อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)รายงาน…
เป็นที่ทราบกันดีว่า กฎหมายพิเศษในชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) กับ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ประกาศใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เต็มพื้นที่ทุกอำเภอ รวมทั้งในเขตพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2553 ได้มีประกาศการยกเลิกการใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 แทน (โปรดดูบทความผู้เขียนเรื่องรัฐบาลใหม่ระวังคำสั่งพิเศษ บทเรียนจากกฎหมายพิเศษชายแดนใต้ใน
https://prachatai.com/journal/2019/07/83489)
ที่ผ่านมาผู้เขียนนำทัศนะท่านรักชาติ สุวรรณมานำเสนอว่าท่านคิดเห็นอย่างไร(http://spmcnews.com/?p=20051&fbclid=IwAR3C9LgUdibEy1YMok8Kbitik4lJ_yMF9W3xMqWsDf8mqWSRMQWDeo8MPE0) วันนี้ขอนำทัศนะ “อัญชนา หีมมิหน๊ะ”ตัวแทนองค์กรกลุ่มด้วยใจ(ในฐานะท่านทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ชายแดนใต้มาไม่ตำ่กว่า10ปี )ว่าท่านคิดเห็นอย่างไร
คุณอัญชนา หีมมิหน๊ะ ให้ความเห็นว่า รัฐใช้เครื่องมือแก้ปัญหาคือกฎอัยการศึก “อันเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายพิเศษ” ตั้งแต่แรกเริ่มเกิดเหตุการณ์ไฟใต้ และใช้อย่างกว้างขวาง อันส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายแดนใต้มากและไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น ต่อมาหลังจากนั้นมีการประกาศใช้ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 จึง ทำให้กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาของรัฐ โดยเครื่องมือเหล่านี้ยิ่งสร้างผลกระทบมากเพราะในบางมาตราของกฎหมายนี้ มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะกฎอัยการศึก มีขั้นตอนให้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวประชาชนที่ต้องสงสัยได้ ๗ วัน โดยไม่ต้องมีหมายจับ ในขณะที่เจตนารมณ์ของการใช้ พรบ.กฎอัยการศึกนี้ ก็เพื่อประกาศใช้ในภาวะสงคราม
ทั้งๆที่รัฐไม่เคยประกาศหรือยอมรับว่า ที่นี่คือพื้นที่สงครามหรือไม่?ซึ่งนี่คือคำถามที่สำคัญที่รัฐต้องตอบคำถามนี้
สำหรับ พรก.ฉุกเฉิน นั้น รัฐมีการประกาศใช้ต่อเนื่องโดยมีการต่ออายุทุกๆ ๓ สามเดือน โดยมติคณะรัฐมนตรี ประเด็นคำถามคือ การใช้กฎหมายดังกล่าว ผ่านมา ๑๕ ปี ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือไม่? จากข้อมูลตัวเลขสถิติทางวิชาการพบว่าเครื่องมือนี้ไม่สามารถทำให้พื้นที่สงบลงได้เลย และหนำซ้ำยังพบว่าตัวเลขคนที่ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษมีมากถึงประมาณ ๑๐ ,๐๐๐ คน
ขณะที่หลายคนก็ถูกควบคุมตัวซ้ำๆ นอกจากนี้การใช้เครื่องมือดังกล่าวนั้น มีการเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะกับคนที่เป็นคนไทยเชื้อสายมลายูมุสลิมที่มักจะเป็นคนถูกจับ ขณะที่รัฐเองไม่ได้มองถึงสาเหตุอันแท้จริงว่าสถานการณ์ในพื้นที่นั้นเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง? แต่รัฐกลับเลือกใช้เครื่องมือนี้ในการแก้ปัญหา
ผลกระทบของการใช้กฎหมายพิเศษไม่ได้สร้างผลกระทบแก่ผู้ถูกควบคุมตัวเท่านั้น แต่ยังลามไปถึงเรื่องการจัดเก็บอัตลักษณ์ของผู้ใช้มือถืออีกด้วย โดยที่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า ผู้ให้บริการนำข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของประชาชนให้แก่เจ้าหน้าที่เหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนไม่รู้ว่าผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลของผู้คนอย่างไร? ยกตัวอย่างเปรียบเทียบว่าในสหรัฐฯนั้นการสแกนใบหน้า การจัดเก็บอัตลักษณ์ ได้รับการต่อต้านเป็นอย่างมาก และยังมีรายงานอีกว่ามีความผิดพลาดในการระบุตัวตนผ่านโปรแกรมสแกนใบหน้า จนเกิดปัญหาตามมา อีกตัวอย่างซึ่งหลายท่านยังไม่ทราบว่า “ครูปอเนาะตามโรงเรียนต่างๆถูกตรวจเก็บ DNA” กรณีที่น่าสนใจคือ ที่ อำเภอธารโต จังวัดยะลาและ ต.บางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งรัฐใช้หลายมาตรการเพื่อกดดันชุมชน เรียกได้ว่า เป็นมาตรการเหมารวมและตีตราคนในชุมชน “เกี่ยวข้องกับขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่ อันเป็นผลกระทบจากการใช้กฎหมายพิเศษ”
สำหรับข้อเสนอแนะ การมีทหารคงอยู่ในพื้นที่นั้น ไม่ได้แปลว่ารัฐต้องใช้กฎหมายพิเศษควบคู่เสมอไป แต่รัฐควรใช้กฎหมายปกติเหมือนพื้นที่อื่นๆของประเทศ เพราะมีเหตุการณ์หลายๆกรณีที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากการใช้กฎหมายพิเศษ เช่น กรณีโต๊ะชูดและล่าสุดกรณีอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ที่ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษ จนหมดสติและเสียชีวิต โดยที่รัฐไม่สามารถนำคนผิดจากการใช้กฎหมายพิเศษมาลงโทษได้ โดยผู้กระทำผิดยังการลอยนวลอยู่ ดังนั้นเสนอ ให้ยกเลิกบางมาตราที่ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำความผิด โดยสามารถเอาผิดได้ตามกฎหมาย และรัฐควรจะออกแบบตัวชี้วัดในการแก้ปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ด้วยในการแก้ปัญหาในพื้นที่อย่างแท้จริง
อ่านเพิ่มเติมในเรื่องนี้ในI Law
https://www.facebook.com/299528675550/posts/10162291411130551?sfns=mo
2,283 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.