พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ความเป็นธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน “หลักการกับข้อเท็จจริงกรณีศึกษาชายแดนใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)

ผู้เขียนในนามตัวแทนจากเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการ ในหัวข้อ “ ความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (30 ตุลาคม 2562 ) โดยมี Patrick Burgess ประธาน Asia Justice and Right ชาวออสเตรเลียผู้มากประสบการณ์ด้านนี้ (จัดที่ มศว.ประสานมิตร มีผู้เข้าร่วมประมาณ 20 คนของนักวิชาการ ประชาสังคมที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ทั่วประเทศไทยและชายแดนใต้)ได้ให้หลักการ หรือเสาหลักที่จะสามารถนำความยุติธรรมสู่ทุกคน ทุกชุมชนในระยะเปลี่ยนผ่านนั้นมีสี่เสา หรือด้าน หนึ่ง การค้นหาความจริง สอง การนำคนผิดมาลงโทษสาม การชดใช้และเยียวยา สี่การสร้างหลักประกันว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนเหล่านั้นจะไม่หวนกลับคืนมาผ่านการปฏิรูป(Reform)


หลังจากนั้นมีการแบ่งกลุ่มให้เเต่ละนำเสนอบทเรียน และเเนวทางข้อเสนอแนะต่อเรื่องการเยียวยาและการฏิรูป(เสาที่สามและสี่)ซึ่งกลุ่มผู้เขียนประกอบด้วยหลวงพี่ติ้ก (พระมหานภันต์ สนฺติภทฺโท
ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ )


ตัวแทนประชาสังคมที่ทำเรื่องสิทธิเด็กจากเชียงรายคุณจุฑามาศ ราชประสิทธิ์ มูลนิธิพัฒนาชุมชนเเละเขตภูเขาและตัวแทนสตรีนางสาวยูรีซา สามะที่มาจากกลุ่มด้วยใจที่ทำเรื่องสิทธิมนุษยชนชายแดนใต้มีการเลือกหัวข้อ โศกนาฏกรรมตากใบ ซึ่งมีข้อเสนอว่า ต้องมีการเหยียวยาทั้งวัตถุและจิตใจ ผู้เสียหาย ญาติและชุมชนตากใบ โดยให้ผู้เสียหายมีส่วนร่วมมากที่สุดในการแสดงความคิดเห็นในขณะเดียวกันมีอีกหลาคนยังมีแบล็คลิสต์รายชื่อตามด่านต่างๆ และ ตม.ก่อนออกต่างประเทศแม้เหตุการณ์ล่วงเลย มา15ปี ดังนั้นหน่วยงานความมั่นคงต้องถอนรายชื่อนี้ออกและประสานทุกหน่วยงานผ่านการใช้สื่อยุคดิจิตอล(ให้เหมาะสมว่าปัจจุบัน) ในส่วนเสาที่สี่เพื่อจะไม่ให้เหตุการณ์เสมือนตากใบอีกในทางตรงต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่มีความเป็นมาตรฐานสากล โปร่งใสและตรวจสอบได้ ปฏิรูปศาลไม่ให้ถูกแทรกแซง สถาบันทหารต้องไม่ยุ่งกับการเมือง ตำรวจในการทำสำนวน ในขณะที่ปัจจัยหนุนเสริมเสาที่สี่ให้ยั่งยืนคือปฏิรูปการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับสื่อต้องมืออาชีพตามมาตรฐานจรรยาบรรณเหมาะสมกับยุคดิจิตอล ให้ความสำคัญกับข่าวเท็จและข่าวลวง


สำหรับผู้เขียนมีทัศนะว่าสำหรับประเทศไทยมีสองเสาที่ยังทำไม่ได้เเละทำยากคือเสาที่สองในการนำคนผิดมาลงโทษ เช่นคดีนากใบทั้งเห็นเชิงประจักษ์ว่าใครผิดยังเอามาลงโทษไม่ได้ จะเอาผิดกับอากาศตามที่ศาลตัดสินว่าผู้นายคดีตากใบขาดอากาศหายใจส่วนเสาที่ยิ่งยากอีกในการปฏิรูปซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้วงจรอุบาทในการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอีก(อย่างแน่นอนซึ่งคาดเดาไม่อยาก)
หมายเหตุ
สื่อในสื่อนอกร่วมรายงาน/บทความ 15 ปีตากใบ//อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk//http://spmcnews.com/?p=21238

 1,070 total views,  15 views today

You may have missed