เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ฮากีม หวันแอเลาะ ผู้พัฒนาสังคมมุสลิม นนทบุรีผ่านการศึกษา

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) รายงาน…

ผู้เขียนและนายอซิซ สาเมาะประธานสมาคมคุรุสัมพันธ์แห่งประเทศไทย เขต 8 ได้มีโอกาสเยี่ยมอาจารย์ฮากีม หวันแอเลาะ นักวิชาการมุสลิมชาวนนทบุรี (9 ตุลาคม 2562)  ผู้ซึ่งมีตำแหน่งหลายตำแหน่งที่มีชื่อเสียงในวงการมุสลิมไทย โดยเฉพาะเป็นนายกสมาคมคุรุสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์และประธานกรรมการอิสลามจังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมมุสลิมในจังหวัดนนทบุรีและภาคกลางผ่านการศึกษาหลายประเด็นด้วยกันซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านดังนี้เช่น
หนึ่งวิถีมุสลิมยุคปัจจุบันเพราะรากฐานการศึกษา

“การที่สังคมมุสลิมสามารถยังคงดำรงอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมไทยได้ ณ ปัจจุบันแม้ความเจริญด้านวัตถุและกระเเสวัฒนธรรมตะวันตกจะไหล่บ่านั้นเพราะสังคมมุสลิมโดยเฉพาะผู้นำศาสนาบังคับให้ลูกหลานเรียนคัมภีร์อัลกุรอ่านไม่ว่าตามบ้านหรือชายคามัสยิด การเรียนฟัรดูอัยน์ หลักอิสลามเบื้องต้นโดยเฉพาะในหลักสูตรคุรุสัมพันธ์ซึ่งดำเนินการสอนโดยสมาคมคุรุสัมพันธ์ฯที่ทำการสอนตามชุมชนต่างๆไม่ว่าทุกวันตอนเย็นหรือเสาร์อาทิตย์ที่ชายแดนใต้เรียกว่าตาดีกาโดย
ในหลักสูตรนี้มีการทดสอบทั้งข้อเขียนและปฏิบัติทุกปีทั่วประเทศ มีเวทีให้เด็กได้แข่งขันในระดับชุมชน จังหวัด ภาคและประเทศทุกปีเช่นกันสิ่งเหล่านี้ได้หล่อหลอมจากรุ่นสู่รุ่นตลอดกว่า50ปี”
สองการอนุรักษ์ภาษามลายูของคนนนทบุรีและภาคกลางผ่านการศึกษา”

เป็นที่ทราบกันดีว่าชุมชนมุสลิมภาคกลางหลายชุมชนในอดีตบรรพบุรุษเช่นชุมชนท่าอิฐ สุเหร่าเขียวบางบัวทองสามารถใช้ทักษะการการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษามลายูได้เป็นอย่างดีแต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้เด็กรุ่นหลังไม่สามารถแสดงทักษะด้านภาษามลายูดังกล่าวได้อย่างไรก็แล้วแต่พบว่าหลายสถาบันสอนศาสนายังใช้แบบเรียนศาสนาอิสลามภาษามลายูอักษรยาวีในอดีตเหมือนกับชายแดนใต้ทำการสอนทำ ให้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กรุ่นหลังพอที่จะอนุรักษ์ภาษามลายูได้ ท่านอาจารย์ฮากีมก็เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ใช้ตำราดังกล่าวสอนชาวบ้าน นักเรียนทุกสัปดาห์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแม้สุขภาพท่านจะไม่ค่อยแข็งแรงนัก”
สามบทบาทมัสยิด สถาบันสอนศานาและสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาดังกล่าวในแต่ละชุมชนจะดีได้องค์กรสามองค์กรหลักต้องร่วมมือกัน จังหวัดนนทบุรีถือว่าเป็นอีกจังหวัดที่น่าจะเป็นแบบอย่างเชิงประจักษ์ที่ส่งผลให้มุสลิมนนทบุรียังคงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์มุสลิมไทยโดยต่อไปในอนาคตจังหวัดนนทบุรีจะมีศูนย์บริหารกิจการอิสลามจังหวัดนนทบุรีในการที่จะร่วมทำงานพัฒนาสังคมมุสลิมผ่านการศึกษาอย่างมีบูรณาการมากขึ้น”

สำหรับการบริหารสมาคมคุรุสัมพันธ์แห่งประเทศไทยท่านได้ยำ้กับนายอซิซ สาเม๊าะประธานเขต 8 ว่านโยบายใหม่สมาคมจะเปิดโอกาสให้เเต่เขตพื้นที่มีโอกาสคิดค้นสิ่งที่ดีๆเรียกว่าแต่ละที่มีอัตลักษณ์ความโดดเด่นแต่ที่ต่างกัน ให้เเต่ละที่มีอำนาจการบริหารจัดการอย่างเต็มที่ในส่วนกลางจะคอยไปหนุนเสริมในส่วนนายกสมาคม คณะกรรมการจะลงไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจมากขึ้น”
ครับผู้เขียนหวังว่าเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดโดยอาจารย์ฮากีม หวันแอเลาะวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยโดยก่อนจากลาท่านอาจารย์ ผู้เขียนขอขอบคุณท่านที่ช่วยเป็นสื่อกลางการอธิบายภาพลักษณ์อิสลามให้คนต่างศาสนิก หรือรัฐบาลที่มาจากคนภาคกลางซึ่ง คนชายแดนใต้นั้นบางครั้งอาจด้อยในการสื่อสารให้สังคมภาคกลางได้เข้าใจ

หมายเหตุดูประวัติท่านพอสังเขปใน

ทำความรู้จัก “อาจารย์อับดุลฮากีม (อนันต์) วันแอเลาะ” ประธานจัดงานเมาลิดกลาง ฮ.ศ. 1440

 1,153 total views,  2 views today

You may have missed