อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
Talk of The Town ทั้งชาวบ้าน นักวิชาการสื่อมวล ในและนอกสภาผู้แทนราษฎรหรือแม้แม้องค์กรสิทธิมนุษยชนในเวลาเดียวกันคงไม่เกินการยืนยันการตายของบิลลี่ (คนชายขอบจากเพชรบุรี)และการตายของนายอับดุลเลาะห์ อิซอมูสอ ( คนชายขอบชายแดนใต้) แม้แต่บทวิจารณ์สื่อไทยกระเเสหลัก เช่น
1.https://www.khaosod.co.th/hot-topics/news_2866968
2.https://www.matichonweekly.com/e-daung/article_226040
การยืนยันการตายของบิลลี่ นั้น ดีเอสไอ แถลงยืนยันเอง ว่า “บิลลี่” กะเหรี่ยงแก่งกระจาน ที่หายตัว 5 ปี เสียชีวิตแล้ว พบกระดูกในถังใต้น้ำ ดีเอ็นเอตรงกับแม่ กล่าวคือ เมื่อวันที่ 3 กันยายน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แถลงความคืบหน้าคดีการสูญหายของ นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ “บิลลี่” ชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในอำเภอแก่งกระจาน ซึ่งหายตัวไปกว่า 5 ปี ซึ่งพบว่ามีหลักฐานเป็นกระดูกอยู่ในถังน้ำมัน 200 ลิตร ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งดีเอ็นเอยืนยันว่าตรงกับแม่ของบิลลี่ ซึ่งความเป็นจริงคนในพื้นที่ นักสิทธิมนุษยชน ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งข้อเกตมานานแล้ว ดังนั้นหลังข่าวนี้ถูกแถลงทำให้ ถนนทุกสายมุ่งไปสู่คำถามต่อรัฐบาลให้จัดการเรื่องนี้ในการทวงความยุติธรรมกลับมาสู่อ้อมกอดของครอบครัว ซึ่งไม่ต่างจากการตายของอับดุลเลาะห์ แม้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนชายแดนใต้จะแถลงต่อสาธารณชนอย่างไร ทุกภาคส่วนรวมทั้งญาติก็ยังขอให้รัฐตั้งกรรมการใหม่เพื่อสอบสวนสืบสวนว่าช่วง3 ทุ่มถึงตี3 ในค่ายนั้นมีใครทำอะไรหรือไม่อย่างไรทำให้อับดุลเลาะห์ขาดอากาศหายใจ (ตามที่แพทย์โรงพยบาลแถลงว่าตายเพราะขาดอากาศหายใจ)ซึ่งล่าสุด น. วันที่ 4 ก.ย 2562 ภรรยา “อับดุลเลาะ” ยื่นหนังสือ พรรคอนาคตใหม่และองค์สิทธิมนุษยชนต่างประเทศจี้ ให้ตรวจสอบเหตุเสียชีวิตใหม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การที่ประชาชนรวมทั้งญาติอับดุลเลาะห์ ยังสัยอยู่เพราะ ตั้งแต่ปี 25 47 มีกรณี แบบนี้แล้ว 54 ราย 100 % เป็นมุสลิมเชื้อสายมลายู
อย่างไรก็แล้วแต่ทั้งสองกรณี เรื่องบิลลี่ คนชายขอบ (กะเหรี่ยง)จากแก่งกระจาน กับอับดุลเลาะห์ คนมลายูชายขอบจากชายแดนใต้ พบว่า ชาวบ้าน หรือทุกภาคส่วน สงสัย ว่า คนของรัฐเองใช้กระบวนการนอกกฎหมายจัดการต่อผู้เห็นต่างจากรัฐ และผู้ต้องสงสัย และหากสืบสวนจริง ก็สามารถทำได้ เปิดเผยได้ ว่า ขณะนั้น ทั้งสองกรณี อยู่ภายใต้การดูแลของใคร หน่วยงานไหน ใครสั่งการ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญอิสระของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการป้องกันความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศกล่าวว่า “เรื่องการทรมานมีมานานแล้วตั้งแต่มีมนุษย์ แต่ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้มีสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่คนนับล้านถูกประทุษร้ายทั้งถูกฆ่าและถูกทรมาน เป็นบทเรียนที่สำคัญมากของมนุษย์
“หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เรามีสหประชาชาติขึ้นมามีหลักเกณฑ์ ข้อตกลงและมติชัดเจนว่าสิทธิที่จะมีชีวิต สิทธิที่จะ ไม่ถูกทรมาน เป็นสิทธิที่เด็ดขาดและสำคัญมาก น่าเศร้าที่หลาย กรณีคนที่ไปช่วยเหลือผู้ถูกทรมานแล้วกลายเป็นเหยื่อไปด้วย อย่างกรณีนักสิทธิมนุษยชนในไทย เช่น ทนายสมชาย นีละไพจิตร ที่ถูกอุ้มหาย ช่วงนั้นทำงานช่วยเหลือคนที่ถูกทรมานและถูกฆ่าด้วย
“ในประเทศเรามีภาวะที่เปิดช่องให้เกิดการประทุษร้ายและทรมาน เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้กักขังคนในที่ปิดที่ไม่ใช่พื้นที่ราชการซึ่งอาจเกิดการประทุษร้ายได้ รวมถึงกฎอัยการศึกด้วย การกักตัวเป็นระยะเวลานานก็จะเกิดโอกาสการประทุษร้ายได้ ถ้าเราใช้หลักเกณฑ์ที่ดีปกป้องมนุษย์ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่ดี จะเป็นการปกป้องทุกคน รวมถึงเจ้าหน้าที่เองด้วย
“วิธีดีที่สุดคือการนำบุคคลนั้นขึ้นศาลเพื่อป้องกันการกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ก่อการประทุษร้าย ดังนั้นการห้ามทรมานจึงควบคู่ไปกับสิทธิที่จะมีโอกาสขึ้นศาลด้วย”
“เมื่อเกิดเหตุแล้ว การตรวจสอบสอบสวนเกิดขึ้นยากมาก เป็นข้อท้าทาย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับอำนาจทั้งบวกและลบ หาผู้รับผิดชอบยาก เกิดการลอยนวลตลอดเวลา ลงโทษผู้กระทำผิดได้ยาก โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่บางฝ่าย อย่างมากมีเพียงการโยกย้ายเจ้าหน้าที่
“เหยื่อและครอบครัวต้องเจออุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะช่วงขอความเป็นธรรม การถูกประทุษร้ายมีผลแนวลบมากมาย ต่อครอบครัวและผู้เรียกร้องสิทธิแทนเหยื่อ ทั้งทนายและเอ็นจีโอ ต้องคำนึงถึงสิทธิเด็ดขาดที่ห้ามทรมานอย่างมีน้ำหนักมากขึ้น”
ข้อเสนอแนะในอนาคตสำหรับประเทศไทยเพื่อป้องกันมิให้เกิดขึ้นอีก นั้น ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต เสนอไว้ดังนี้
1.ปรับปรุง กฎหมายและกฎเกณฑ์ยัง ละหลวม เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน การใช้กฎอัยการศึก หรือการใช้คำสั่งทั้งหลายนำไปสู่ความไม่โปร่งใสในหลายส่วนและนำไปสู่การลอยนวลด้วย
2.เมื่อละเมิดแล้วต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่แค่การโยกย้าย เพราะฉะนั้นนโยบายกรองคนควรจะต้องชัดเจนให้มาก
3. ช่วยเหลือเหยื่อและครอบครัวให้ติดต่อกันได้สม่ำเสมอ ให้เยี่ยมได้ง่ายขึ้น
4. การโจมตีผู้พิทักษ์สิทธิต้องหยุด เคารพนักสิทธิมนุษยชนที่ช่วยเหลือให้ข้อมูลโปร่งใสช่วยบรรเทาภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
โปรดอ่านเพิ่มเติมประกอบ เรื่อง “การทรมานเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาด ไม่มีข้อยกเว้น”ใน
https://www.amnesty.or.th/latest/blog/13/?fbclid=IwAR2HUS072fIrcxx96dMfWRTGMPnWtAwALDndFN_S5bQd2Ec1L6EZchgodGc
1,228 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.