โดย…รพี มามะ บรรณาธิการข่าว…
ในฐานะ ผู้เขียน เคยดำรงตำแหน่งในหน้าที่ ที่ปรึกษาธรรมมาภิบาลจังหวัดนราธิวาส (การประชาสัมพันธ์) สำนักนายกรัฐมนตรี ปีงบประมาณ 2562 ผู้เขียน ได้ถูกตั้งคำถามจาก จากวนสนทนาหลายครั้ง จากชาวบ้านและบุคคลภานอก คำถามคือ ธรรมาภิบาล คืออะไร ? กรรมการธรรมาภิบาล มีหน้าที่อะไร ? เพื่อใคร ?
ผู้เขียนจึงได้สืบค้น ข้อมูลจากผู้รู้ และสืบค้นข้อมูลรวบรวม เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจ..
ธรรมาภิบาล ( Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
ธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ)
ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดไว้โดยได้เสนอเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า หลักธรรมาภิบาลนั้นประกอบด้วย 6 หลักการ คือ
- หลักคุณธรรม
- หลักนิติธรรม
- หลักความโปร่งใส
- หลักความมีส่วนร่วม
- หลักความรับผิดชอบ
- หลักความคุ้มค่า
สำหรับ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ธ.จ. จังหวัด เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. 2552 ข้อ 22 และ 26 คือ ข้อ 22 ก.ธ.จ. มีอำนาจหน้าที่ กล่าวคือ
(1) สอดส่องการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัด ให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(2) แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ในกรณีที่พบว่ามีการละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือมีกรณีทุจริต
(3) เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติและการส่งเสริมตามหลักคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานของรัฐในจังหวัด
(4) ติดตามการปฏิบัติตามมติ ก.ธ.จ.
(5) แต่งตั้งที่ปรึกษาด้านวิชาการ การประชาสัมพันธ์ หรือด้านอื่น จำนวนไม่เกินสามคน
(6) เผยแพร่ผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อสาธารณะตามที่เห็นสมควร
ข้อ 26 ก.ธ.จ. มีอำนาจออกหนังสือแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ปรึกษาตามข้อ 22(5) และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม หรือจัดส่งเอกสาร หรือข้อมูลต่างๆ รวมทั้งชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
ดังนั้น ในการทำหน้าที่ ก.ธ.จ.ยึดหลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนพื้นที่และประโยชน์ของประเทศชาติสูงสุดนั้นเอง
ดูรายละเอียดได้ที่นี้…
http://www.ggc.opm.go.th/index.php?page=board
810 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.