มีนาคม 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รายงานพิเศษ“รายอแน” สานใยคนรุ่นหลัง ชุมชนมลายูมุสลิมชายแดนใต้

แชร์เลย

รายงานโดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk

(รพี  มามะ บรรณาธิการข่าว)

สัมภาษณ์พิเศษ หะยีอับดุลหาลีม ล่าเต๊ะ กอจ.สงขลา ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศาสนบำรุง(สอลิหุดดีน)อ.จะนะ จ.สงขลา

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน
“รายอแน” เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวมลายูมุสลิมส่วนใหญ่ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเป็นประเพณี แม้ไม่มีระบุในคำสอนของศาสนาก็คือ จะถือโอกาสนี้เฉลิมฉลองกันอีกครั้ง มีการเยี่ยมญาติ (ครอลครัวใหญ่)การทำอาหารเลี้ยงกัน ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษที่เสียชีวิต เยี่ยมกุโบร์ (สุสาน) ทำความสะอาดกุโบร์ และอ่านอัลกุรอาน มุสลิมมลายูที่นี่เรียกวันนี้ว่า “รายอแน”ในปีนี้วันรายอแนตรงกับวันที่ 12 มิถุนายน 2562

  หะยีมูฮัมหมัดซอและห์ ล่าเต๊ะ  ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศาสนบำรุง (สอลิหุดดีน) อ.จะนะ จ.สงขลา
สำหรับปีนี้ก็เป็นอีกปีที่คึกคัก ถึงแม้ในโลกโซเซียลจะมีดร่าม่า ว่า ทำได้ไม่ได้ มีการโต้กันไปมาซึ่งรายละเอียดทางวิชาการสามารถอ่านได้ใน
https://deepsouthwatch.org/th/node/10964?fbclid=IwAR1N0v6YUw84TD-b3k1MhDAkcrzmWZz0zEksrt0eYUdK-IhX4l063HvI60c
อย่างไรก็แล้วผู้เขียนได้พูดคุยกับหะยีอับดุลฮาหลีม ล่าเต๊ะ กรรมการอิสลามจังหวัดสงขลาซึ่งตระกูลนี้เป็นตระกูลโต๊ะครูผู้รู้ด้านศาสนาสองฝากฝั่ง ฝั่งพ่อ เป็นอดีตโต๊ะครูใหญ่ ปอเนาะบาบอหะยีสอและห์ หรือโรงเรียนศาสนบำรุง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาปัจจุบัน ฝั่งแม่มาจากอดีตโต๊ะครูปอเนาะมายิดียะห์ อำเภอโคกโพธ์ จังหวัดปัตตานีและมีลูกหลานมากมายทั้งปัตตานี ยะลา นราธิวาส มาเลเซียโดยเฉพาะจากรัฐตรังกานู
การพูดคุยถึงวิทยปัญญาของวิถีวัฒนธรรมรายอแนโดยท่านกล่าวไว้พอสรุปได้ดังนี้


“ รายอแน” เป็นเสมือนอุบายที่แฝงวิทยปัญญาของผู้รู้เราในอดีต200-300 ปี และมีเฉพาะชายแดนใต้และตอนเหนือของมาเลเซียเท่านั้น ทำให้สามารถระบบสัมพันธ์ทางเครือญาติจากรุ่นสู่รุ่น จนถึงปัจจุบัน พูดง่ายๆก็คือสามารถสานใยคนรุ่นหลังทำให้ชุมชนมลายูมุสลิมชายแดนใต้มีความเข้มแข็งน่าจะอันดับต้นๆของประเทศไทยหรืออาเซี่ยนก็ว่าได้แม้คนรุ่นหลังจะไปมาหาสู่ทางเครือญาติน้อยลง กิจกรรมที่เชื่อมให้คนเหล่านี้โดยเฉพาะครอบครัวเรา ลาเต๊ะกับ ตระกูลมายิดียะห์ที่มีจำนวน มากกว่าร้อยคนในวันนี้ที่มาทำร่วมกิจกรรมที่สถาบันปอเนาะมายิดดียะห์ พวกเรามาจากสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและมาเลเซียโดยเฉพาะรัฐตรังกานู และผลัดเปลี่ยนหมุนจัดแต่ละปีแต่ละที่ในวันฮารีรายอแนผ่านกิจกรรมทางสังคมการเยี่ยมญาติ (ครอบครัวใหญ่)การทำอาหารเลี้ยงกัน ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษที่เสียชีวิต เยี่ยมกุโบร์ (สุสาน)ของคนในอดีต ทำความสะอาดกุโบร์ กิจกรรมเหล่านี้ก็อยากให้สานต่อตลอดไปจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งเป็นประเพณี แม้ไม่มีระบุในคำสอนของศาสนาแต่ในภาพรวมมันวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามสร้างสรรสังคม จรรโลงความเป็นภราดรอันเป็นจุดเริ่มของสันติภาพอย่างยั่งยืน”
ลิ้งประมวลวิดิทัศน์ส่วนหนึ่งของกิจกรรมวันนี้
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3034371579921410&id=100000457944877&_rdr

 1,674 total views,  4 views today

You may have missed