เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ทำไมกระบวนการยุติธรรมต้องปฏิรูป กรณีศึกษากระบวนซักถามตามกฎหมายพิเศษ

แชร์เลย

รายงานโดย…อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ) 

ผู้เขียนได้มีโอกาสฟังข้อคิดเห็นจากผศ.ดร.รณกรณ์ บุญมีอาจารย์นิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (11 ตุลาคม 2562 ) ได้สะท้อนและตั้งข้อสังเกตว่า “คำรับสารภาพ ข้อมูลในภาคใต้ในกฎหมายพิเศษน่ารับฟังไหม “อันสามารถทำให้ผู้ฟังร้องออว่ายังไงกระบวนการยุติธรรมที่ชายแดนใต้ต้องรีบปฏิรูปมิฉะนั้นจะเป็นปัจจัยเอื้อต่อไฟใต้ตลอด

ท่านให้ทัศนะว่า “ผมไม่ได้เห็นด้วยกับคุณคณากร  ทั้งหมด แต่ประเด็นหนึ่ง หรือประโยคซึ่งจับใจมาก

” ทำไมผู้ต้องสงสัยที่มีศักดิ์สูงกว่าผู้ต้องหา แต่มีสิทธิน้อยกว่าผู้ต้องหา”

เหมือนที่ทนายของกลุ่มMAC (ศูนย์ทนายความมุสลิม)บอกว่า ทำไมกลุ่มพวกนี้ถูกจับกุม คุมขัง แม้เราจะเรียกชื่อเขาว่าไม่ใช่ผู้ต้องหา แต่เป็นผู้ต้องสงสัย ทำไมไม่มีสิทธิตามกฎหมาย สิทธิตามกฎหมายพื้นฐานสำหรับการป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐ รัฐมีเงินลงทุนทุกอย่าง จ้างตำรวจ จ้างอัยการ  แต่ในอีกฝั่งหนึ่งของผู้ต้องหา มีเพียงสิทธิ์เดียวเท่านั้น คือ สิทธิ์ที่จะถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นผู้บริสุทธิ์  “ ท่านแสดงทัศนะเพิ่มเติมว่า”

คุณมีสิทธิ์เดียวเท่านั้นที่คุณจะเป็นอาวุธสู้  ประเด็น สิ่งที่เขาต้องมีก็คือ เขาต้องมีคนนอก คนกลาง ที่ช่วยเขารับฟัง ช่วยเป็นพยาน ถ้าเขาจะถูกใช้อำนาจโดยมิชอบ นั่นก็คือ ทนายความที่เขาเลือกเอง ประเด็นคือ เรามีทนายความแบบนั้นไหมที่ชายแดนภาคใต้ ทนายความแบบนั้นได้เข้าถึงผู้ต้องสงสัยไหม? เขามีสิทธิ์บอกญาติไหม? เพื่อป้องกันการถูกบังคับให้สูญหาย ถ้าเขามีหลักประกันหลักการพื้นฐานแบบนี้ ผมคิดว่าก็จะพอรับฟังได้ …

แต่ปัจจุบันสิทธิ์พวกนี้ เขาไม่มีและที่แย่ที่สุดในบรรดาทั้งหมด คือสิทธิ์ที่ได้เจอผู้พิพากษาโดยเร็วที่สุดเพื่อตรวจสอบว่า การจับกุมของเขาถูกต้องหรือไม่ ?

มาตรฐานโลก ซึ่งแน่นอนแตกต่างในแต่ละประเทศ แต่ Human Rights Committee ตาม iccpr กำหนดอยู่ที่ 48 ชม. อังกฤษกำหนดที่ 24 ชม. คดีสำคัญได้ 36 ชม. ยกเว้นคดีก่อการร้ายที่ 72 ชม.  โดยมาตรฐานทั่วโลกคือ 48 ชม.

แต่ของไทย “กฎอัยการศึก 7 วัน”  ต่อให้เราเชื่อว่าศาลทำงานอย่างเข้มแข็งในการดูหมายฉุกเฉิน ในการควบคุมตัวตาม พรก.ฉุกเฉิน  ต่อให้เราเชื่อว่าใน เจ็บวัน ๆ ๆ นั้น

คนๆนี้ถูกคุมขังไปแล้ว 7 วันโดยไม่มีใครเยี่ยม ไม่ใครไปอยู่ด้วย” ท่านอธิบายเพิ่มอีกว่า”ผมทราบดีถึงข้อแลกเปลี่ยนระหว่างความมั่นคง กับ เสรีภาพ

แต่นี่คือราคาที่เราต้องจ่าย แล้วมันคุ้มค่าไหม ? แต่คนจ่ายไม่ใช่เราที่นั่งหล่อ ๆ สวย ๆ อยู่ในกรุงเทพฯ

แต่คือ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่”

ครับจะเห็นถึงว่าหากมีกระบวนการยุติธรรมที่มาตรฐานสากลตั้งแต่กระบวนการซักถามเรื่องอับดุลเลาะ อิซอมุสอ คนไทยต้องไม่ทะเลาะกัน ญาติคงไม่ต้องออกไปความยุติธรรมที่กทม. ที่รัฐสภา ที่ฝ่ายค้าน ที่องค์กรสิทธิระหว่างประเทศ รัฐไม่ต้องมาตอบคำถามนักข่าวเกือบทุกวันที่สำคัญคนเห็นต่างจากรัฐที่ใช้อาวุธก็ไม่สามารถนำประเด็นนี้ไปขยายต่อ และที่สำคัญผบ.ทบ.ที่แสดงทัศนะจนเป็นTalk of the Town (11/10/62)ก็ไม่ต้องมาเหมารวมเรื่องขบวนการแยกดินแดน

หมายเหตุ

1.(บันทึกโดย Mhd Azizi Bin Wanruslan)

2.https://prachatai.com/journal/2019/10/84718

บางส่วนจากวงเสวนาทางกฎหมาย เรื่อง“คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน”

โดย ผศ.ดร.รณกรณ์ บุญมี

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  1. https://www.facebook.com/100000039316411/posts/2803386566339293?sfns=mo

4.เหตุผลการจัดเสวนาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย

https://voicefromthais.wordpress.com/2019/10/12/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2-%e0%b8%81%e0%b8%8e%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2/

 597 total views,  2 views today

You may have missed