เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ข้อเสนอแนะสำหรับญาติ อับดุลเลาะห์เพื่อทวงความยุติธรรม โดยนางสาวพรเพ็ญ จากมูลนิธิ ผสานวัฒนธรรม

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)รายงาน….


มีคำถาม ว่า นายอับดุลเลาะห์เสียชีวิตในการควบคุมตัวหรือไม่ death in custody หรือไม่ จะมีการไต่สวนการตายในชั้นศาลหรือไม่” นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้กรุณา
ตอบต่อคำถามนี้และมีข้อเสนอแนะว่า “แม้การตายของอับดุลเลาะห์จะเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลแต่สาเหตุการเสียชีวิตเป็นผลโดยตรงจากการกระทำและไม่กระทำที่เกิดขึ้นในการควบคุมตัวของทหารภายใต้การใช้อำนาจกฎอัยการศึก เป็นที่ทราบว่านายอับดุลเลาะห์เสียชีวิตในการควบคุมตัวหรือไม่ death in custody หรือไม่ จะมีการไต่สวนการตายในชั้นศาลหรือไม่ คำตอบคือ แม้การตายขออับดุลเลาะห์จะเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลแต่สาเหตุการเสียชีวิตเป็นผลโดยตรงจากการกระทำและไม่กระทำที่เกิดขึ้นในการควบคุมตัวของทหารภายใต้การใช้อำนาจกฎอัยการศึก นายอับดุลเลาะห์ถูกจับเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ถึงส่งตัวมารักษาตั้งแต่คือตีสามวันที่ 21กรกฎาคม จากค่ายอิงคยุทธบริหาร

อาการบาดเจ็บ นั้น 1.อาจเกิดจากการทำร้ายตนเองหรือการหกล้มในห้องน้ำ ซึ่งน่าจะต้องตรวจพบเจอบาดแผลของการล้มห้องน้ำให้สอดคล้องกับข้อกล่าวอ้างของเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัวนายอับดุลเลาะห์ในวันเกิดเหตุ หรือ 2.ถ้าหากเกิดจากทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัสขาดอากาศหายใจจนสมองบวมและมีอาการก้านสมองตาย

โดยทั้งสองประการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในค่ายทหารที่ต้องมีการตรวจตราและเฝ้าระวังไม่ให้ผู้ถูกควบคุมตัวเกิดการทำร้ายตนเองหรือมีผู้อื่นเข้ามาทำร้ายผู้ถูกควบคุมตัว

หลายฝ่ายอาจเชื่อว่าเกิดขึ้นระหว่างการซักถามด้วยกรรมวิธีพิเศษซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช์ที่เป็นอิสระเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์ทั้งหมดมาให้คำตอบ

ดังนั้นจึงจะต้องมีการชันสูตรพลิกศพโดยอัยการ ตำรวจ ฝ่ายปกครองและแพทย์ ซึ่งน่าจะดำเนินการไปแล้วแม้ญาติจะไม่อนุญาตให้ผ่าศพก็สามารถหาสาเหตุการเสียชีวิตได้จากหลักฐานอื่นๆ และก็จะมีการดำเนินการของทางหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมต่อโดยตำรวจทำสำนวนส่งให้อัยการดำเนินการไต่สวนการตายในชั้นศาลโดยญาติจะได้รับการติดต่อเพื่อให้มีโอกาสขอแต่งตั้งทนายของญาติเข้าไปร่วมไต่สวนค้นหาความจริง

โดยมีข้อแนะนำดังนี้กรณีเสียชีวิตระหว่างจับกุม ควบคุมตัว ต่อญาติดังนี้
(1) แนะนำให้ญาติเข้าใจกระบวนการชันสูตรพลิกศพโดยแพทย์นิติเวช และผลของการตรวจชันสูตรพลิกศพแม้เจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้มีการชันสูตรพลิกศพแล้ว ญาติก็ยังมีสิทธิให้ชันสูตรพลิกศพซ้ำโดยแพทย์นิติเวชที่เป็นอิสระได้
(2) บันทึกข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับสาเหตุการตาย
(3) แนะนำขั้นตอน กระบวนการไต่สวนการตายของศาล ให้ญาติแต่ตั้งทนายความเพื่อเข้าร่วมการไต่สวนการตาย
(4) หากมีพยานหลักฐานว่าเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ญาติสามารถแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำผิด หรือแต่งตั้งทนายความฟ้องต่อศาลเองได้
(5) นอกจากนี้ ควรแนะนำญาติให้แต่งตั้งทนายความฟ้องหน่วยราชการต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานนั้นได้ด้วย

มีคำถาม อีกว่า แล้วญาตินายอับดุลเลาะห์ได้ไปแจ้งความหรือยัง ซึ่งเราทราบดีว่า
“ญาติได้ไปแจ้งความไว้แล้วเมื่อวันที่ 22 กค. 2562 แต่เป็นเพียงการลงบันทึกประจำวันว่านายอับดุลเลาะห์บาดเจ็บสาหัส ซึ่งยังไม่ส่งผลถึงการสืบสวนสอบสวน ตอนนี้เสียชีวิตแล้วน่าจะไปร้องทุกข์กล่าวโทษอีกครั้งที่สถานีตำรวจที่เกิดเหตุ ว่านายอับดุลเลาะห์เสียชีวิตแล้วเชื่อว่ามีการกระทำที่ทำให้บาดเจ็บสาหัสและต่อมาเสียชีวิต โดยให้ได้เลขหมายคดีอาญามาด้วยเพื่อดำเนินการต่อ และถ้าสอดคล้องกับคำถามที่หนึ่ง คดีนี้ก็จะเป็นคดีที่มีการไต่สวนการตาย และเป็นคดีอาญาที่มีการกล่าวหาว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดกระทำให้ตายโดยเจตนาหรือโดยประมาทแล้วแต่กรณี”
ผู้เขียนหวังว่าด้วยข้อเสนอแนะดังกล่าว หากสามารถพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรมน่าจะสามารถ เปิดโปงคนผิด มาลงโทษ และจะทำให้วัฒนธรรมปล่อยผู้กระทำผิดลอยนวลตลอด15 ปีไฟใต้ได้ อันเป็นปัจจัยเอื้อต่อการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ

หมายเหตุท่านสามารถย้อนหลังอ่านข่าวที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ใน
1.https://www.bbc.com/thai/thailand-49464205
2.https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_2834354
3.https://www.benarnews.org/thai/news/TH-custody-death-08262019155357.html

 

 

 

 

 714 total views,  2 views today

You may have missed