เมษายน 24, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

บทความเชิงวิเคราะห์…รัฐบาลที่ดีสำหรับการเมืองไทยในศตวรรษที่ 21

แชร์เลย

บทความ โดย..นายอติรุจ ดือเระ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์…

“การเมืองไทย” นับตั้งแต่ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่  ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 กระทั่ง ถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 87 ปี และคาบเกี่ยวอยู่ในช่วง 2 ศตวรรษ คือศตวรรษที่ 20 และศตวรรษที่ 21 มีปรากฏการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นมากมาย มีนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้นรวม 29 คน คณะรัฐมนตรีอีกกว่า 61 คณะ และมีรัฐธรรมนูญประกาศใช้มาแล้ว 20 ฉบับ นับว่ามีจำนวนมากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากโดมินิกัน เฮติ และเอกวาดอร์ นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมายังมีความพยายามก่อรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง ที่ประสบความสาเร็จทั้งหมดมี 13 ครั้ง ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2557 ในห้วงเวลา 87 ปีที่ผ่านมานั้น กล่าวได้ว่ารัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศมีรูปแบบที่แตกต่างกันใน แต่ละช่วงเวลา โดยเมื่อศึกษารัฐบาลในแต่ละสมัยแล้วสามารถจาแนกรูปแบบรัฐบาลไทยได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่หนึ่ง รัฐบาลเผด็จการอานาจนิยม เป็นรัฐบาลที่มักเกิดขึ้นภายหลังการทารัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศ จากนั้นผู้ยึดอานาจจะมอบหมายให้บุคคลซึ่งอาจเป็นทหารหรือพลเรือน ทำาหน้าที่เป็น นายกรัฐมนตรี รัฐบาลเช่นนี้มักประกอบด้วยข้าราชการหรืออดีตข้าราชการทำาหน้า ที่เป็นรัฐมนตรี
รูปแบบที่สอง รัฐบาลกึ่งประชาธิปไตย เป็นรัฐบาลที่มุ่งประนีประนอมทางการเมืองระหว่างพลังอำนาจของ กลุ่มข้าราชการประจำกับกลุ่มนักการเมือง ซึ่งมีฐานอิงอยู่กับประชาชน รัฐบาลรูปแบบนี้จึงเกิดจากการอาศัย ความชอบธรรมจากประชาชน โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยส่วนหนึ่ง กับกระบวนการของ ระบอบเผด็จการอำนาจนิยมอีกส่วนหนึ่ง อาทิ การแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา และการให้อำานาจแ ก่วุฒิสภาให้ มากกว่าหรือทัดเทียมกับสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง สามารถดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อีกด้วย รูปแบบที่สาม คือ รัฐบาลประชาธิปไตย เป็นรัฐบาล ผสมที่เกิดจากการรวมตัวของพรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรแข่งขันกันจัดตั้งรัฐบาล ฝ่ายใดที่สามารถรวมเสียงข้างมากได้ในสภาย่อมสามารถจัดตั้งรัฐบาล โดยมักให้หัวหน้าพรรคการเมืองที่เป็นแกนนำ ในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้นองค์ประกอบของคณะรัฐมนตรีจึงเป็นไปตามสัดส่วนของจำานวน ส.ส. ของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล และเสถียรภาพของรัฐบาลผสมมักขึ้นอยู่กับปัจจัยของพรรค การเมืองที่ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลเป็นปัจจัยหลัก ส่วนการตรวจสอบถ่วงดุลของพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภา เป็นปัจจัยรอง (“เจาะเวลาหาอดีต,” 2559)


การเมืองไทยในศตวรรษที่ 20 มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลาอานาจทางการเมืองเปลี่ยนขั้วบ่อยครั้ง ระหว่างฝั่งทหารและพลเรือน เป็นผลให้ศตวรรษนี้มีรัฐบาลไทยทั้งสามรูปแบบเกิดขึ้นโดยสลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศ โดยตั้งแต่ปี 2475-2539 มีบุคคลเข้าดารงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 21 คน มีการจัดตั้งรัฐบาลบริหารแผ่นดิน 51 ชุด (จนถึงรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปะอาชา) มีรัฐบาลในรูปแบบเผด็จการจำนวน 17 ชุด รัฐบาลรูปแบบกึ่งประชาธิปไตย 16 ชุด และรัฐบาลแบบประชาธิปไตย 19 ชุด โดยเฉลี่ยแล้วจำนวน นายกรัฐมนตรีจะมีช่วงระยะเวลาในการดารงตาแหน่งคนละ 36 เดือน ส่วนอายุเฉลี่ยของรัฐบาลอยู่ที่ 14.8 เดือน หากนับตามอายุไขเฉลี่ยของรัฐบาลในแต่ละรูปแบบการปกครองนั้นพบว่า รัฐบาลในรูปแบบเผด็จการอยู่ในอานาจรวมระยะเวลา 31 ปี 1 เดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 49.34 ของการปกครองประเทศในระบบรัฐสภาไทย ส่วนรัฐบาลในรูปแบบกึ่งประชาธิปไตยอยู่ในอานาจรวมระยะเวลา 19 ปี 4 เดือน คิดเป็นร้อยละ 30.69 และรัฐบาลในรูปแบบประชาธิปไตยมีระยะเวลาอยู่ในอำนาจเพียง 12 ปี 7 เดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.42 เท่านั้น (เพิ่งอ้าง)
ต่อมาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา การเมืองไทยเหมือนยังไม่ขยับไปไกล จากที่เป็นมาในอดีต แม้จะเริ่มต้นศตวรรษด้วยรัฐธรรมนูญที่ถูกขนานนามว่าเป็นฉบับประชาชนและเปิดฉาก การเมืองด้วยรัฐบาลบริหารแผ่นดินที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ท้ายที่สุดการเมืองไทยก็วนเวียนเข้าสู่วงจรเดิม มีการรัฐประหารยึดอานาจเกิดขึ้น 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2557 สิ่งที่ตามมาภายหลังรัฐประหาร ยังคงเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญเดิมทิ้ง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และบุคคลจากทหารยังคงก้าวมาเป็นหัวหน้ารัฐบาล ด้วยเหตุผลเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง อย่างไรก็ตามรูปแบบของรัฐบาลยังคงไว้ทั้งสามรูปแบบ มีบางห้วง เวลาที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง อาทิ สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นต้น

ส่วนปรากฏการณ์ทางการเมืองระดับประชาชนที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างไปจากศตวรรษที่ผ่านมาอยู่บ้าง กล่าวคือการลุกฮือทางการเมืองของประชาชนเกิดจากการชักจูงของกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้เป็นปัญญาชนเป็นหลัก หากแต่มีกลุ่มบุคคล องค์กรที่มีความข้องเกี่ยวกับพรรคการเมืองเข้ามามีส่วนปลุกระดมเป็นสาคัญ นามาสู่การ แบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมืองผ่านสัญลักษณ์เสือสีที่ชัดเจน ได้แก่ สีเหลือง สีแดง การแบ่งขั้วกันเช่นนี้เป็นเหตุให้เกิดการชุมนุมประท้วง และ เดินขบวนของมวลชนหลายครั้ง มีการปะทะกันระหว่างฝ่าย และยังเกิดสื่อมวลชนเข้ามาสนับสนุนฝ่ายของตน นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการสื่อสารที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องยังเปิดช่องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แสดงความคิดเห็น รวมไปถึงตรวจสอบการบริหารของรัฐบาลได้บ้างในบางกรณี
จากประวัติศาสตร์การเมืองไทยในศตวรรษที่ 20 ต่อเนื่องมาถึงศตวรรษที่ 21 สะท้อนให้เห็นปัญหา ของรัฐบาลที่เข้ามาบริหารแผ่นดินอยู่สามประการสาคัญ ประการแรก คือรัฐบาลที่เข้ามาบริหารต้องติดหล่มจมบ่อวงจรอุบาทว์ทางการเมือง (The Vicious Circle) มาโดยตลอด อันเป็นแนวคิดที่สรุปเอกลักษณ์ของประชาธิปไตยไทยว่าเริ่มต้นจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วจึงมีการเลือกตั้งรัฐสภา แต่ท้ายที่สุดก็เกิดปัญหาขึ้นและลงเอยด้วยการรัฐประหารเพื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, 2550 : 97) เป็นผลให้รัฐบาลหลายรัฐบาลไม่อาจดำเนินการบริหารประเทศได้ตามแผนนโยบาย เนื่องจากมีระยะเวลา ในการบริหารที่ถูกจำกัดด้วยเหตุรัฐประหาร ประการที่สอง คือรัฐบาลทั้งที่มาจากพลเรือนและทหารมักจะยึดผลประโยชน์กลุ่มตนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนร่วม มีการผูกขาดทางอานาจร่วมกับนายทุนนักธุรกิจ ระบบ เส้นสายและระบบอุปถัมภ์ยังคงดำเนินอยู่ เป็นผลให้การผ่านร่างกฎหมายหลายฉบับเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มชนชั้นนำเหล่านั้น และถางช่องว่างความเหลื่อมล้าระหว่างคนจนกับคนรวยให้กว้างมากขึ้น

ประการที่สาม คือ ปัญหาการ Lock-in เป็นสภาวการณ์ที่แม้รัฐบาลจะมีนโยบายสาธารณะต่างๆมากมาย แต่ก็ไม่สามารถ จะขับเคลื่อนหรือระดมทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหาหรือนาไปสู่ทางเลือกอื่นได้ เนื่องมาจากแรงเสียดทานของสถาบันที่ไม่เป็นทางการ อาทิ วัฒนธรรม ค่านิยม เป็นต้น ปัญหาข้างต้นสร้างผลกระทบต่อสังคมไทยจนไม่อาจพัฒนาไปได้อย่างทันท่วงที ผลกระทบที่สาคัญ อาทิ ความเหลื่อมล้าและการคอร์รัปชั่น สาหรับความเหลื่อมล้า พิสูจน์จากรายงานความมั่นคงของโลก (Global Wealth Report 2018) ซึ่งได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้าเป็นอันดับ 1 ของโลก คนไทย 1 เปอร์เซ็นต์มีทรัพย์สินรวม 66.9 เปอร์เซ็นต์ คนอีก 99 เปอร์เซ็นต์ มีทรัพย์สินแค่ 33.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งด้วยซ้า (“บรรยงแนะรัฐแก้เหลื่อมล้า,”2562) ส่วนด้านของการคอร์รัปชั่น
พิจารณาจากรายงานของ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International — TI) ซึ่งเผยแพร่ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นในภาครัฐทั่วโลก (Corruption Perception Index – CPI) ประจำปี 2018/2561 ซึ่งผลปรากฏว่า ประเทศไทยได้ 36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ถูกลดอันดับลง จากอันดับที่ 96 เมื่อปี 2560 ซึ่งได้คะแนน 37 คะแนน เป็นอันดับที่ 99 จึงหมายความว่าประเทศไทยมีการคอร์รัปชั่นอยู่ในอันดับต้นๆของโลก (“คอร์รัปชั่น : อันดับความโปร่งใสไทย,” 2562) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบริหารอย่างไร้เสถียรภาพของรัฐบาลข้างต้น ก่อให้เกิดคาถามที่น่าสนใจ
ต่อการเมืองไทยในศตวรรษที่ 21 ว่า “รัฐบาลที่ดี” ซึ่งจะเข้ามาบริหารและขับเคลื่อนประเทศให้หลุดพ้น จากปัญหาข้างต้นทั้งสามประการ เพื่อจะได้พัฒนาเป็นประเทศที่การเมืองมีเสถียรภาพ สังคมมีความมั่นคงเศรษฐกิจมั่งคั่งและประชาชนอยู่ดีกินดี ควรเป็นรัฐบาลที่มีคุณสมบัติใดบ้าง อย่างไรก็ตามหากจะตอบคำถามข้างต้นให้ครบถ้วนสมบูรณ์ คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าบริบทการเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 นั้นก็มีความสาคัญ
โดยตั้งแต่ ค.ศ. 2001 เป็นต้นมา การเปลี่ยนผ่านทางศตวรรษได้สร้างแรงกระเพื่อมในหลากหลายมิติ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง เกิดปรากฏการณ์สาคัญมากมาย อาทิ การพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่ตัวแสดงไม่ใช่รัฐหรือเรียกว่าการก่อการร้าย เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อสิทธิและความเท่าเทียม ปัญหาขาดแคลนทรัพยากรและสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม รวมทั้งกระแสโลกาภิวัตน์ที่ท้าทายอาณาเขตรัฐชาติเดิม ดังกล่าวเป็นผลให้รัฐบาลในประเทศต่างๆทั่วโลกต้องปรับเปลี่ยนระบบ ยุทธศาสตร์ และนโยบายในการปกครองประเทศ มีการปกป้องผลประโยชน์ประเทศตน เพิ่มมากขึ้นจนเกิดกระแสอนุรักษ์นิยมในบางประเทศ มีการผ่านร่างกฎหมาย อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมทางสังคม อาทิ กฎหมายอนุญาตคนเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ ตลอดจนถึงการรวมตัวเป็นองค์กรเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในระดับภูมิภาคและระดับโลกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน อาทิ ประชาคมอาเซียน เป็นต้น สาหรับการเมืองโลกนั้นมีความผันผวนสูง ระเบียบโลก (World Order) กาลังเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่สหรัฐอเมริกาเป็นมหาอานาจในลักษณะขั้วอานาจเดียว (Unipolar) มีอานาจทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงอย่างผูกขาดเป็นต้นมาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็น ทว่าปัจจุบันมีจีนและประเทศอื่นๆ อาทิ รัสเซีย อินเดีย เป็นต้น กาลังผงาดขึ้นมาท้าทายอำนาจสหรัฐอเมริกา เป็นการเบียดเสียดกันเพื่อเป็นเจ้าครอง โลก การทำสงครามการค้า การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ตลอดรวมไปถึงการคิดค้นประดิษฐ์ทางเทคโนโลยี ดูเหมือนจะเป็นสมรภูมิใหม่ทางการแข่งขันถึงขั้นมีการขนานนามว่าเป็น “สงครามเย็นภาคสอง” กระแสการ
แข่งขันทางอานาจในเวทีการเมืองเช่นนี้ส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อประเทศไทยอยู่ไม่น้อย ยกตัวอย่างการทาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน โอกาสที่ไทยจะได้รับประโยชน์นั่นคือการ
เคลื่อนย้ายทุนจากทั้งสองประเทศเข้าสู่ไทยมากขึ้น ส่วนผลกระทบเชิงลบคือการส่งออกสินค้าของไทยไปยัง จีนจะซบเซาลง ในบริบทการเมืองโลกเช่นนี้รัฐบาลที่ดีจึงควรเป็นรัฐบาลที่ตระหนักรู้ในการหยิบฉวยโอกาสและปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติให้ได้รับผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุด
จากบริบทการเมืองไทยและการเมืองโลกในปัจจุบันข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า “รัฐบาลที่ดีสาหรับการ เมืองไทย” ในศตวรรษที่ 21 จึงควรเปี่ยมพร้อมไปด้วยคุณสมบัติที่ฉลาด รอบรู้ และเท่าทัน โดยจะต้อง ก้าว พ้น ก้าวผ่าน และก้าวไกลให้ได้ ประการแรกคือ ก้าวพ้น รัฐบาลที่ดีจะต้องก้าวพ้นปัญหาเดิมๆที่เป็นต้นเหตุ ให้การบริหารบ้านเมืองไร้เสถียรภาพ อันได้แก่วงจรอุบาทว์ทางการเมือง การผูกขาดอานาจในด้านต่างๆและสภาวะ Lock-in และต้องหันกลับมาสู่หลักการประชาธิปไตย โดยการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใช้อำนาจ ทางการเมืองอย่างแท้จริง ประการที่สองคือก้าวผ่าน หมายถึงก้าวผ่านกระแสการเมืองโลกและกระแส โลกาภิวัฒน์ที่เชี่ยวกราก โดยจาเป็นจะต้องดาเนินยุทธศาสตร์อย่างชาญฉลาด มีการกาหนดนโยบายที่เป็น ประโยชน์ต่อประเทศทั้งนโยบายการต่างประเทศ นโยบายการค้า และนโยบายด้านความมั่นคง และมีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าจะยืนอยู่ตรงกลางหรือคบหามิตรประเทศฝ่ายใดเป็นการเฉพาะโดยพิจารณา จากผลประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับเป็นสาคัญ อีกทั้งควรดาเนินการเชิงรุกเพื่อผลักดันไทยให้เข้าไปมีบทบาทใน เวทีโลกมากขึ้นให้ได้ อาทิ องค์กรสหประชาชาติ องค์กรการค้าโลก เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความได้เปรียบ ทางอานาจและการต่อรอง ประการที่สาม คือก้าวไกล ในที่นี้หมายถึงรัฐบาลที่ดีนั้นจะต้องมีวิสัยทัศน์ ที่กว้างขวางและก้าวไกลในการพัฒนาเทคโนโลยี เนื่องจากเทคโนโลยีนับเป็นปัจจัยสาคัญในโลกยุคปัจจุบันที่เข้า มามีบทบาททั้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง
อย่างไรก็ตามการก้าวพ้น ก้าวผ่าน และก้าวไกลที่ได้นาเสนอไปข้างต้น คงไม่อาจนาพาประเทศชาติ ไปสู่ความเจริญและความเป็นอยู่ที่ดีได้หากปราศจากอีกหนึ่งประการสาคัญนั่นคือจริยธรรมทางการเมือง ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยพึงมี โดยเฉพาะศตวรรษนี้ที่ประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบและเผยแพร่ข้อมูลของรัฐบาลได้ผ่านสื่อออนไลน์หากรัฐบาลประพฤติไม่ชอบและผิดต่อจริยธรรมทางการเมือง โดยเนื้อหาของจริยธรรมทางการเมืองสาหรับรัฐบาลจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้ ประการแรก ความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อให้การใช้อานาจทางการเมืองเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง ประการที่สอง ความเป็นประชาธิปไตย คือ ปฏิบัติหน้าที่บนความเห็นชอบจากประชาชน มุ่งศึกษา รวบรวมและตอบสนอง ความต้องการของประชาชนมากกว่าจะยึดเอาความคิดเห็นส่วนตนเป็นใหญ่ ประการที่สาม ความอดทนอด กลั้น รัฐบาลที่ดีควรรู้จักอดทนอดกลั้น ลองรับฟังคาวิพากษ์วิจารณ์เพื่อพิจารณาหาข้อเท็จจริง และนำมา พัฒนาปรับปรุงการทางานของตน (ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, 2550 : 103-105)
ท้ายที่สุดนี้ การเมืองไทยซึ่งกาลังโลดแล่นอยู่ในศตวรรษที่ 21 จะขับเคลื่อนไปในทิศทางใดย่อมขึ้นอยู่ กับรัฐบาลที่เข้ามาเป็นกัปตันบริหารประเทศ ข้อเสนอแนะถึงลักษณะของรัฐบาลที่ว่าต้อง “ก้าวพ้น ก้าวผ่าน ก้าวไกล” ควบคู่ไปกับการมี “จริยธรรมทางการเมือง” จะช่วยส่งเสริมให้รัฐบาลเป็นอิสระจากการอำนาจ ครอบงำของกลุ่มทหาร นักธุรกิจ และหนุนให้รัฐบาลสามารถยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางกระแสการเมืองโลกที่มี ความผันผวน อีกทั้งจะนาไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยก้าวทันประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังที่จะเห็นรัฐบาลที่ดีเข้ามาบริหารประเทศคงไม่อาจเกิดได้ในเร็ววันนัก เนื่องจากการเมืองไทยบอบช้า จากรัฐบาลที่ผ่านมาอยู่ไม่น้อย เช่นนี้การจะร่วมกันสร้างหรือผลักดันให้เกิดรัฐบาลที่ดีเข้าไปบริหารประเทศ ในศตวรรษที่ 21 จึงไม่อาจกระทาได้ด้วยแต่เพียงพลังของพรรคการเมืองเท่านั้น หากแต่จาเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตั้งแต่สถาบันพระมหากษัตริย์ กองทัพ นักวิชาการ และประชาชนคนไทยทุกคน ทุกอาชีพ ในระดับสถาบันพระมหากษัตริย์สามารถหนุนเสริมได้ด้วยการใช้หลักประชาธิปไตย โดยไม่แทรกแซงกิจการบริหารของรัฐบาล และพึงดารงไว้ให้อยู่เหนือการเมือง ระดับของกองทัพจะต้องละทิ้งวิถีปฏิบัติเดิมใน
การแทรกแซงกิจการของรัฐบาล นั่นคือการรัฐประหาร พร้อมทั้งดำรงกองทัพไม่ให้ครอบงำ หรือเข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐบาล แต่ควรให้รัฐบาลนั้นมาจากการเลือกตั้งอันเป็นความเห็นชอบของประชาชน ระดับนักวิชาการ ควรทำาหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องออกสู่สาธารณชนเพื่อให้ประชาชนใช้เป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจ เลือกรัฐบาล สุดท้ายคือระดับประชาชน นับว่ามีความสาคัญเป็นที่สุดเนื่องจากเป็นผู้ที่จะได้รับผล จ ากการบริหารของรัฐบาลโดยตรง ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองตั้งแต่การเลือกตั้ง ตรวจสอบ และถอดถอนรัฐบาลหากกระทาความผิด การเลือกสรรรัฐบาลที่ดีเข้ามาบริหารประเทศนั้นต้องปราศจากการครอบงำจากอำนาจเงิน อานาจอุปถัมภ์และระบบเครือญาติ เมื่อทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างแข่งขันเอาจริง เอาจังแล้ว “รัฐบาลที่ดี” ในการเมืองไทยจะไม่เป็นเพียงประโยคสวยหรูหรือฝันอันเหลือเชื่อต่อไป หากแต่จะ สามารถเกิดขึ้นได้ในศตวรรษที่ 21 นี้อย่างแน่นอน
บรรณานุกรม
คอร์รัปชั่น : อันดับความโปร่งใสไทยปี 2018 ตกจาก 96 เป็น 99. ( 29 มกราคม 2562). BBC NEWS.
สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-47028658
เจาะเวลาหาอดีต : รูปแบบรัฐบาลไทย จาก 2518 ถึง 2539 มีอะไรในกอไผ่?. (22 พฤษภาคม 2559). TCIJ
ทาความจริงให้ปรากฏ. สืบค้นจาก https://www.tcijthai.com/news/2016/22/scoop/6213
บรรยงแนะรัฐแก้เหลื่อมล้าด้วยระบบ“เสรีนิยมใหม่+รัฐสวัสดิการ”. ( 6 มกราคม 2562). มติชนออนไลน์.
สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/economy/news_1305567
ภูริ ฟูวงศ์เจริญ. “จริยธรรมทางการเมือง กับการแก้ปัญหาประชาธิปไตยไทย”. รวมบทความชนะเลิศ
นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจาปีการศึกษา ๒๕๔๗-๒๕๕๐. ปทุมธานี :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

 4,189 total views,  2 views today

You may have missed