้เราเชื่อว่าใน เจ็บวัน ๆ ๆ นั้น

คนๆนี้ถูกคุมขังไปแล้ว วันโดยไม่มีใครเยี่ยม ไม่ใครไปอยู่ด้วย” ท่านอธิบายเพิ่มอีกว่าผมทราบดีถึงข้อแลกเปลี่ยนระหว่างความมั่นคง กับ เสรีภาพ

แต่นี่คือราคาที่เราต้องจ่าย แล้วมันคุ้มค่าไหม แต่คนจ่ายไม่ใช่เราที่นั่งหล่อ ๆ สวย ๆ อยู่ในกรุงเทพฯแต่คือ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่

สำหรับเวทีชายแดนใต้เมื่อ วันที่ 17 ตุลาคม 2562 ตัวแทนองค์กรเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนภาคใต้รวมทั้ง เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (คป.ตร) สถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจ เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปัตตานี เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษได้เสนอร่วมกัน ว่ายังไงเสีย กระบวนการยุติธรรมชายแดนใต้จะต้องปฏิรูป ในเวทีวิชาการ “วิกฤติกระบวนการยุติธรรมจังหวัดชายแดนใต้ จากบทเรียนสู่การปฏิรูป” ณ โรงแรมตันหยง อ.เมือง จ.นราธิวาส

กล่าวคือการประกาศกฎอัยการศึกเกือบทุกอำเภอและมีประกาศ พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทับซ้อนทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทุกฝ่ายมีการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับ ส่งผลกระทบถึงประชาชนอย่างมากในชีวิตประจำวันเป็นระยะเวลานานมากว่า 15 ปี แม้ว่าประชากรบางส่วนจะเห็นว่าการใช้อำนาจกฎหมายพิเศษจะยังมีความจำเป็น แต่ต้องไม่กระทบสิทธิขั้นพื้นฐานและต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุลจากบุคลากรในฝ่ายความมั่นคง

ครับจะเห็นถึงว่าหากมีกระบวนการยุติธรรมที่มาตรฐานสากลตั้งแต่กระบวนการซักถามเรื่องอับดุลเลาะ อิซอมุสอ คนไทยต้องไม่ทะเลาะกัน ญาติคงไม่ต้องออกไปความยุติธรรมที่ กทม. ที่รัฐสภา ที่ฝ่ายค้าน ที่องค์กรสิทธิระหว่างประเทศ รัฐไม่ต้องมาตอบคำถามนักข่าวเกือบทุกวัน ที่สำคัญคนเห็นต่างจากรัฐที่ใช้อาวุธก็ไม่สามารถนำประเด็นนี้ไปขยายต่อ และที่สำคัญผบ.ทบ.ที่แสดงทัศนะจนเป็นTalk of the Town (11/10/62)ก็ไม่ต้องมาเหมารวมเรื่องขบวนการแยกดินแดน

26 ตุลาคม 62   นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะส.ส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ กล่าวต่อหน้าหน้า บุคลากรทางการศึกษาครั้งแรก ภายใต้โครงการเสริมสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมแก่ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนายนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระยะที่3) ณ ห้องประชุมอีหม่ามนาวาวี ตึกนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 มีเนื้อหาส่วนหนึ่งว่า “

#ความไม่เป็นธรรม ที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนใต้ หาใช่เฉพาะการถูกบังคับใช้กฎหมายพิเศษ เพียงอย่างเดียว หากแต่ ความเหลือมล้ำ ที่เกิดจากการศึกษา ถือเป็นส่วนหนึ่ง ของปัญหา ที่ผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะฝ่ายบริหาร ต้องมีความจริงใจในการเข้ามาดูแล เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด โดยเฉพาะงบประมาณการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งของเด็กนักเรียน และครูผู้สอน นอกเหนือจากงบอุดหนุน”

#ความไม่เป็นธรรม | Facebook

View about #ความไม่เป็นธรรม on Facebook. Facebook gives people the power to share and makes the world more open …

ทั้งสองเรื่องนี้ยังไม่นับรวมข้อสงสัยการจัดสรรงบประมาณแก้และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกที่สงสัยทั้งรูปแบบการจัดสรรแบบใหม่ที่อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร  กล่าวคือ ง บประมาณ 40,000 กว่าล้านที่ผมเปิดดู ปรากฏว่า เป็นงบที่กระจายให้กับหน่วยงานในสังกัดกองทัพ กระทรวงกลาโหม มากที่สุด นอกจากนั้น 10,000 กว่าล้าน ตรวจพบว่าซ้อนอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม อื่นๆ ซึ่งเป็นหน่วยรับงบประมาณอีก ผมได้เช็คดูกับทีมงาน ตามหนังสือที่รัฐสภาส่งไป 20 กว่าเล่ม งบประมาณที่ส่งไป จังหวัดชายแดนใต้ งบประมาณมีอยู่หลายด้าน มีตัวเลขปรากฏชัดว่า ไม่ใช่แค่ 40,000 กว่าล้าน
ตามมาตรา 37 แต่มีซ่อนอยู่ในหน่วยงานอื่น ของหน่วยรับงบประมาณอีกกว่า 36,000 ล้าน แบ่งเป็นงบประมาณ 2 ก้อน ตามมาตรา 37 มีงบประมาณ 30,000 กว่าล้านเป็นอย่างต่ำ เท่าที่ผมตรวจสอบได้มันเยอะมาก แต่ทั้ง 2 ก้อน สามารถแสดงให้ท่านประธานทราบว่า เป็นงบประมาณด้านการทหารเป็นหลัก นั้นหมายความว่า การแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ หลังจากนี้ไป ก็คือ “การทหารนำการเมือง”

อีกส่วนเป็นงบประมาณสนับสนุนการวิจัยที่นักวิชาการ อย่าง ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี มองว่า สนองเจตจำนงความมั่นคงมากกว่าชุมชนซึ่งเป็นภารกิจมหาวิทยาลัย โดยท่านกล่าวว่า  “มหาวิทยาลัยต้องเป็นอิสระ รับใช้ชุมชน รับใช้สังคม ไม่ใช่ต้องมาทำโครงการเพื่อรับใช้ความมั่นคงจึงได้งบ มันเป็นเรื่องอันตรายมาก

ครับท้ายสุดอยากให้ให้รัฐกลับไปทบทวนวิธีการสนับสนุนงบประมาณ กอ.รมน.ภาคสี่ ต่อ บางส่วนของภาคประชาสังคมในพื้นที่ ซึ่ง หน่วยความมั่นคงคงจะคาดการได้ว่า  จะยิ่งสร้างสันติสุขหรือสร้างความขัดแย้ง (หมายเหตุคงมาเจาะรายละเอียดในบทความต่อๆไปและสำหรับบทความนี้ฝ่ายรัฐ อาจไม่พอใจหรือไม่อย่างไรก็แล้วแต่ สำหรับเรื่องดีๆท่านก็สานต่อไป แต่อีกมุมที่ไม่ดีท่านควรรับฟังเพื่อสามารถนำไปปรับปรุง เพื่อประเทศชาติต่อไป)

 695 total views,  2 views today

You may have missed