เมษายน 20, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

มองคดีลัลลาเบล อย่างรอบด้านผ่านเวทีสิทธิมนุษยชน “วงการพริตตี้แท้ พริตตี้เก๊”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

กรณีคดีน้องพริ้ตตี้สาวลัลลาเบลที่เป็นข่าวดังในช่วงนี้ที่ตำรวจและผู้คนอยากทราบว่าใครคือฆาตกรตัวจริงโดยมีการขยายผลทางคดีมากมายและเริ่มมีตัวละครมากกว่า น้ำอุ่น ซึ่ง วันที่ 28 กันยายน 2562 ได้มีการนำกรณีตัวอย่างของคดีนี้มาถกในวงเสวนา “หลักสูตรความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและสิทธิมนุษยชน ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งจัดโดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โดยในวงเสวนาวันนี้มีคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกว่า 20 คนจากทั่วประเทศไทยรวมทั้งนักการศาสนาพุทธ มุสลิมพร้อมผู้เขียน …ในวงเสวนาได้ถกถึงสาเหตุการเกิดเหตุการณ์นี้ เหตุการณ์มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ และจะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร


สำหรับการละเมิดสิทธิมนุษยชนมีทั้งต่อลัลาเบล รวมทั้งต่อครอบครัวของเขาโดยเฉพาะลูกน้อยของลัลลาเบล ในส่วนต่อลัลลาเบลนั้นมีทั้งตอนที่ยังมีชีวิต และหลังเสียชีวิต มีการล่วงละเมิดทางเพศในฐานะผู้ชายที่มีต่อสตรี มีการนำแอลกอฮอร์ที่เกินปริมาณปกติให้ลัลลาเบล ดื่ม อันเป็นจุดเริ่มต้นของการละเมิดในตัวลัลลาเบลในที่สุด มีการกัก หน่วงเหนี่ยว บังคับคืนใจ ในขณะที่รู้ว่าลัลลาเบลอาจมีอันตรายถึงชีวิต ทำไมไม่รีบพาไปหาหมอ (ซึ่งอาจรอดหากถึงมือหมอไว) เมื่อลัลลาเบลเสียชีวิต มีการละเมิดต่อศพ ตามคลิปที่แพร่กระจาย ในกลุ่มเพื่อนน้ำอุ่น ด้วยกันมีการแชทละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างเมามัน (ยกเว้นบางคน) ในขณะวงการสื่อไทยมีการนำภาพที่ดูแล้วจะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมาผลิตซ้ำ จะโดยตั้งใจหรือไม่อย่างไร ท้ายสุดสำหรับการแก้ปัญหาแล้ววงเสวนาเสนอว่า คดีนี้ต้องไม่จบแค่ใครคือฆาตกรเท่านั้น แต่ ณ วันนี้เรา ต้องทำมากกว่าการหาผู้กระทำผิดเพื่อดำเนินคดีและให้ความยุติธรรมต่อศพ ต่อญาติผู้เสียชีวิตแม้ เราจะเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อญาติลัลลาเบล และต้องเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของศพที่ไม่สามารถพูดได้ เพราะมันสะท้อนปัญหาสังคมที่เราคนไทยกำลังเผชิญร่วมกันซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติหรือโลกยุคดิจิทัลก็ว่าได้ มันคือปัญหาเชิงโครงสร้างของคนในชาติที่ต้องจับมือร่วมกันแก้ปัญหาเท่าที่ทำได้ สิ่งที่ทุกคนทำได้ทันทีคือ ร่วมกันรณรงค์หยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิความเป็นมนุษย์


ยิ่งเห็นทัศนะของท่านชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ที่สะท้อนและตีแผ่ผ่านสื่อ ยิ่งเราต้องร่วมถอดบทเรียนและช่วยแก้ปัญหา  ในการตีแผ่ของท่านชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ สะท้อน ว่า มันคือ ธุรกิจเพศพาณิชย์ที่ไม่ต้องจดทะเบียน  แต่รับรู้ในวงการนี้และทำอย่างโจ่งแจ้งโดยไม่กลัวกฎหมาย ท่าน กล่าวว่า “ลัลลาเบล เหยื่อสุดท้าย ปลายวงจรห่วงโซ่อาหาร (ผู้ชาย)…พริตตี้อย่างลัลลาเบล คือ อาชีพหนึ่งที่ต้องมีคุณสมบัติสำคัญคือ “ความสวย” หากไม่สวย หุ่นไม่ดี ทำอาชีพนี้ไม่ได้ แรกเริ่มเดิมที พริตตี้อยู่ในงานมอเตอร์โชว์ งานแสดงสินค้า เป็นงานพาร์ทไทม์เสริมรายได้ให้บรรดานักศึกษา ต่อมา ความสวยอย่างเดียวไม่พียงพอ ต้องเซ็กส์ซี่ โชว์หุ่นให้เย้ายวนชวนมองเพิ่มขึ้น จนมีคนชวนไปดูแลผู้ใหญ่ แค่กินข้าว นั่งคุย ให้ผู้ชายขี้เหงา (แต่มีเงิน)
ต้องขอโทษพริตตี้ที่มีอุดมการณ์ ไม่รับงานแบบนี้ก็มีมาก แต่ด้วยการแข่งขันของวงการพริตตี้ เลยมีทั้ง “พริตตี้แท้” และ “พริตตี้เก๊” ที่อยากเดินทางลัดเข้าสู่วงจร “ธุรกิจเพศพาณิชย์” ผ่าน “เอเย่นต์” ที่ตั้งกลุ่ม Line หากินกับบรรดา “ลูกเสี่ย” และ “เสี่ยน้อยเสี่ยใหญ่” ที่ปรารถนาจะชื่นชมพริตตี้เป็นการส่วนตัวถือเป็นธุรกิจเพศพาณิชย์ที่เอเย่นต์มีรายได้หักหัวคิว ส่วนพริตตี้ได้ค่าตัว หากเป็น “ลูกเสี่ย” ก็จัดปาร์ตี้กินเหล้า และอัพยาตามสูตร ของแบบนี้พริตตี้จะไปห้ามเจ้าของงานได้อย่างไร? เขาเป็นคนจ่ายเงิน เวลาพริตตี้ได้งานไปเอนเตอร์เทนทำนองนี้ก็มีทั้งอัพด้วย กับที่ไม่อัพ พัฒนาการของพริตตี้ยังไม่หยุด ลามไปถึงพริตตี้ที่ “เอนเตอร์เทน + วีไอพี” อย่างนี้คือไม่พ้นเรื่องบนเตียง ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท แล้วแต่รูปร่าง หน้าตา โปรไฟล์ และคุณสมบัติ หญิงสาวทุกวงการอาจเคยเป็น “พริตตี้ชั่วคืน” ของชายคนใดคนหนึ่ง


พริตตี้มักมี “ชื่อจัดตั้ง” ในวงการ ใช้เรียกขานโดยผ่าน Line ส่งรูป สัดส่วน คุณสมบัติ และราคาค่าตัว ของพรรค์นี้ใครทำใครไม่ทำยากที่จะหยั่งรู้ พริตตี้บางคนบอกไม่ทำ แต่ไปเจอของจริง เงินถึง ก็หยวนๆ ธุรกิจเพศพาณิชย์ในประเทศไทยจึงขยายใหญ่โตเกินกว่าใครจะคาดคิด เป็นธุรกิจสีเทาที่สร้างมูลค่าถึงขนาดมีนักวิชาการทำสถิติว่ามีเม็ดเงินมากกว่าธุรกิจยาเสพติด
ลัลลาเบล คือ “เหยื่อ” รายหนึ่งในขบวนการธุรกิจเพศพาณิชย์ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องมากมาย เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อาหารสุดท้ายของผู้ที่หาประโยชน์ทั้งจากเรือนร่าง ความสวย ที่ถือเป็นอาหารอันโอชะ ผมในฐานะที่รู้เรื่องราวประเภทนี้ดี เปรียบเสมือนองคุลีมาล จะไปห้ามใครคงไม่ได้ บอกใครก็คงไม่ฟัง แต่สำหรับไอ้พวกที่ไปหากิน เงินไม่ถึง จึงใช้อุบายทั้งมอมเหล้า มอมยา ทำให้พริตตี้เอนเตอร์เทน กลายเป็นพริตตี้วีไอพีโดยไม่ยินยอม คนประเภทนี้มันเลวชาติ สัตว์นรกส่งมาเกิดไม่ต่างกับพวกที่เอาเด็กหญิงอายุ 12-13 ปี มาขายตัว แถมทำอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร แล้วดันมีคนในวงการกฎหมายชื่อย่อ “ว” กระซิบอีกนิด ที่กำลังจะไปทำงานใหญ่โตอยู่แถวถนนแจ้งวัฒนะ ดันไปช่วยสนับสนุนให้รอดคดี หากจ่ายเงินจ่ายทองใช้บริการธุรกิจเพศพาณิชย์ เพราะอยากหาความสุขชั่วครั้งชั่วคราว ผมจะไปว่ากระไรได้ เพราะเป็นผู้ชายทั้งแท่ง
แต่ลองถามใจตัวเองดู มีตำแหน่งใหญ่โตขนาดนี้แล้วไปช่วยสร้างเครือข่าย กลายเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการธุรกิจ “เพศสถุน” ที่ทำได้ถึงขนาดเอาเด็ก 12-13 ปี มาค้าบริการทางเพศที่ “วิคตอเรีย” มรดกบาปจะตกไปถึงลูกถึงหลาน
สำนักข่าวอิศราเขียนบทความหนึ่งว่า “คดีลัลลาเบลสังคมสุดเสื่อม…สังคมบ้านเราเสื่อมทรามกันขนาดนี้เชียวหรือ แก๊งผู้ต้องสงสัยในคดียังมีความเป็นมนุษย์อยู่บ้างไหม เมื่อได้เห็นได้ทราบว่า “ลัลลาเบล” ไม่มีสติเหลืออยู่ ถูกนายน้ำอุ่นจับใส่รถ วางไว้บนพื้นรถเหมือนเป็นผัก หรือเป็นปลาที่ตายแล้ว แถมจิกหัวถ่ายรูปส่งให้เพื่อนดู กลับมีแต่ข้อความตอบกลับในมุมสนุกสนาน หนำซ้ำเรื่องเกิดขึ้นกลางวันแสกๆน่าตกใจตรงที่ไม่มีสักข้อความที่บอกให้พา “ลัลลาเบล” ไปหาหมอ หรือส่งโรงพยาบาลก่อน มีแต่แนะนำให้อุ้มร่างไปวางทิ้งแล้วชิ่งหนี…การล่าแต้ม ข่มขืนผู้หญิง หรือเอาผู้หญิงทำเมียด้วยวิธีการเลวๆ ซึ่งโดยมากผู้หญิงน่าจะไม่ยินยอม กลับกลายเป็นความเก่ง ความเท่ ได้รับการเชิดชู ยกนิ้วให้ ยิ่งเยอะยิ่งอวด อย่างที่มีการบอกว่านี่คือเมียคนที่ร้อย”
ครับเมื่อเห็นปัญหาแล้วหน่วยงานใดบ้างจะต้องช่วยกันมาดูแลแก้ปัญหา


เช่นการปลูกฝังค่านิยม การช่วยเหลือเหยื่อไม่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม การช่วยเหลือเหยื่อ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การหนุนเสริมอาชีพที่สุจริตมีคุณธรรมที่สร้างในยุควัยรุ่นดิจิทัลของกระทรวงพาณิชย์ การแก้ปัญหาอาชญากรรมยุคใหม่ การค้ามนุษย์ที่พัฒนาเอามากๆซึ่งกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงกลาโหมต้องมามองการกระทบความมั่นคงของชาติหรือไม่หากมันเกิดพัฒนาเป็นธุรกิจข้ามชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่จะต้องมาหาการหนุนเสริมเรื่องการท่องเที่ยวและกีฬาของเยาวชนยุคใหม่ที่ต้องไม่ยุ่งกับเหล้าและยาเสพติด
ในวงเสวนายังพูดถึงกระทรวงแรงงานว่า ต้องไปดูกฎหมายแรงงาน ในต่างประเทศ หากเป็นการยอมรับในการตัดสินใจของสตรีในอาชีพแม้กระทั่งการบริการทางเพศ รัฐต้องเข้ามาคุ้มครองแรงงานเหล่านี้ว่าจะปกป้องเขาได้อย่างไร กลับไปดูกฎหมายเรื่องพลิตตี้ว่ามันมีขอบเขตอย่างไร ด้วยยุค 4.0 ยุคดิจิทัล กฎหมายหลายตัวยังล่าสมัยไม่ทันกับอาชีพที่เปลี่ยนไปของผู้ให้บริการ ผู้บริโภค
สำคัญที่สุดคือสถาบันครอบครัวที่จะคอยดูแลบุตรหลานในการอบรม บ่มนิสัย และสร้างคุณค่าใหม่ สร้างภาวะสมดุลระหว่างวัตถุกับจิตวิญญาณ ปรับทัศนคติใหม่ต่อเรื่อง เหล้า สตรี ความสัมพันธ์เสรีสุดโต่งระเพศชาย-หญิง แม้แต่เป็นภรรยา สามีผู้อื่น โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติดที่นับวันรู้สึกว่า รับได้ ไม่เป็นไร เป็นแฟชั่นและมีการฉลองกันอย่างโจ่งครึ่มในวงการไฮโซ
รัฐบาลชุดนี้อาจต้องให้นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะพร้อมนำวาระนี้มาแก้ปัญหาอย่าง เร่ง ด่วน ด้านสภาผู้แทนราษฎร ก็ต้องฝากรรมาธิการชุดต่างๆ ต้องรีบมาดูแลช่วงปิดสมัยประชุมสภา สำหรับส.ส.ในพื้นที่เกิดเหตุก็น่าลงพื้นที่ได้ นะ ว่า ในทางการเมืองสามารถแก้ปัญหาได้อย่างไร หรือแม้แต่มหาวิทยาลัย ซึ่งข่าวเชิงลึกพบว่า มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งเช่นกันยอมสละชีพเพื่อได้เงินเหล่านี้
หมายเหตุภาพประกอบในเวที เสวนา
https://www.facebook.com/CrCF.Thailand/posts/2412382488809023

 1,465 total views,  2 views today

You may have missed