พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ทำไมต้อง#Save Rukchat รักชาติ สุวรรณ นักเคลื่อนไหวสันติภาพชายแดนใต้ชาวพุทธ

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


จากกรณี พล.ต.บุรินทร์ ทองประไพ ผู้ชำนาญการสำนักงาน กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับแกนนำพรรคฝ่ายค้านและนักวิชาการรวมทั้งประชาสังคมด้านสันติภาพชายแดนใต้ จำนวน 12 คน (ในนี้มี ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ รองหัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์อสมา มังกรชัยอาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจารย์ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการและสื่อมวลชน และนายรักชาติ สุวรรณนักเคลื่อนไหวสันติภาพชายแดนใต้ชาวพุทธ)ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ในข้อหาร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันยุยงปลุกปั่น ด้วยวาจา ในเรื่องที่ละเอียดอ่อน และเป็นการยุยงปลุกปั่นที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการจัดเสวนา “พลวัตแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่นับหนึ่งรัฐธรรมนูญใหม่” ที่บริเวณลานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี (อันเนื่องมาจากมีการตีความว่า “ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ เสนอแก้ไขมาตรา 1 แห่งรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่าราชอาณาจักรไทยจะแบ่งแยกมิได้ด้วยและ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า “ก็ในเมื่อนั่งอยู่ด้วยกัน ก็ต้องคัดค้านกันสิ”)
แม้ ผศ.ดร.ชลิตา ออกมาตอบโต้ถึงกรณีดังกล่าวว่า มีการตัดตอนเนื้อหา(อ้างอิงใน https://www.khaosod.co.th/politics/news_2942763) ในขณะที่กอ.รมน.ยืนยันเหตุผลที่ฟ้องนั้นปฏิบัติตามกฎหมายไม่มีการกลั่นแกล้งทางการเมือง(อ้างอิง
https://www.innnews.co.th/politics/news_505788/)
สำหรับ“มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี”


สำหรับทัศนะของนักวิชาการใหญ่อย่างอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชี้ว่าไม่สามารถฟ้องนักวิชาการได้เพราะ ละเมิดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น โดยท่านกล่าวว่า “การบังคับใช้ ป.อาญา มาตรา 116 (ความผิดฐานปลุกปั่นยุยง) ต้องไม่เป็นการทำลายล้างสาระสำคัญของเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 34 การกล่าวโดย ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ ว่า แม้แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 1 (ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรที่แบ่งแยกไม่ได้) ก็ควรพิจารณาแก้ไขได้ หากเป็นสาเหตุที่ทำให้แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ไม่ได้ ไม่เข้าช่ายเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 116(1) เพราะตราบใดที่ยังมิได้มีการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นอันเป็นผลโดยตรงจากการกล่าวเช่นนั้น และใน การกล่าวเช่นนั้น มิได้มีการใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้ายผู้อื่นให้ยอมกระทำตามที่กล่าวแต่อย่างใด กรณีย่อมไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตามองค์ประกอบที่กำหนดไว้ในมาตรา 116 (1) นั้น
การที่ กอ.รมน. ร้องทุกข์กล่าวโทษ ดร.ชลิตา ว่า กระทำความผิดตามป.อาญา มาตรา 116 จึงเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของ ดร.ชลิตา ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเธอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 เพราะเป็นการมุ่งทำลายสาระสำตัญของการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าว ด้วยการใช้กฎหมายอาญา มาตรา 116 ปิดปาก
สำหรับชายแดนใต้
แล้วมีการเสวนาระหว่างนักวิชาการกับประชาสังคมซึ่งมีความคิดเห็นตรงกันว่าการฟ้องร้องนักวิชาการและประชาสังคมคนทำงานด้านการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพอย่างคุณ รักชาติ สุวรรณนนั้นสะท้อน
“การไม่เปิดพื้นที่ทางการเมืองจะไม่เอื้อต่อการสร้างภาวะแวดล้อมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้”
4 ตุลาคม 2562 ผู้เขียนและตัวแทนประชาสังคมชายแดนใต้และบางส่วนนักวิชาการ ได้ประชุมปรึกษาหารือถอดบทเรียนและกำหนดท่าทีเรื่องนี้ (สถานที่วันเวลาไม่ขอเปิดเผย) มองว่า การฟ้องร้องนักวิชาการและตัวแทนประชาสังคมชายแดนใต้ของกอ.รมน.ในครั้งนี้นั้นไม่เป็นผลดีต่อปัจจัยเอื้อต่อการหนุนสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้หรือปัจจัยเอื้อต่อการสร้างภาวะแวดล้อมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ ขนาดคนอย่างรักชาติ สุวรรณ อยู่ในคณะอนุกรรมการหลายชุดที่รัฐตั้งโดยเฉพาะคณะพูดคุยในระดับพื้นที่ยังโดน แล้วรัฐจะเปิดเวทีการพูดคุยในระดับพื้นที่จะได้ความจริงหรือ การเปิดพื้นที่เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของการเปิดพื้นที่ทางการเมืองซึ่งมองว่าการเปิดพื้นที่ทางการเมืองคือส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จชต. ที่สอดคล้องกับทัศนะ ดร.นอร์เบิร์ต รอปเปอร์ส (Dr.Norbert Ropers) (โปรดดู https://deepsouthwatch.org/dsj/th/11128) ในทัศนะนักวิชาการในการแก้ความขัดแย้งโลกถือว่าการยุติสงครามด้วยวิถีทางการเมือง เป็นหนทางที่ใช้ต้นทุนต่ำที่สุดหากเทียบกับงบประมาณด้านการทหารที่ทุ่มลงไป
หลังจากนั้น วันที่ 9 ต.ค. ที่อาคารเรียนรวม 19 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี ประมาณ 100 คน เปิดกิจกรรมแสดงเจตจำนง และแสดงออกการมีส่วนร่วมร่วมเรื่อง รัฐธรรมนูญและความเป็นประชาธิปไตย เพื่อให้กำลังใจ อาจารย์อัสมา มังกรชัย

และ 12 ตุลาคม 2562 ที่ห้องมะปรางค์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงคลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะทำงานเตรียมงานสมัชชาสันติภาพชายแดนใต้2019และตัวแทนกรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้นำโดยนายมุฮัมมัดอายุป ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ร่วมให้กำลังใจนายรักชาติ สุวรรณนักเคลื่อนไหวสันติภาพชายแดนใต้ชาวพุทธและดำรงตำแหน่งรองประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ พร้อมติด #อิสรภาพการการแสดงออกของ CSO คือปัจจัยเอื้อบรรยากาศการพูดคุยสันติภาพและ#มาตรา 116 ความท้าทายของนักสร้างสันติภาพบนข้อต่อสันติวิธีและความรุนแรง ในระลอกประชาธิปไตยใหม่
จากปรากฎการณ์การเคลื่อนไหวดังกล่าวตีความได้ว่ารัฐต้องไม่ดึงนักวิชาการและประชาสังคมเข้าไปด้วย กับความขัดแย้งทางการเมืองและการจำกัดฝ่ายทางการเมืองของผู้เห็นต่าง หรือไม่อย่างไร
ปฏิกริยาหลังการฟังพล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกบรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง “แผ่นดินของเราในมุมมองด้านความมั่นคง” ที่พูดอย่าง เผ็ดร้อน โดยใช้คำว่า หนักแผ่นดิน แบ่งแยกดินแดน ไม่รักชาติ การก่อการร้ายและคอมมิวนิสต์ ยิ่งหดหู่ ในขณะที่ฟัง รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุลในหัวข้อการสร้างชาติร่วมกันที่เน้น คำว่า การออกแบบชาติ ผ่านประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เคารพความแตกต่างทางศาสนา วัฒนธรรม ชาติพันธ์ ได้อารมณ์ต่างกันไป
หมายเหตุ
กรุณา ฟังให้จบอย่างใจเป็นธรรมและมีอารยะระหว่าง 2 ทัศนะในการดำรงอยู่ของชาติไทยและการวางอนาคตร่วมกัน
1.รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล
1.1 https://m.youtube.com/watch?v=WbghJ-Pw3E0
1.2

https://www.facebook.com/matichonweekly/videos/2333029080296096?sfns=mo

 

2.พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก

 1,584 total views,  2 views today

You may have missed